วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้น

ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุพรรณ์ เมฆแสน

ปีที่วิจัย 2552
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ที่กำหนดไว้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิค
การเรียนแบบร่วมมือ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิค
การเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
น่าน เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 1 มีจำนวน 31 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียน
แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียน
ที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (E1 / E2) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
(t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80 / 80 พบว่ามีประสิทธิภาพ 89.20 / 84.19
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.90 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที

ชื่องานวิจัย การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุพรรณ์ เมฆแสน

ปีที่วิจัย 2552
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 ที่กำหนดไว้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิค
การเรียนแบบร่วมมือ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิค
การเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
น่าน เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน คือชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 / 1 มีจำนวน 31 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียน
แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แบบประเมินระดับความพึงพอใจของนักเรียน
ที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (E1 / E2) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน
(t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80 / 80 พบว่ามีประสิทธิภาพ 89.20 / 84.19
2. นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้น
ตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 4.90 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฉ!! ตารางสอนเด็กนอก 4 ประเทศ เรียนอะไรกัน : เด็กดีดอทคอม > Study Abroad > วิธีเตรียมตัวไปเรียนนอก

แฉ!! ตารางสอนเด็กนอก 4 ประเทศ เรียนอะไรกัน : เด็กดีดอทคอม > Study Abroad > วิธีเตรียมตัวไปเรียนนอก

แฉ!! ตารางสอนเด็กนอก 4 ประเทศ เรียนอะไรกัน : เด็กดีดอทคอม > Study Abroad > วิธีเตรียมตัวไปเรียนนอก

แฉ!! ตารางสอนเด็กนอก 4 ประเทศ เรียนอะไรกัน : เด็กดีดอทคอม > Study Abroad > วิธีเตรียมตัวไปเรียนนอก

กฎหมายเทศบาล สิ่งก่อสร้าง

มาตรฐานของกฏหมายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
มาตรฐานของกฏหมายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

บทที่ 10

มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุมที่พักอาศัย



ในการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลอาคารที่พักอาศัยและสถานทำการนั้น นอกจากจะใช้หลักวิชาการในการออกแบบ ดูแล และควบคุมแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทางกฏหมายที่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วย กฏหมายจึงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำให้หลักวิชาการทั้งหลายสามารถเกิดผลได้



10.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมาย

10.1.1 ความหมายของกฏหมาย กฏหมายคือ “ข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม” จะเห็นได้ว่าทุกสังคมต้องมีระเบียบข้อบังคับ ซึ่งระเบียบดังกล่าวก็ต้องมาจากตัวบุคคล หรือคณะบุคคลผู้เป็นหัวหน้าของสังคมนั้นเอง ในบางกรณีผู้เป็นหัวหน้าของสังคมนั้นก็สามารถออกระเบียบได้เอง แต่บางกรณี เช่น ในสังคมประชาธิปไตยก็จะมอบให้หัวหน้าของสังคมซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันเป็นผู้ออกระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติระเบียบนั้นตามหลักของการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่

10.1.2 ลักษณะของกฏหมาย มีดังนี้

- กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ หมายความว่าต้องเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะที่เป็นการบังคับ ให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ

- กฏหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์ หมายความว่า ต้องมาจากผู้มีอำนาจในสังคมนั้น เช่น มาจากรัฐสภาของชาติ

- กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า ต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้ออกมาแล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงว่าสำหรับผู้ใด และไม่มีการยกเว้นสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งทุกสถานที่ในประเทศ นอกจากนี้ กฏหมายเมื่อประเทศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโดยกระบวนการที่ถูกต้องตามขั้นตอนภายหลัง ดังนั้น หากไม่มีการยกเลิกไปแล้วจะหยิบขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้เสมอ

- กฏหมายต้องมีสภาพบังคับ หมายความว่า กฏหมายนั้นเมื่อประกาศใช้แล้ว ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ นั่นคือ ผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษ เช่น คดีอาญา จะมีบทลงโทษตั้งแต่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แล้วแต่ความหนักเบาของโทษานุโทษ ส่วนคดีแพ่งก็จะมีบทลงโทษตั้งแต่ยึดทรัพย์สิน บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนต่อกัน เรียกเบี้ยประกัน ริบมัดจำ บังคับให้ชำระหนี้ หรือกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฏหมายนั้นตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ

10.1.3 ประเภทของกฏหมาย มีหลายแบบ ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1) กฏหมายเอกชน เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันแต่อยู่ภายในกรอบของกฏหมายที่จะช่วยมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันเกินไปจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด

กฏหมายแพ่งซึ่งเป็นกฏหมายที่ว่าด้วยนิติสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนกระทั่งตาย เช่น กฏหมายว่าด้วยสภาพบุคคล ครอบครัว หนี้สิน และมรดก เป็นต้น

2) กฏหมายมหาชน เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครองประชาชน เพราะในการบริหารประเทศนั้น รัฐจะต้องมีอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประชาชนจะต้องอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข เช่น กฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายปกครอง กฏหมายอาญา กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติค้ากำไรเกินควร เป็นต้น ลักษณะกฏหมายมหาชนอาจแบ่งแยกย่อยได้อีกดังต่อไปนี้

- กฏหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายที่กำหนดระเบียบ แบบแผนในการใช้อำนาจอธิปไตยและกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

- กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่กำหนดการแบ่งส่วนราชการ เพื่อการบริหารประเทศ บริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน

- กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ความผิดทางอาญาที่กฏหมายได้บัญญัติเอาโทษไว้นั้นเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมรัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำความผิด เพื่อให้สังคมโดยส่วนรวมดำรงอยู่ได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ “กฏหมายที่บัญญัติลักษณะความผิด และลักษณะโทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิด เช่น ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินและการประทุษร้ายต่อราชอาณาจักร เป็นต้น

- กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดวิธีการและขั้นตอนที่จะเอาตัวคนผิดมาลงโทษทางอาญา

3) กฏหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ กฏหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ และการปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีอาญา

ในการพิจารณาว่ากฏหมายใดเป็นกฏหมายแพ่งหรือกฏหมายอาญานั้น สามารถพิจารณาได้จากสภาพบังคับ หากบทบัญญัติใดมีโทษทางอาญาสถานใดสถานหนึ่ง เช่น โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน บทบัญญัตินั้นก็ย่อมเป็นกฏหมายอาญา หากบทบัญญัติใดมีสภาพบังคับเป็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว โดยปกติกฏหมายนั้นย่อมเป็นกฏหมายแพ่ง

นอกจากนี้ ในกฏหมายบางฉบับอาจจะมีสภาพบังคับทั้งทางอาญา และทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น ประมวลกฏหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น

10.1.4 การจัดลำดับความสำคัญของกฏหมาย สามารถจัดลำดับได้ตามที่มา และขอบเขตของอำนาจในการบังคับใช้ ดังต่อไปนี้

1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฏหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบการบริหารประเทศ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองภายในประเทศ รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นกฏหมายที่สำคัญกว่ากฏหมายฉบับใดทั้งสิ้น กฏหมายอื่นจะบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้

2) พระราชบัญญัติและประมวลกฏหมาย เป็นกฏหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นชอบของรัฐสภา แล้วจึงนำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฏหมาย แต่ถ้าหากกฏหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็อาจจะออกในรูปประมวลกฏหมายได้ เช่น ประมวลกฏหมายอาญา ประมวลกฏหมายรัษฎากร เป็นต้น แต่เมื่อประมวลกฏหมายเหล่านี้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฏหมายนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

ตัวอย่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายการก่อสร้าง เช่น

พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

พระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508

พระราชบัญญัติประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2528

3)พระราชกำหนด เป็นกฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของฝ่ายบริหารในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น

- ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ

- ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฏหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและเป็นความลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

พระราชกำหนดดังกล่าวเมื่อตราขึ้นแล้ว จะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้า และเมื่อรัฐสภาอนุมัติก็ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ต่อไป แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็ตกไป หรือสิ้นผลบังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้ทำไปแล้วระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น

3) พระราชกฤษฎีกา คือ กฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร และต้องไม่ขัดต่อกฏหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับฐานะสูงกว่า โดยปกติพระมหากษัตริย์มักจะทรงตราพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติถวายพระราชอำนาจไว้เช่นนั้น

นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกาจะไม่มีบทลงโทษ ไม่ต้องขอความยินยอมและความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ประการใด เช่น

- พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร

- พระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร

- พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

4) กฏกระทรวง คือ กฏหมายที่รัฐมนตรีของแต่ละกระทรวงเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจในบทบัญญัติในกฏหมายฉบับใด ฉบับหนึ่ง เพื่อวางระเบียบให้เป็นไปตามกฏหมาย แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายในอำนาจที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ ตัวอย่างกฏกระทรวงที่เกี่ยวกับกฏหมายก่อสร้าง เช่น กฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522 เป็นต้น

5) เทศบัญญัติ คือกฏหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฏหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร

6) ประกาศกระทรวง หรือทบวง หรือประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประกาศที่ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง หรือปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับใด ฉบับหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนั้น ๆ เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง

จากความสำคัญและระดับชั้นของกฏหมายที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถสรุปเป็นแผนผังได้ดังภาพที่ 10.1









รัฐธรรมนูญ



พระบรมราชโองการบังคับใช้เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ

ประมวล

กฏหมาย

พระราชบัญญัติ

พระราชกำหนด
















พระราชกฤษฎีกา

กฏกระทรวง




ภาพที่ 10.1 แผนผังแสดงความสำคัญและระดับชั้นของกฏหมาย



10.2 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการก่อสร้างและการสุขาภิบาลอาคาร

10.2.1 กฏหมายที่ใช้ในการกำหนดบทบาทหน้าที่และสถานภาพของบุคคล นิติบุคคล ทั้งของทางราชการและเอกชนที่เกี่ยวกับการออกแบบ และการควบคุมการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้ใช้ระเบียบว่าด้วยการจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2521 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการควบคุมการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการ โดยจะขอนำมาเฉพาะข้อความในหมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 4 ซึ่งกล่าวถึงคำจำกัดความของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้

1) ส่วนราชการ หมายถึง ส่วนราชการตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนกลาง ในภูมิภาค หรือในต่างประเทศ

2) ผู้ให้บริการ หมายถึง นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง

3) ผู้ว่าจ้าง หมายถึง ส่วนราชการซึ่งได้รับงบประมาณรายจ่ายตามกฏหมาย หรือตามระเบียบข้อบังคับ หรือเงินอื่นใดเพื่อดำเนินการก่อสร้าง หรือว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร

4) อาคาร หมายถึง สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารทำการ โรงพยาบาล หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอาคารนั้น ๆ

5) หลักทรัพย์ หมายความถึง เงิน เช็คธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้ว่าจ้างเชื่อถือ

10.2.2 กฏหมาย ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารให้ยึดถือตามเทศบัญญัติท้องถิ่นที่ได้กำหนดไว้ ในปัจจุบันได้ใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหลักในการกำหนดเทศบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งท้องถิ่นใดที่ยังไม่มีเทศบัญญัติในการก่อสร้างเป็นของตนเองก็ให้ปฏิบัติตามข้อความในข้อบัญญัตินี้เป็นหลัก แต่ท้องถิ่นใดที่สามารถออกเทศบัญญัติเองได้ก็ให้ปฏิบัติตามเทศบัญญัตินั้น สำหรับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ที่จะขอนำมาเป็นตัวอย่างเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขาภิบาลอาคารในหมวดที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, และ 8 โดยจะขอสรุปดังเนื้อความต่อไปนี้

หมวด 1 วิเคราะห์ศัพท์ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความหมาย ลักษณะ รูปแบบ รายละเอียดตลอดจนประเภทการใช้งานอาคารในด้านต่าง ๆ ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงชื่อของส่วนต่างๆที่สำคัญของอาคารด้วย

หมวด 2 การอนุญาตปลูกสร้าง มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำเนินการเพื่อการขออนุญาตต่อหน่วยงานของทางราชการในการปลูกสร้างอาคารใดๆ ให้เกิดความถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักนิติศาสตร์

หมวด 3 แผนผังแบบต่าง ๆ และรายการคำนวณ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับลักษณะของแผนผังก่อสร้างอาคารที่ถูกต้อง เช่น ขนาด มาตราส่วน และรายการคำนวณ

หมวด 4 ลักษณะอาคารต่าง ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของอาคารชนิดต่าง ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร

หมวด 5 ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการกำหนดขนาด ลักษณะของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของตัวอาคาร เช่น ประตู หน้าต่าง ฯลฯ ที่เหมาะสม

หมวด 7 แนวอาคารและระยะต่าง ๆ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับข้อบังคับในการกำหนดขนาดพื้นที่ การใช้ประโยชน์ ส่วนประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากอาคาร รวมถึงลักษณะที่ตั้งเฉพาะของอาคารประกอบบางชนิด

หมวด 8 การสุขาภิบาล มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำเสีย จากตัวอาคารให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาล

สำหรับเนื้อหาโดยละเอียดจะขอนำเอาข้อความในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 มานำเสนอไว้ดังต่อไปนี้











ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกรุงเทพฯมหานคร พ.ศ. 2518 กรุงเทพฯมหานครโดยได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพฯมหานคร จึงตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522

ข้อ 2 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกรุงเทพกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก

(1) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2483

(2) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2488

(3) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491

(4) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2504

(5) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2505

(7) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2508

(8) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2509

(9) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2510

(10) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2511

(11) เทศบัญญัติของเทศบาลนครธนบุรี เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2489

(12) เทศบัญญัติของเทศบาลนครธนบุรี เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2503

บรรดาเทศบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่น ๆ ในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในข้อบัญญัติหรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน

หมวด 1

วิเคราะห์ศัพท์

ข้อ 4 ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

(1) “อาคารที่พักอาศัย” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง แพ ซึ่งโดยปกติบุคคลอาศัยอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน

(2) “ห้องแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถวยาวตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและ ประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่

(3) “ตึกแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดกันเป็นแถวยาวตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

(4) “อาคารพาณิชย์” หมายความว่า อาคารที่ใช้ประโยชน์แห่งการค้าหรือโรงงานที่ใช้เครื่องจักรซึ่งเทียบได้ไม่เกิน 5 แรงม้า หรืออาคารที่ก่อสร้างห่างแนวทางสาธารณะหรือทางซึ่งมีสภาพเป็นสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์แห่งการค้าได้

(5) “โรงงานอุตสาหกรรม” หมายความว่า โรงงานสำหรับประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยใช้เครื่องจักรซึ่งเทียบได้เกิน 5 แรงม้าเป็นปัจจัย

(6) “อาคารสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นที่ชุมชนได้ทั่วไป เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงเรียน ภัตตาคาร หรือ โรงพยาบาล เป็นต้น

(7) “อาคารเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างเพื่อให้สัตว์พาหนะพักอาศัย เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น

(8) “อาคารชั่วคราว” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะรื้อถอน

(9) “อาคารพิเศษ” หมายความถึงอาคารดังต่อไปนี้

(ก) โรงมหรสพ อัฒจันทร์ หรือหอประชุม

(ข) อู่เรือ คานเรือ หรือท่าเรือสำหรับเรือขนาดใหญ่เกิน 100 ตัน และโป๊ะจอดเรือ

(ค) อาคารสูงเกิน 15 เมตร หรือสะพานช่วงหนึ่งยาวเกิน 10 เมตร

(10) “อาคารแผงลอย” หมายความว่า โต๊ะ แท่น แคร่ มีหลังคาตั้งอยู่บนพื้นดิน สามารถเคลื่อนที่ได้ ขนาดไม่เกิน 4 เมตร ไม่มีฝาหรือผนังซึ่งใช้ประโยชน์แห่งการค้าย่อย โดยมีกำหนดเวลาเข้าใช้สอยและเลิกเป็นประจำวัน และไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัย

(11) “ผู้ออกแบบ” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการคำนวณเขียนแบบ และกำหนดรายการเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง

(12) “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างให้ผู้ได้รับอนุญาต

(13) “แผนผัง” หมายความว่า แผนที่แสดงลักษณะที่ดินบริเวณปลูกสร้างอาคารและที่ดินติดต่อ

(14) “แบบก่อสร้าง” หมายความว่า แบบของตัวอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้าง

(15) “รายการก่อสร้าง” หมายความว่า ข้อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวแก่การก่อสร้างตามแบบก่อสร้าง

(16) “รายการคำนวณ” หมายความว่า รายละเอียดแสดงวิธีการคิดกำลังต้านทานของส่วนอาคารตามที่ปรากฏในแบบก่อสร้าง

(17) “แบบสังเขป” หมายความว่า แบบชนิดที่เขียนไว้พอเป็นประมาณ

(18) “แผนอาคาร” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนราบของอาคาร

(19) “รูปด้าน” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนตั้งภายนอกของอาคาร

(20) “รูปตัด” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนตั้งภายในของอาคาร

(21) “พื้นอาคาร” หมายความว่า เนื้อที่ส่วนราบของอาคารซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของคานหรือรอดที่รับพื้นหรือภายในพื้นนั้น หรือภายในขอบเขตของเสาอาคาร

(22) “ฝา” หมายความว่า ส่วนก่อสร้างในด้านตั้งซึ่งกั้นแบ่งพื้นอาคารให้เป็นห้อง ๆ

(23) “ผนัง” หมายความว่า ส่วนก่อสร้างในด้านตั้งซึ่งกั้นด้านนอกของอาคารให้เป็นหลังหรือหน่วยจากกัน

(24) “ผนังกันไฟ” หมายความว่า ผนังซึ่งทำด้วยวัสดุทนไฟและไม่มีช่องให้ไฟผ่านได้

(25) “หลังคา” หมายความว่า สิ่งปกคลุมส่วนบนของอาคารสำหรับบังแดดและฝนรวมทั้งสิ่งใดซึ่งประกอบขึ้นเพื่อยึดเหนี่ยวสิ่งปกคลุมนี้ให้มั่นคงแข็งแรง

(26) “ฐานราก” หมายความว่า ส่วนรับน้ำหนักของอาคารนับจากใต้พื่นชั้นล่างลงไปจนถึงที่ฝังอยู่ในดิน

(27) “เสาเข็ม” หมายความว่า เสาที่ตอกฝังลงไปในดิน เพื่อช่วยรับน้ำหนักบรรทุกของอาคาร

(28) “ช่วงบันได” หมายความว่า ระยะตั้งบันไดซึ่งมีขั้นต่อกันโดยตลอด

(29) “ลูกตั้ง” หมายความว่า ระยะตั้งของขั้นบันได

(30) “ลูกนอน” หมายความว่า ระยะราบของขั้นบันได

(31) “บ่อตรวจระบายน้ำ” หมายความว่า ส่วนที่เปิดได้ของท่อระบายน้ำ ซึ่งกำหนดไว้ใช้ในการชำระล้างท่อ

(32) “บ่อพักขยะ” หมายความว่า ส่วนที่เปิดได้ของทางระบายน้ำที่กำหนดไว้เพื่อกั้นขยะไม่ให้ระบายไปกันน้ำ

(33) “เครื่องสุขภัณฑ์” หมายความว่า เครื่องประกอบอันใช้ประโยชน์ในการสุขาภิบาลอาคาร

(34) “บ่ออาจม” หมายความว่า บ่อพักอุจจาระหรือสิ่งโสโครกอันไม่มีวิธีการระบายออกไปตามสภาพปกติ

(35) “ลิฟท์” หมายความว่า เครื่องใช้สำหรับบรรทุกบุคคล หรือของขึ้นลงระหว่างชั้นต่าง ๆ ของอาคาร

(36) “วัตถุทนไฟ” หมายความว่า วัตถุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง

(37) “วัตถุถาวร” หมายความว่า วัตถุทนไฟซึ่งตามปกติไม่แปลงสภาพได้ง่ายโดยน้ำ ไฟ หรือดินฟ้าอากาศ

(38) “เหล็กหล่อ” หมายความว่า เหล็กที่ถลุงจากแร่เหล็กอันจะใช้เชื่อมหรือชุบไม่ได้ผล

(39) “เหล็กล้วน” หมายความว่า เหล็กที่มีธาตุอื่นเจือปนน้อยที่สุด และจะใช้ชุบไม่ได้ผล

(40) “เหล็กถ่าน” หมายความว่า เหล็กที่มีธาตุถ่านผสมทำให้เหนียวกว่าปกติอันจะใช้ชุบได้ผล

(41) “เหล็กเสริม” หมายความว่า เหล็กถ่านที่ใช้สำหรับฝังในเนื้อคอนกรีตเพื่อเสริมกำลังขึ้น

(42) “แรงประลัย” หมายความว่า แรงขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นแตกแยกออกจากกันเป็นส่วน

(43) “แรงดึง” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุแยกออกห่างจากกัน

(44) “แรงอัด” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุทลายเข้าหากัน

(45) “แรงเฉือน” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุขาดออกจากกันดุจกรรไกรตัด

(46) “ส่วนปลอดภัย” หมายความว่า อัตราส่วนที่ใช้ทอนแรงประลัยลงให้ถึงขนาดที่จะใช้ได้ปลอดภัย

(47) “น้ำหนักบรรทุก” หมายความว่า น้ำหนักที่กำหนดว่าจะเพิ่มขึ้นบนอาคารนอกจากน้ำหนักของตัวอาคารนั้นเอง

(48) “ส่วนลาด” หมายความว่า ส่วนระยะตั้งเทียบกับส่วนระยะยาวของฐานตามแนวราบ

(49) “ทางสาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินที่ประชาชนมีสิทธิใช้เป็นทางคมนาคมได้

(50) “ถนนสาธารณะ” หมายความว่า ทางสาธารณะที่ยวดยานผ่านได้

(51) “ระดับถนนสาธารณะ” หมายความว่า ความสูงของยอดถนนสาธารณะใกล้ชิดกับที่ดินที่ปลูกสร้างเทียบกับระดับน้ำทะเล

(52) “ทางระบายน้ำสาธารณะ” หมายความว่า ช่องน้ำไหลตามทางสาธารณะและถนนสาธารณะ ซึ่งกำหนดไว้ให้ระบายออกจากอาคารได้

(53) “แนวถนน” หมายความว่า เขตถนนและทางเดินที่กำหนดไว้ให้เป็นทางสาธารณะ

(54) “ทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินที่เจ้าของยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางคมนาคมได้

(55) “ทางน้ำสาธารณะ” หมายความว่า ทางน้ำที่ประชาชนมีสิทธิใช้เป็นทางคมนาคมได้

(56) “แนวทางสาธารณะ” หมายความว่า แนวเขตที่กำหนดให้เป็นทางสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำ

(57) “แนวทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ” หมายความว่า แนวเขตที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางคมนาคมได้

หมวดที่ 2
การอนุญาตปลูกสร้าง

ข้อ 5 บุคคลใดจะปลูกสร้างอาคารให้ยื่อคำร้องขอรับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ผู้ขอรับอนุญาตต้องเป็นเจ้าของอาคารที่จะปลูกสร้าง หรือเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 6 คำขอรับอนุญาตให้ทำตามแบบ “อ.1” ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมด้วยแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้างอย่างละสี่ชุด

ข้อ 7 การขอรับอนุญาตชั่วคราวนอกจากจะแสดงความประสงค์ในคำขอให้ผู้ขอกำหนดขั้นของงานและระยะเวลาแล้วเสร็จในแผนผังแบบก่อสร่ง และรายการก่อสร้างไว้ให้ชัดเจน

ข้อ 8 การอนุญาตให้ปลูกสร้างให้ใช้หนังสือตามแบบ “อ. 2” ท้ายข้อบัญญัตินี้

ข้อ 9 คำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังแบบก่อสร้างหรือรายการก่อสร้าง ให้ใช้หนังสือตามแบบ “อ. 3” ท้ายข้อบัญญัตินี้ และจัดส่งให้ผู้ขอรับอนุญาตโดยให้ลงนามรับเป็นหลักฐาน ถ้าส่งไม่ได้ด้วยประการใดๆ ให้ปิดประกาศไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือ ณ ที่ทำการเขตท้องที่ที่ยื่นขอรับอนุญาต

ข้อ 10 การก่อสร้างอาคารตามมาตร 14 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ให้หน่วยงานเจ้าของอาคารหรือเจ้าอาวาส แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน พร้อมด้วยแผนผังและแบบก่อสร้างสองชุด

ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีข้อแก้ไข ให้มีหนังสือแจ้งเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของอาคารหรือเจ้าอาวาสทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง







หมวด 3

แผนผังแบบต่าง ๆ รายการก่อสร้าง และรายการคำนวณ
ข้อ 11 แผนผังให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 500 แสดงขอบเขตที่ดินบริเวณติดต่อและขอบนอกของอาคารที่มีอยู่แล้วกับอาคารที่ขอรับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ด้วยลักษณะเครื่องหมายต่างกันให้ชัดเจนพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศอันถูกต้อง

ข้อ 12 ในแผนผังให้แสดงทางสาธารณะที่ติดต่อกับที่ดินปลูกสร้างและทางระบายน้ำออกจากอาคารที่จะปลูกสร้างจนถึงทางระบายน้ำสาธารณะและตามแนวทางระบายน้ำนั้นให้แสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลพร้อมด้วยส่วนลาด

ข้อ 13 ในแผนผังให้แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับถนนสาธารณะหรือระดับพื้นดินที่ปลูกสร้าง

ข้อ 14 แบบก่อสร้างให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 แสดงแผนฐานรากอาคาร แผนพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคาร รูปด้าน รูปตัดขวาง และรูปตัดทางยาวไม่ต่ำกว่าสองด้าน รูปรายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาด และเครื่องหมายแสดงวัตถุก่อสร้างอาคารชัดเจนพอที่จะติดรายการและสอบรายการคำนวณได้

แบบก่อสร้างแสดงรูปด้านและแผนพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคารโรงงานอุตสาหกรรม จะใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 200 ก็ได้

ข้อ 15 แบบก่อสร้างอาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ให้แนบรายการคำนวณกำลังของส่วนสำคัญต่าง ๆ ของอาคารไว้โดยครบถ้วน

แบบก่อสร้างอาคารพิเศษนอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีข้อกำหนดควบคุมโดยเฉพาะแล้วให้แสดงรายการคำนวณโดยละเอียด

ข้อ 16 แบบก่อสร้างสำหรับต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้ว ให้แสดงแบบของส่วนเก่าและส่วนที่จะต่อเติมหรือดัดแปลงให้เห็นชัดเจนต่างกัน

ข้อ 17 อาคารชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารถาวรหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นจะเสนอแบบก่อสร้างเป็นแบบสังเขปก็ได้ อาคารประเภทนี้ผู้ได้รับอนุญาตต้องรื้อถอนไปให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดอายุหนังสืออนุญาตนั้น ถ้ายังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ต่อไป ให้ต่ออายุได้เป็นคราว ๆ ไม่เกิดคราวละหกเดือน

ข้อ 18 รายการก่อสร้างให้แสดงลักษณะของวัตถุก่อสร้างอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารโดยละเอียดชัดเจน

ข้อ 19 มาตราส่วน ขนาด ระยะ น้ำหนักและหน่วยการคำนวณต่าง ๆ ของแผนผังแบบก่อสร้าง รายการก่อสร้าง หรือรายการคำนวณนั้นให้ใช้มาตราเมตริก

ข้อ 20 แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้าง ให้ลงลายมือชื่อและแจ้งสำนักงานหรือที่อยู่ของผู้กำหนดแผนผัง ออกแบบก่อสร้าง ทำรายการก่อสร้าง และคิดรายการคำนวณไว้ด้วย พร้อมคุณวุฒิและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

หมวด 4

ลักษณะอาคารต่าง ๆ

ข้อ 21 อาคารที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร หรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ครัวไฟต้องอยู่นอกอาคารเป็นสัดส่วนต่างหาก ถ้าจะรวมครัวไฟไว้ในอาคารด้วยก็ได้ แต่ต้องลาดพื้น บุผนังฝา เพดานครัวไฟด้วยวัตถุถาวรหรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

ข้อ 22 อาคารที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร หรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือก่อด้วยอิฐไม่เสริมเหล็กให้ปลูกสร้างได้ไม่เกินสองชั้น

ข้อ 23 อาคารสองชั้นที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรหรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ พื้นชั้นล่างของอาคารนั้นจะสูงกว่าระดับพื้นดินเกิน 1.00 เมตรไม่ได้

ข้อ 24 โรงมหรสพ หอประชุม หรืออาคารที่ปลูกสร้างเกินสองชั้น ให้ทำด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

โรงมหรสพหรือหอประชุมที่ปลูกสร้างเกินหนึ่งชั้น หรืออาคารที่ปลูกสร้างเกินสามชั้นนอกจากจะมีบันไดตามปกติแล้ว ต้องมีทางลงหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทางตามลักษณะแบบของอาคารที่จะกำหนดให้

ข้อ 25 ห้องแถวและตึกแถว ต้องมีความกว้างจากเส้นกึ่งกลางของผนังด้านหนึ่ง ไปยังเส้นกึ่งกลางของผนังอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ความลึกของห้องต้องไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร และต้อมีประตูหรือทางให้คนเข้าออกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในกรณีที่เป็นตึกแถวผนังต้องทำด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟ ถ้าก่อด้วยอิฐหรือคอนกรีตไม่เสริมเหล็กหรือวัตถุทนไฟอย่างอื่น ผนังนี้ต้องหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

ห้องแถวและตึกแถวซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแนวยาว ให้มีผนังกันไฟหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับพื้นดินขึ้นไปสูงเหนือหลังคาอาคารไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ทุกระยะไม่เกินห้าห้อง และในกรณีที่ห้องแถวหรือตึกแถวดังกล่าวปลูกสร้างในแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเดียวกันหรือต่างโครงสร้างกัน และไม่ว่าจะเป็นของเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ให้เว้นระยะห่างระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร โดยไม่มีสิ่งกีดขวางและปกคลุมทุกระยะยี่สิบห้องที่ติดกัน

ตึกแถวที่สูงสามชั้นต้องมีพื้นชั้นสองหรือชั้นสามสร้างด้วยวัตถุทนไฟชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นอย่างน้อย ถ้าสูงเกินสามชั้นต้องสร้างพื้นด้วยวัตถุทนไฟทุกชั้น

ข้อ 26 อาคารทุกชนิดจะปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งถมด้วยขยะมูลฝอยมิได้ เว้นแต่ขยะมูลฝอยนั้นจะได้กลายสภาพเป็นดินแล้ว หรือได้ทับด้วยดินกระทุ้งแน่นไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร และมีลักษณะไม่เป็นอันตรายแก่อนามัยและมั่นคงแข็งแรง

ข้อ 27 รั้วหรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงเหนือระดับถนนสาธารณะไม่เกิน 3.00 เมตร และต้องให้คงสภาพได้ดิ่งอยู่เสมอไป ประตูรั้วหรือกำแพงซึ่งเป็นทางรถเข้าออก ถ้ามีคานบนไห้วางคานนั้นสูงจากระดับถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

ข้อ 28 ป้ายโฆษณาที่เป็นอาคารต้องติดตั้งโดยไม่บังช่องลมหน้าต่างหรือประตู และต้องติดตั้งด้วยวัตถุอันถาวรและมั่นคงแข็งแรง

ข้อ 29 สะพานสำหรับรถข้ามได้ต้องมีช่องกว้างเป็นทางจราจรไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร และลาดขึ้นลงไม่ชันกว่าร้อยละแปด ถ้ามีหลังคาคลุมต้องวางคานบนสูงไม่ต่ำกว่า 3.00 เมตรจากระดับพื้นสะพาน

ข้อ 30 การปลูกสร้างโดยต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารดังต่อไปนี้จะต้องได้รับอนุญาตก่อน คือ

(1) เพิ่มชั้นหรือขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดรวมตั้งแต่หกตารางเมตรขึ้นไป

(2) เปลี่ยนหลังคาหรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่หลังคาเดิมเกินร้อยละสิบ

(3) เพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน

(4) เปลี่ยนเสา คาน บันได ผนัง หรือเพิ่มผนังหรือส่วนประกอบอื่น อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่อาคารเดิมเกินร้อยละสิบ

หมวด 5

ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร
ข้อ 31 ห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัยในอาคารให้มีส่วนกว้างหรือยาวไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร กับรวมเนื้อที่พื้นทั้งหมดไม่น้อยกว่าเก้าตารางเมตร

ข้อ 32 ห้องนอนหรือห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัยในอาคาร ให้มีช่องประตูและหน้าต่างเป็นเนื้อที่รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ของห้องนั้น โดยไม่รวมนับส่วนประตูหรือหน้าต่างอันติดต่อกับห้องอื่น

ข้อ 33 ช่องทางเดินภายในอาคารสำหรับบุคคลใช้สอยหรือพักอาศัย ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร กันมิให้มีเสากีดกั้นส่วนหนึ่งส่วนใดแคบกว่ากำหนดนั้น ทั้งให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัด

ข้อ 34 ยอดหน้าต่างและประตูในอาคาร ให้ทำสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และบุคคลซึ่งอยู่ในห้องต้องสามารถเปิดประตูหน้าต่างและออกจากห้องนั้นได้โดยสะดวก

ข้อ 35 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงเพดาน ยอดฝา หรือยอดผนังของอาคารตอนต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตารางต่อไปนี้

ประเภทการใช้อาคาร
มีระบบปรับอากาศ
ไม่มีระบบปรับอากาศ

1. พักอาศัย ห้องเรียนนักเรียนอนุบาล
2.40 เมตร
2.40 เมตร

2. สำนักงาน ห้องพักในโรงแรม

ห้องคนไข้พิเศษ
2.40 เมตร
3.00 เมตร

3. ห้อเรียน ห้องอาหาร ห้องโถง ภัตตาคาร
2.70 เมตร
3.00 เมตร

4. ห้องขายสินค้า เก็บสินค้า โรงงาน

ห้องประชุม ห้องคนไข้รวม โรงครัว

และอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
3.00 เมตร
3.50 เมตร

5. ห้องแถว ตึกแถว



5.1 ชั้นล่าง
3.50 เมตร
3.50 เมตร

5.2 ตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไป



5.2.1 ห้องเก็บสินค้า หรือประกอบสินค้า
3.00 เมตร
3.50 เมตร

5.2.2 ห้องพักอาศัย
2.40 เมตร
3.00 เมตร

6. ครัวไฟสำหรับอาคารพักอาศัย
2.40 เมตร
2.40 เมตร

7. อาคารเลี้ยงสัตว์ คอกสัตว์

ซึ่งมีคนพักอาศัยอยู่ข้างบน
3.50 เมตร
3.50 เมตร

8. ห้องน้ำ ห้องส้วม ระเบียง

ช่องทางเดินในอาคาร
2.00 เมตร
2.00 เมตร



ความสูงสุทธิของอาคารส่วนที่ใช้จอดรถยนต์ หมายถึง ความสูงจากพื้นถึงใต้คานหรือท่อหรือสิ่งคล้ายคลึงกันต้องไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร

สำหรับห้องที่มีการสร้างพื้นระหว่างชั้นของอาคารต้องมีความสูงจากระดับบนของพื้นห้องถึงระดับต่ำสุดของเพดานไม่ต่ำกว่า 5.00 เมตร โดยพื้นระหว่างชั้นของอาคารดังกล่าวต้องมีความสูงจากจากระดับของพื้นห้องไม่ต่ำกว่า 2.25 เมตร และต้องมีเนื้อที่ไม่เกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้น ๆ ห้ามกั้นริมของพื้นระหว่างชั้นสูงเกิน 90 เซนติเมตร เว้นแต่กรณีที่มีการจัดระบบการปรับอากาศ

ข้อ 36 พื้นชั้นล้างของอาคารที่พักอาศัยต้องมีระดับอยู่เหนือพื้นดินปลูกสร้างไม่ต่ำกว่า 75 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ อิฐ หิน หรือวัตถุแข็งอย่างอื่นที่สร้างตัน ต้องมีระดับอยู่เหนือพื้นดินปลูกสร้างอาคารไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร และถ้าเป็นอาคารตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะ ความสูงจะต้องวัดจากระดับทางสาธารณะนั้น

ข้อ 37 ห้ามมิให้มีประตูหน้าต่างหรือช่องลมจากครัวไฟเปิดเข้าสู่ห้องส้วมหรือห้องนอนของอาคารได้โดยตรง

ข้อ 38 เตาไฟสำหรับการอุตสาหกรรมหรือการพาณิชย์ ต้องมีผนังเตาก่อด้วยอิฐดินเผาหรืออิฐทนไฟกำบังความร้อนมิให้เกิดอันตรายไฟไหม้ส่วนอาคารที่ต่อเนื่องกับเตา และต้องตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบด้วยวัตถุทนไฟ ทั้งนี้เตาต้องตั้งห่างจากผนังอาคาร หรือสิ่งที่เป็นเชื้อไฟรอบรัศมีไม่ต่ำกว่า 4.00 เมตร โครงหลังคา วัตถุมุงหลังคา ปล่องระบายควันไฟ และเพดาน ส่วนประกอบเพดาน ถ้ามีต้องเป็นวัตถุทนไฟ และต้องทำปล่อยระบายควันไฟมิให้ฝาผนังหรือหลังคารับความร้อนจัด โดยความสูงของปล่องต้องสูงกว่าหลังคาอาคารข้างเคียงภายในระยะโดยรอบ 25.00 เมตร ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างของปล่องโดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

ข้อ 39 ประตูสำหรับอาคารสาธารณะ โรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารพาณิชย์ ถ้ามีธรณีประตูต้องเรียบเสมอกับพื้น

ข้อ 40 บันไดสำหรับอาคารที่พักอาศัยต้องทำขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ช่องหนึ่งสูงไม่เกิน 3.00 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร

ข้อ 41 บันไดสำหรับอาคารสาธารณะ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ ต้องทำขนาดไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 4.00 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 19 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 24 เซนติเมตร

ข้อ 42 บันได้ซึ่งมีช่วงระยะสูงกว่าที่กำหนดไว้ ให้ทำที่พักมีขนาดกว้างยาวไม่น้อยกว่าส่วนกว้างของบันไดนั้น ถ้าตอนใดต้องทำเลี้ยวมีบันไดเวียนส่วนแคบที่สุดของลูกนอนต้องกว้างไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

อาคารที่มีบันไดติดต่อกันตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป พื้น ประตู หน้าต่าง วงกบ ของห้องบันได บันได และสิ่งก่อสร้างโดยรอบบันได ต้องก่อสร้างด้วยวัตถุทนไฟ

หน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ หรือช่องแสงสว่างสว่างซึ่งทำติดต่อกันสูงเกิน 10.00 เมตร ต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟ

ข้อ 43 ลิฟท์สำหรับบุคคลใช้สอย ให้ทำได้แต่ในอาคารซึ่งประกอบด้วยวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะส่วนต่อเนื่องกับลิฟท์นั้นต้องเป็นวัตถุทนไฟทั้งสิ้น ส่วนปลอดภัยของลิฟท์ต้องมีอยู่ไม่น้อยกว่าสี่เท่าของน้ำหนักที่กำหนดให้

ข้อ 44 วัตถุมุงหลังคาให้ทำด้วยวัตถุทนไฟ เว้นแต่อาคารซึ่งตั้งอยู่ห่างอาคารอื่น ซึ่งมุงด้วยวัตถุทนไฟ หรือห่างเขตที่ดินหรือทางสาธารณะเกิน 40.00 เมตร จะใช้วัตถุอื่นก็ได้

ข้อ 45 ส่วนฐานรากของอาคารต้องทำเป็นลักษณะถาวรมั่นคงพอที่จะรับน้ำหนักของอาคารและน้ำหนักที่จะใช้บรรทุกได้โดยปลอดภัย ในกรณีที่เห็นว่าการกำหนดฐานรากยังไม่มั่นคงเพียงพอให้เรียกรายการคำนวณจากเจ้าของอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาได้

ข้อ 46 อาคารที่ปลูกสร้างสูงเกินเจ็ดชั้น ให้มีพื้นที่ดาดฟ้าเพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศตามสภาพที่เหมาะสม

หมวด 7

แนวอาคารและระยะต่าง ๆ

ข้อ 69 ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างอาคารหรือส่วนของอาคารยื่นออกมาในหรือเหนือทางหรือที่ดินสาธารณะ

ข้อ 70 ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ได้ร่นแนวห่างจากเขตทางสาธารณะไม่เกิน 2.00 เมตร ห้องกันสาดของพื้นชั้นแรกต้องสูงจากระดับทางเท้าที่กำหนด 3.25 ระเบียงด้านหน้าอาคารมีได้ตั้งแต่ระดับพื้นชั้นที่สามขึ้นไป และยื่นได้ไม่เกินส่วนที่ยื่นสถาปัตยกรรม

ห้ามระบายน้ำจากกันสาดด้านหน้าอาคารและจากหลังคา ลงในที่สาธารณะหรือในที่ดินที่ได้ร่นแนวอาคารจากเขตทางสาธารณะโดยตรง แต่ให้มีรางระบายหรือท่อระบายรับน้ำจากกันสาดหรือหลังคาให้เพียงพอลงไปถึงพื้นดินแล้วระบายลงสู่ท่อสาธารณะหรือบ่อพัก

อาคารตามวรรคที่หนึ่งได้ร่นแนวห่างจากเขตทางสาธารณะเกิน 2.00 เมตร หากมีกันสาดระเบียง หรือส่วนยื่นสถาปัตยกรรมใดยื่นออกมาในระยะ 2.00 เมตร จากเขตทางสาธารณะต้องปฏิบัติตามสองวรรคแรกด้วย

ข้อ 71 ห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารสูงกว่าระดับพื้นดินเกินสองเท่าของระยะจากผนังด้านหน้าของอาคารจดแนวถนนฟากตรงข้าม

ข้อ 72 อาคารปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างไม่ถึง 6.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 3.00 เมตร

ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6.00 เมตร

ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10.00 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของแนวถนน สำหรับริมทางสาธารณะที่กว้างกว่า 20.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 2.00 เมตร

ข้อ 73 สำหรับอาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสองสายขนาบอยู่ และถนนสองสายนั้นขนาดไม่เท่ากัน เมื่อส่วนกว้างของอาคารนั้นไม่เกิน 15 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างสูงได้สองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่าได้ทั้งหลัง

สำหรับอาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสองสายขนาดไม่เท่ากัน อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงสองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่า ลึกไปตามถนนที่แคบกว่าไม่เกิน 15.00 เมตร อาคารส่วนที่ลึกเกินนั้นให้ถือเกณฑ์ตามข้อ 71

ข้อ 74 อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตู หรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร สำหรับชั้นสามขึ้นไประยะไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

สำหรับอาคารที่มีระเบียงด้านชิดที่ดินเอกชน ริมระเบียงต้องห่างจากเขตที่ดินตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 75 อาคารที่ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบ ไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดี แต่มิให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารรุกล้ำเขตที่ดินข้างเคียง ตึกแถวที่มีดาดฟ้าสร้างชิดเขต ให้สร้างผนังทึบด้านชิดเขตสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร

ในกรณีชายคาอยู่ชิดเขตที่ดินข้างเคียงต้องมีการป้องกันน้ำจากชายคาไม่ให้ไหลตกลงในที่ดินนั้นด้วย

ข้อ 76 อาคารประเภทต่าง ๆ จะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

(1) อาคารที่พักอาศัยแต่ละหลังให้มีที่ว่างอยู่ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่

(2) อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัย ให้มีที่ว่างอยู่ใน 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ แต่ถ้าใช้เป็นที่พักอาศัยด้วยให้มีที่ว่างอยู่ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่

(3) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะสูงไม่เกินสามชั้น และไม่อยู่ริมทางสาธารณะต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ถ้าสูงเกินสามชั้นต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร

ในกรณีที่อาคารหันหน้าเข้าหากันให้มีที่ว่างร่วมกันได้

ในกรณีที่หันหน้าตามกัน ให้มีที่ว่างด้านหน้าของอาคารแถวหลังเป็นทางเดิน หลังอาคารของอาคารแถวหน้าด้วย

(4) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะจะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร โดยให้แสดงเขตดังกล่าวให้ปรากฏด้วย

ในกรณีที่อาคารหันหลังเข้าหากัน จะต้องเว้นทางเดินด้านหลังไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร

(5) ห้องแถว ตึกแถว และอาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่มุมถนนสองสายตัดกัน และมีทางออกสู่ด้านหน้าทั้งสองสายในระยะไม่เกิน 15 เมตร จากมุมถนนสองสาย หรือตั้งอยู่ริมทางสาธารณะสองสายขนาบอยู่ ทางสายใดสายหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ทางขนาบกั้นนั้นห่างจากกันไม่เกิน 15.00 เมตร และได้ร่นแนวอาคารตามข้อ 72 จะไม่มีที่ว่างหรือทางเดินหลังอาคารก็ได้

ข้อ 77 ห้องแถว ตึกแถว และอาคารพาณิชย์ ต้องมีช่องหน้าต่างหรือประตูเปิดสู่ภายนอกได้ไม่น้อยกว่า 20 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่อาคารทุกชั้น

ช่องหน้าต่างหรือประตูเปิดสู่ภายนอก หมายถึง ช่องเปิดขอผนังด้านทางสาธารณะหรือด้านที่ห่างที่ดินเอกชนสำหรับอาคารชั้นสองลงมาไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร สำหรับชั้นสามขึ้นไปไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

ข้อ 78 อาคารซึ่งใช้เป็นสถานที่บริการอัดฉีดน้ำมันยานยนต์ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับนั้น ๆ แล้ว ต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร และมีการป้องกันมิให้ละอองน้ำมันเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียงได้ด้วย

อาคารแผงลอย ต้องมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

ข้อ 79 อาคารที่ก่อสร้างเพื่อกระทำการหรือใช้ประโยชน์เพื่อกิจการดังกล่าว ในข้อนี้

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ม.1 ฝึกเขียนภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

คำศัพท์

go to school ไปโรงเรียน
go shopping ไปซื้อของ
go home กลับบ้าน
go to the supermarket ไปซุปเปอร์มาร์เกต
go to the cinema ไปดูภาพยนตร์
go to the department store ไปห้างสรรพสินค้า
go to the park ไปสวนสาธารณะ
go to the hospital ไปโรงพยาบาล
study English เรียนภาษาอังกฤษ
study Mathematics เรียนวิชาคณิตศาสตร์
study science เรียนวิชาวิทยาศาสตร์
buy clothes ซื้อเสื้อผ้า
go for a walk เดินเล่น
hang out ไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน

จงแต่งประโยค จำนวน 10 ประโยคและอ่านให้ครูฟัง
1. I go to school. ฉันไปโรงเรียน
2. ………………………………………………………………………………………
3. ………………………………………………………………………………………
4. ………………………………………………………………………………………
5. ………………………………………………………………………………………
6. ………………………………………………………………………………………
7. ………………………………………………………………………………………
8. ………………………………………………………………………………………
9. ………………………………………………………………………………………
10. ………………………………………………………………………………………
ฝึกอ่านด้วยนะคะ
She sells seashell on the sea chore.

ม.1 ฝึกเขียนภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

คำศัพท์

go to school ไปโรงเรียน
go shopping ไปซื้อของ
go home กลับบ้าน
go to the supermarket ไปซุปเปอร์มาร์เกต
go to the cinema ไปดูภาพยนตร์
go to the department store ไปห้างสรรพสินค้า
go to the park ไปสวนสาธารณะ
go to the hospital ไปโรงพยาบาล
study English เรียนภาษาอังกฤษ
study Mathematics เรียนวิชาคณิตศาสตร์
study science เรียนวิชาวิทยาศาสตร์
buy clothes ซื้อเสื้อผ้า
go for a walk เดินเล่น
hang out ไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน

จงแต่งประโยค จำนวน 10 ประโยคและอ่านให้ครูฟัง
1. I go to school. ฉันไปโรงเรียน
2. ………………………………………………………………………………………
3. ………………………………………………………………………………………
4. ………………………………………………………………………………………
5. ………………………………………………………………………………………
6. ………………………………………………………………………………………
7. ………………………………………………………………………………………
8. ………………………………………………………………………………………
9. ………………………………………………………………………………………
10. ………………………………………………………………………………………
ฝึกอ่านด้วยนะคะ
She sells seashell on the sea chore.

analogy

Analogy
1. Jack-o'-lantern is to Halloween as heart is to __________.
a. Love b. beat c. Valentine’s day d. bravery
2. Party is to celebration as trip is to _______________.
a. voyage b. arrive c. distant d. remain
3. Santa is to gifts as Cupid is to _______________.
a. magical b. symbols c. Valentine's d. arrows
4. Thanksgiving is to gratitude as Valentine's Day is to _____.
a. holiday b. party c. affection d. latitude
5. Card is to cards as Valentine is to _______________.
a. Valentines b. Valentine's c. greetings d. notes
6. Flower is to rose as candy is to _______________.
a. sweet b. gift c. chocolate d. cavity
7. Romance is to romantic as adventure is to _____________.
a. story b. action c. adventures d. adventurous
8. Wind is to breeze as storm is to _______________.
a. Rain b. snow c. tornado d. shower
9. Haircut is to service as hat is to _______________.
a. head b. wear c. bonnet d. product
10. Audio is to hearing as video is to _______________.
a. television b. camera c. tape d. vision
11. judge:court
a. general : military base b. cashier : counter
c. writer : agency d. artist : museum
12. gauntlets :hand
a. face : mask b. glove : arm
c. helmet : neck d. amulet : shoulder
13. crumb : bread
a. bar : chocolate b. herd : cattle
c. ounce : weight d. splinter : wood
14. December is to winter as September is to _______________.
a. spring b. cooler c. school d. autumn
15. Good is to better as cool is to _______________.
a. cold b. good c. cooler d. warm
16. Water is to liquid as ice is to _______________.
a. snow b. freezing c. solid d. slippery
17. Trade is to maid as cool is to _______________.
a. lower b. chill c. neat d. rule
18. Milk is to refrigerator as ice cream is to _______________.
a. flavors b. scoop c. frozen d. freezer
19. Fahrenheit is to Thirty-two as Celsius is to _______________.
a. zero b. degrees c. freezing d. thermometer

20. Rain is to drop as snow is to _______________.
a. flake b. shovel c. storm d. white

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

อารมณ์ดี...ใครก็อยากเข้าใกล้

วันนี้ ไปร่วมงานสอบนักเีรียน ซึ่งต้องสอบเต้นลีลาส เป็นงานเลี้ยงค่อนข้างใหญ่ พิธีกร น่ารักมาก อายุเยอะ แล้วแต่ดูมีเสน่ห์ ก็เลยอยากจะมาบอกเล่า ถึงความประทับใจ
1. ยิ้มง่าย
2. พูดคุยกับทุกคน
3. รู้จักชื่อ สามารถเรียกชื่ือได้อย่างถูกต้องไม่เคอะเขิน
4. มีอารมณ์ขัน
5. บุคลิกดี รวมถึงการแต่งกาย แต่งหน้า บุคลิกภาพ
6. มีความรู้ดี
7. สะอาด
8. มีวาจาไพเราะ ยามพูดจะเปื้อนรอยยิ้มอยู่เสมอ
9. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิสัยทัศน์กับผู้บริหาร

การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา



ชลาลัย นิมิบุตร[*]



วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นคำที่นักวิชาการได้ให้ความสนใจ และพยายามให้ความหมายแตกต่างกันไปมากมาย จนอาจเกิดความสับสนว่ากำลังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร หรือวิสัยทัศน์ขององค์กรกันแน่ อย่างไรก็ตามความหมาย ของวิสัยทัศน์สามารถสรุปได้ในแนวทางเดียวกันคือ วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรซึ่งได้มาจากปัญญา ความคิดโดยภาพนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง มีความเป็นไปได้ ดึงดูดใจให้ปฏิบัติตาม สอดคล้องกับเป้าหมายและภาระหน้าที่ขององค์กรอันจะทำให้องค์กรมีสภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากความหมาย ของวิสัยทัศน์จะเห็นว่า วิสัยทัศน์มีลักษณะเป็นภาพ สถานศึกษาไม่สามารถที่จะสร้างภาพด้วยตนเองได้ แต่จะมองเห็นอนาคตขององค์กรผ่านผู้บริหารสถานศึกษาว่าจะกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดังนั้นวิสัยทัศน์ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะหมายถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน และผู้เขียนจะขอนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิด ดังนี้



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์


แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของวิสัยทัศน์



วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้บริหารและสมาชิก ขององค์กรร่วมกันวาดฝัน หรือจินตนาการขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่บนความจริง ในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อมั่นเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งพรรณนาให้เห็นทิศทางของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ (รุ่ง, 2539: 129) วิสัยทัศน์จึงเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของสภาพที่ต้องการเพื่อให้ทุกคนทำงานไปสู่ความสำเร็จในอนาคต วิสัยทัศน์ได้มาจากการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ ในปัจจุบัน ร่วมกับการระดมความคิดหาแนวทางแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้มา ซึ่งองค์กรอันพึงประสงค์ในอนาคต (บัณฑิต, 2540: 27) วิสัยทัศน์เป็นเรื่องของทุก ๆ คน แต่วิสัยทัศน์ไม่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ หากไม่ได้รับการปลูกฝัง ไม่ได้รับการเรียนรู้จากสังคม (เกรียงศักดิ์, 2541: 65)



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร หากผู้บริหารปราศจากวิสัยทัศน์ก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและดำรงรักษาความเป็นองค์กรที่ดีไว้ได้ (Sergiovanni, 1987: 73) วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่แท้จริงขององค์กร และสามารถกำหนดภาพในอนาคตขององค์กรได้ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร เพื่อกำหนดกิจกรรม และแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการโดยไม่เสียเวลากระทำการในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และยังเป็นแรงกระตุ้นให้สมาชิกขององค์กรปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจอย่างเป็นพิเศษยิ่งกว่าธรรมดา (Duke, 1987: 51) วิสัยทัศน์จะช่วยสร้างความผูกพันและร้อยรัดพลังของสมาชิกเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์จะสามารถสร้างวิสัยทัศน์ให้กับองค์กร และเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นสภาพที่เป็นจริง มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดคืออะไร จะต้องทำอะไร และทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น วิสัยทัศน์ที่แจ่มแจ้งชัดเจนนั้นมาจากการเข้าใจองค์กรอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง งานวิจัยและวรรณกรรมต่าง ๆ ได้ยืนยันว่า วิสัยทัศน์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้บริหาร (เสริมศักดิ์, 2538: 6)



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี และจะต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นไปสู่คณะครู เพื่อให้สมาชิกกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Davis and Thomas, 1989: 22-23) การมีวิสัยทัศน์อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องกระทำให้ได้คือ การทำให้สมาชิกมีจิตผูกพันกับวิสัยทัศน์ สามารถหล่อหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงสู่นโยบาย แผนงาน และกิจวัตรประจำวันภายในองค์กร ยินดีเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Caldwell and Spinks, 1990: 174)

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะมีวิสัยทัศน์แล้ว ยังต้องมีความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้สมาชิกเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ให้บรรลุผลด้วย



มิติของวิสัยทัศน์



Braun (1991: 26) ได้กำหนดมิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision)



การสร้างวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่าประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา

Locke et al. (1991: 53-54) ได้เสนอแนวคิดว่า การสร้างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารได้มาจากวิธีการดังต่อไปนี้



1. โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การสนทนาพูดคุย และ ฟังความคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร



2. โดยกระบวนการจัดกระทำข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหารในเรื่อง การมีสายตายาวไกล ความเข้าใจ วัฒนธรรมขององค์กร ความเข้าใจถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและแนวโน้มของโลกในอนาคต ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมขององค์กร ความสามารถในการคาดคะเนแรงต่อต้านที่อาจจะเกิดขึ้น ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ตลอดเวลา



3. โดยการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนออกมาเป็นถ้อยคำได้อย่างชัดเจน มีพลังในการกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ถ้อยคำ ที่แสดงวิสัยทัศน์นั้นควรมีลักษณะย่นย่อ ชัดเจน ท้าทาย มุ่งอนาคต มั่นคง ปรารถนาที่จะบรรลุให้ได้



4. โดยการประเมินผลเป็นระยะ หมายถึง การทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป



เสริมศักดิ์ (2538: 4) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า การสร้างวิสัยทัศน์ เป็นการสร้างความฝันที่เป็นจริง หรือเป็นการสร้างพิมพ์เขียวขององค์กรที่มีความเป็นเลิศในอนาคต การสร้างวิสัยทัศน์จะต้องศึกษาองค์กรอย่างลึกซึ้ง มีข้อมูลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับจุดเด่น จุดด้อยของบุคคล สถานที่ ทรัพยากร และเวลา วิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิธีการที่ดีอย่างหนึ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ก็คือ การสร้างวิสัยทัศน์โดยการให้มีส่วนร่วม (Shared Vision) ในขณะที่สมศักดิ์ (2540: 13) มีความคิดเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ควรกำหนดขึ้นโดยผู้บริหาร (Leader Initiate) มิได้กำหนดโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะต้องรู้จักสนทนาและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกแล้วนำมาพิจารณาว่าโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร นำข้อมูลผนึกเข้าเป็นวิสัยทัศน์ แล้วหาวิธีการที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์นั้น ในการสร้างวิสัยทัศน์จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม เพื่อให้ทิศทางที่จะมุ่งไปมีความถูกต้อง ตัวแปรที่สำคัญในการสร้างวิสัยทัศน์คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) อันเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารโรงเรียน โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative Thinking) ที่พัฒนาให้ผู้บริหารมองกว้าง คิดไกล ทันสมัย และเฉียบแหลม



การเผยแพร่วิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น



Ellis and Joslin (1990: 8) มีความเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ไปยังสมาชิกทุกคนขององค์กรให้มีความคิดเห็นคล้อยตาม และเต็มใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้นซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือ การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปยังวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้ นั่นคือ เปลี่ยนสภาพของวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลเป็นวิสัยทัศน์ของส่วนรวม จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่วิสัยทัศน์คือ การทำให้สมาชิกขององค์กรยอมรับวิสัยทัศน์นั้น เป็นของตน ผู้บริหารจึงต้องมีศิลปะในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมของสมาชิก มีวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลในการอธิบายและโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์กรเข้าใจและยอมรับวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู



Sashkin (1988: 247) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ได้ 2 แนวทาง คือ



1. โดยการหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงในปรัชญาของสถานศึกษา และกำหนดนโยบาย โครงการ เพื่อนำปรัชญาของสถานศึกษาไปปฏิบัติจริง



2. โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกแต่ละคน ซึ่งผู้บริหาร

สถานศึกษาควรมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ มีทักษะการสื่อสารที่ดี แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของตนอย่างเด่นชัด วางตนให้เป็นที่ไว้วางใจได้ มีความมั่นใจในตนเอง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น



การนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติจะบรรลุผลเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้สื่อสารที่ดี และความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคคลที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้ทุกสถานการณ์ (Scheive and Schoenheit, 1987: 102)

สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป้าหมายชัดเจน การตั้งเป้าหมายว่าองค์กรจะไปทางใดนั้นเป็นภารกิจเพียงครึ่งเดียวของผู้บริหารสถานศึกษา ภารกิจอีกครึ่งหนึ่งก็คือ ผู้บริหารจะต้องเผยแพร่หรือสื่อสารให้สมาชิกทราบในวิสัยทัศน์ของตน มีความเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์นั้น และร่วมพลังในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์



เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์



เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถตรวจสอบวิสัยทัศน์ได้ครอบคลุมสาระสำคัญมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่น คือ Leadership Vision Questionnaire-Principal (LVQ-P) ซึ่งสร้างขึ้นโดย Braun (1991) และศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ได้แปลและปรับให้สอดคล้องกับบริบทของไทย ลักษณะเครื่องมือประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ช่วงคะแนน เพื่อตรวจสอบวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ โดยมีวิธีการคิดคะแนน 2 ระดับคือ ระดับที่ 1 คิดคะแนนรวมแยกเป็นแต่ละมิติ และระดับที่ 2 คิดคะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทั้ง 3 มิติ จะได้คะแนนที่เป็นค่าแสดงถึงระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละคน ซึ่งได้กำหนดการแปลค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้



1.00 – 1.80 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับต่ำ

1.81 – 3.20 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับปานกลาง

3.21 – 4.00 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับสูง



การวัดวิสัยทัศน์จะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ว่ามีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับใด วิสัยทัศน์ในมิติใดที่สมควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพัฒนาวิสัยทัศน์ได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้



แนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา



วิสัยทัศน์มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมความรอบรู้และประสบการณ์ที่มากพอ วิสัยทัศน์สามารถสร้างได้ พัฒนาได้



การสร้างวิสัยทัศน์



ในการสร้างวิสัยทัศน์มีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้



1. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจองค์กรอย่างลึกซึ้ง เข้าใจภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดิมขององค์กร เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร เข้าใจความต้องการและค่านิยมของสมาชิก ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องวิเคราะห์องค์กรเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร



2. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม เนื่องจากสถานศึกษาเป็นระบบสังคมซึ่งได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษาสภาพปัจจุบันของสิ่งแวดล้อม และศึกษาแนวโน้มของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรืออุปสรรค



ทั้งนี้การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมนั้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ การแสวงหาข้อมูลจึงต้องหาข้อมูลทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ



ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่อไปนี้ (เสริมศักดิ์, 2538:27)

1. การมองการณ์ไกล

2. การมองย้อนกลับไปข้างหลัง

3. การมองผลกระทบและแนวโน้มต่าง ๆ

4. การมององค์กรในภาพรวม

5. การคาดคะเนแรงต่อต้านต่าง ๆ

6. การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร

7. การมีความมุ่งมั่นหรือความสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง

8. การทดสอบว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายของ

องค์กร และความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่



การเผยแพร่วิสัยทัศน์



เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้แล้วจำเป็นต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นให้สมาชิกได้รับรู้ เข้าใจ และยอมรับ เพื่อเปลี่ยนสภาพวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะสมาชิกจะไม่ทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารสร้างขึ้นหากสมาชิกไม่ยอมรับในวิสัยทัศน์นั้น ดังนั้น จึงควรให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจที่จะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การเผยแพร่วิสัยทัศน์จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจ และการปฏิบัติ



ในการเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้



1. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะในการพูด การฟัง การเขียน และการแสดงภาษาท่าทาง เพื่อให้สมาชิกเข้าใจวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้น



2. ทักษะในการทำตนเป็นแบบอย่าง (Role Model) เนื่องจากวิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจขององค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์นั้นมีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลได้โดยการปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง ซึ่งการทำตนเป็นแบบอย่างนี้ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำ เสมอ



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นการนำวิสัยทัศน์ที่สร้างไปสู่การปฏิบัติจริงโดยความร่วมมือ ทุ่มเทกำลังกาย ความคิด และความพยายามของสมาชิก เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นเป็นผลสำเร็จ นั่นคือเป็นการรวมพลังเพื่อบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องบูรณาการวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นให้เข้ากับปรัชญา นโยบาย แผนงาน และโครงการของสถานศึกษา และปฏิบัติตามจนกระทั่งบังเกิดผล



ในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้



1. ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ จำเป็นจะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนวิธีดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงต่อต้าน ความวิตกกังวล ความเครียด และความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงควรพัฒนาทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

2. ทักษะในการทำงานกับคน การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์เป็นการรวบรวมพลังทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารจึงควรพัฒนา การสื่อสารแบบ 2 ทางระหว่างผู้บริหารกับสมาชิกใน 3 ประเด็น คือ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และการยอมรับความคิดเห็น



3. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ การทำงานของสมาชิกในองค์กรเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถและแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีทักษะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดแก่สมาชิก



4. ทักษะในการมอบหมายงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีทักษะในการมอบหมายงาน ทั้งนี้เพราะการมอบหมายงานจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้สมาชิกมีอิสระในการทำงาน เกิดความผูกพัน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น



5. ทักษะในการปรับโครงสร้างองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ



การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและแก้ไข



วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถกำหนดภาพในอนาคต ที่ต้องการได้ ขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง เพื่อนำสถานศึกษาไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และมักจะล้มเหลว เนื่องจากธรรมชาติของบุคคลก็ดี ขององค์กรก็ดีย่อมมีการต่อต้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สอดคล้องกับความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารสถานศึกษาก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป ผู้บริหารที่ดีควรมองการสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงและแก้ไขให้มีความเชื่อมโยงกัน



บทสรุป



วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคตของสถานศึกษาที่ต้องการจะให้เป็นไปได้อย่างชัดเจนโดยภาพนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ และสามารถมองเห็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำสถานศึกษาให้บรรลุความต้องการนั้น วิสัยทัศน์เป็นภาพอันชัดเจนที่สะท้อนให้เห็นเป้าหมาย ค่านิยม ปรัชญา และความเชื่อที่สมาชิกของสถานศึกษาร่วมกันยึดถือ วิสัยทัศน์ที่แท้จริงต้องเป็นวิสัยทัศน์ร่วมที่สมาชิกช่วยกันผลักดันสานฝัน อันเป็นผลจากความสามารถคิดอ่านผสานเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของสมาชิก และเป็นผลจากความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานของผู้บริหารสถานศึกษา วิสัยทัศน์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี เพราะวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษาได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย



เอกสารและสิ่งอ้างอิง



เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2541. มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย

ปี 2560. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.



บัณฑิต แท่นพิทักษ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ อำนาจ ความศรัทธา

และความพึงพอใจ ในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์

ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ประสานมิตร.



รุ่ง แก้วแดง. 2539. รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ภาค 2. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มติชน.



สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. 2540. วิสัยทัศน์ (VISION): พลังแห่งความสำเร็จ.

การศึกษาเอกชน 7(70): 13-14.



เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2538. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา. ในประมวล

สาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตบริหารการศึกษา. เล่มที่ 1.

หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.



Braun, J. B. 1991. An analysis of principal leadership vision and its

relationship to school climate. Dissertation Abstracts International

52 (04): 1139-A.



Caldwell, B. J. and J. M. Spinks. 1990. The Self- Managing School. London:

The Falmer Press.

Davis, G. A. and M. A. Thomas. 1989. Effective Schools and Effective

Teachers. Boston: Allyn and Bacon.



Duke, D. L. 1987. School Leadership and Instructional Improvement.

New York: Random House.



Ellis, N. E. and A. W. Joslin. 1990. Shared Governance and Responsibility:

The Keys to Leadership, Commitment and Vision in School Reform.

U.S. Department of Educational Design and Management School of

Education.



Locke, E. A., et al. 1991. The Essence of Leadership: The Four Keys to

Leading Successfully. New York: Lexington Books.



Sashkin, M. 1988. The visionary principal: School leadership for the next

century. Education and Urban Society 20 (3): 239-249.



Sergiovanni, T. J. 1987. Educational Governance and Administration.

2 nd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.



Sheive, L. T. and M. B. Schoenheit. 1987. Vision and the work life of

educational leaders. Leadership: Examining the Elusive.

Yearbook of the Association for Supervision and Curriculum

Development.



[*] นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4Q


9Qกับผู้นำ
หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง
การ ดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งการอยู่ร่วมกันในสังคม คนเราจะหลีกเลี่ยงปัญหาภายนอกไม่ให้เข้ามากระทบชีวิตของเราไม่ได้ ปัญหาสังคมต่างๆนั้นมักเกิดขึ้นจากการอยู่รวมกันในสังคม การแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีพื้นฐานครอบครัวอย่างไร มีการเรียนรู้อย่างไร ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดัง นั้นกระบวนการคิดและมีวิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ เรารู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วยกัน 3 ประการคือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” ซึ่งตรงตามปรัชญาทางการศึกษา และความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใน องค์กรย่อมต้องการผู้นำที่ฉลาดในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ การที่จะคัดเลือกบุคคลใดขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็ต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่าง สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่จะเป็นผู้นำได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากคนภายในองค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องยอมรับว่า คนเราไม่สามารถขึ้นเป็นผู้นำได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน หรือจากผู้บังคับบัญชา ดังภาษิตจีนโบราณที่บอกว่า "นกไร้ขน คนไร้เพื่อน ยากจะขึ้นสู่ที่สูงได้" ด้วย เหตุนี้คนที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำได้ ต้องมีเพื่อนมีหัวหน้าที่ดี คอยให้การสนับสนุนไม่เช่นนั้น ย่อมยากที่จะเจริญก้าวหน้าในการงานได้โดยง่าย อีกทั้ง ต้องเป็นคนเก่ง โดยที่ต้องเก่งทั้งในการบริหารจัดการตนเอง และการบริหารจัดการผู้อื่นให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด ซึ่งเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้กับคนเราได้นั้น ก็คือ ความฉลาดของมนุษย์ ซึ่ง ปัจจุบันได้แตกออกไปหลายด้าน แต่ละด้านมีองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการทำงานเช่นกัน เช่น AQ PQ MQ LQ CQ หรือบางแห่งก็แบ่งออกไปตั้งแต่ AQ-ZQ เลยทีเดียวแต่ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงเพียง 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง มาทำความรู้จักกับ 9Q ที่ว่า ดังต่อไปนี้
1. IQ : Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา เชาวน์ไหวพริบ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนว่า คนเราจะต้องใช้สติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา คิดหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน โดยคนเราสามารถเสริมสร้าง IQ ได้โดยการเรียนรู้ การฝึกอบรม การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง ซึ่งความฉลาดทางด้านปัญญา ถือเป็น Q แรกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจาก IQ ของคนเราจะเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์อย่างไหนควรจะต้องทำอย่างไร หากถ้าในกรณีของคนที่มี IQ ต่ำ จะเกิดปัญหาในการคิด เพื่อจะตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. EQ : Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสามารถในการระงับอารมณ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีทักษะสร้างสรรค์ มีจิตนาการ มี การดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขทั้งกายและใจ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เพียงเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่น มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ อาจทำได้โดยการฝึกสมาธิบ่อยๆ เพราะหากมีสมาธิแล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ไม่ตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์ความรู้สึก ควรใช้เหตุและผลในการตัดสินใจแทน มีการแสดงออกด้านอารมณ์ที่เหมาะสม จะทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่แสดงออกด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเหมาะสมในการขึ้นตำแหน่งด้วย
3. AQ : Adversity Quotient หมายถึง ความ ฉลาดในการเผชิญปัญหา หรือความสามารถที่จะเผชิญกับความยากลำบาก ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันของเราต้องเผชิญกับปัญหา ความยุ่งยากสถานการณ์ที่วุ่นวายหรือวิกฤตต่างๆ มากทั้งที่บ้านและที่ทำงาน คนที่มีความสามารถที่จะจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมอาจจะเรียกว่า เป็นพฤติกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้กลางคัน ซึ่งสามารถเปรียบได้กับนักไต่เขา ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งกว่าจะถึงยอดเขา ความฉลาดในการเผชิญปัญหา นั้นสามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบ Adversity Response Profile (ARP) ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงระดับคะแนน ซึ่งจะแบ่งคุณลักษณะของคนออกเป็น 3 กลุ่มได้ ดังนี้คือ
1) คนขี้แพ้ (Quitters) คือ คนที่รู้สึกกลัว กังวลที่จะเผชิญกับความท้าทายที่ต้องปีนป่ายขึ้นยอดเขา และล้มเลิกเมื่ออยู่บนตำแหน่งที่สูงกว่าหน่อย ไม่สนใจต่อการปีนป่ายไปข้างหน้า เมื่อความยุ่งยากหรือวิกฤติเข้าจู่โจมของระบบการทำงานของคนแบบนี้จะพังไปได้ อย่างง่ายดาย ซึ่งคนกลุ่มนี้คงไม่เป็นที่ต้องการขององค์กร การทำงานใดๆ ก็คงไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
2) คนที่ล้มเลิกกลางทาง (Campers) คน ในกลุ่มนี้นั้นจะมีลักษณะของการปีนเขาที่เมื่อปีนไปถึงตรงกลางของภูเขาแล้ว รู้สึกเหนื่อยล้า จะพยายามหาที่ที่ตนเองรู้สึกสบายเพื่อตั้งแคมป์พักอาศัยโดยไม่พยายามที่จะ ปีนเขาต่อไป แม้ว่าคนเหล่านี้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ แต่คนเหล่านี้จะไม่พยายามหรือเสียสละให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หากระบบการทำงานของเขาเหล่านี้ถูกขัดขวางหรือรู้สึกถึงข้อจำกัดว่าไม่มีความ สามารถที่จะไปต่อได้แล้ว เขาก็จะล้มเลิกไปเอง
3) ผู้เอาชนะ (Climers) คือ นักไต่เขาตัวจริง จะอุทิศตัวสำหรับการไต่เขา ระบบการทำงานของเขาจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขา มีความทรหดอดทนและชอบความท้าทาย ซึ่งทำให้สามารถพิชิตยอดเขาได้ การที่องค์กรมีคนที่มี AQ สูง มาก จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยที่องค์กรสามารถสนับสนุนได้โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด
- การ สร้างแรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
- การมอบอำนาจให้ทีมงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
- การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้า จะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย
- การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้
- และเมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม
- ควรมีการฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
4. BQ : Business Quotient หมายถึง ความ ฉลาดทางธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดขององค์กร การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้นำต้องมีความรู้ความชำนาญและความสามารถในงานที่ทำอยู่ ต้องสามารถคิดเป็นขั้นเป็นตอนได้ สามารถมองเห็นความต้องการของลูกค้าในอนาคต และหาแนวทางในการวางแผน เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น รวมไปถึงการหาโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าได้ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจของตนเอง เพื่อให้ก้าวล้ำคู่แข่งขันรายอื่นๆให้ได้มากที่สุด
.................................................................................................
วันนี้ ขอบันทึกเพียง 4 Q ก่อน และจะมานำเสนอใหม่ในครั้งต่อไป แล้วพบกันใหม่

43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ


43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ
สุขภาพ+ภาษาอังกฤษ Add comments


[ state.md.us ]
ภาพประกอบ > Thank [ state.md.us ]

ศาสตราจารย์ริ ชาร์ด ไวส์แมน ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ‘Think A Little Change A Lot’ = “คิดเล็กๆ (ที่ทำให้) เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” แนะนำวิธีทำตัวให้อายุยืนอย่างเป็นสุข ตีพิมพ์สรุปย่อใน ‘MailOnline‘ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

(1). Find Happiness = แสวงหาความสุข

(1.1). keep a diary = เขียนไดอารี
• แทน ที่จะบ่นไปเรื่อยๆ จนคนรอบข้างหนีหายไปหมด ให้ลองเขียนไดอารี หรือบันทึกความจำ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทั้งกายและใจ, ถ้ากลัวความลับจะรั่วไหลละก็… เขียนแล้วฉีก แช่น้ำ แล้วเหยียบซ้ำเสียเลยก็ไม่แปลกอะไร
(1.2). smile, sit up and act happy = ยิ้ม นั่งลง แล้วทำตัวให้มีความสุข
• ถึงใจจะทุกข์ แต่ถ้าอยากให้มีความสุขก็ต้องลงมือทำดู เริ่มจากยิ้ม 2-3 วินาที นั่งตัวเกือบตรง ทำตัวให้ร่าเริง,
• อย่าทำตัว “ไหลห่อ-หลังงุ้ม-กุม…-คอตก (โปรดเติมคำในช่องว่าง + ห้ามคิดมาก)” แล้วความสุขมันจะค่อยๆ ซึมซาบเข้ามาเอง
(1.3). buy experiences, not things = ซื้อประสบการณ์, อย่าซื้อของ
• การไปช็อปปิ้งทำลายความเศร้า สร้อย หงอย เหงาดูเหมือนดี แต่ผลการศึกษาพบว่า คนเราจะรู้สึกดีขึ้นกว่านั้นมาก… ถ้าหยุดช็อป
• เก็บสตางค์ไปเที่ยว ศึกษาหาความรู้แบบที่ชอบ ฟังเพลงนอกบ้าน ออกไปเดินกับน้องหมา หรือหาอาหารสุขภาพสักมื้อกับเพื่อนที่รู้ใจ
• การ ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า หรือเครื่องใช้ไม้สอยใหม่ๆ มักจะทำให้คนเรารู้สึกดีขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็เหี่ยวลงไปอีก ไม่เหมือนประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น ไปเที่ยวในที่ที่ปลอดภัย ให้เวลากับเพื่อน หรือน้องๆ (แมว แมว ปลา ฯลฯ) แบบนี้ทำให้มีความสุขนานกว่า

(2). Become Persuasive = ทำตัวให้ถูกชักจูงไปในทางที่ดี (น้อมไปสู่กระแสแห่งความสุข)

(2.1). take centre stage = อยู่ตรงกลาง
• การ ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนสำคัญมักจะนั่งอยู่ตรงกลางมากกว่าอยู่ริมๆ, ถ้าอยากจะหาเพื่อน หาคู่ หรือหาคนที่รู้ใจ… ให้นั่งตรงกลางไว้ก่อน, ถ้าอยากอยู่แบบเดิมๆ ให้นั่งที่เดิม ให้ไกลแสนไกลจากผู้คน
(2.2). ask for a favour = ขอความช่วยเหลือ
• การศึกษาพบว่า คนที่กล้าออกปากขออะไรเล็กๆ น้อยๆ ในรูป “ขอความช่วยเหลือ” มักจะเป็นที่ประทับใจของผู้ให้
• ที่ สำคัญคือ ให้ขอความช่วยเหลือ “เล็กๆ”, อย่าไปขออะไรมากเกิน บ่อยเกิน หรือไปขอของที่คนอื่นแสนหวง เพราะนั่นจะทำลายมิตรภาพแทบจะในทันที
(2.3). make mistakes = ทำผิดเล็กๆ
• คนเกือบทั้งหมดไม่ชอบ “คุณสมบูรณ์แบบ (perfection)” เช่น คนสวย หล่อ หรือดูดีไปหมดจากปลายผมจรดส้นเท้า ฯลฯ
• การกล้าทำอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ดูเป็นผู้เป็นคน (make your more human) และดูเป็นคนอบอุ่น (warmer) มากขึ้น
• ถ้าจะให้ดูดีขึ้น… ทำผิดนิดๆ แล้วต้องกล้า “ขอโทษ” ด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ชอบคำ “ขอโทษ”
• และที่สำคัญ คือ อย่าทำผิดเรื่องใหญ่ๆ หรือทำผิดเล็กๆ บ่อยเกิน เช่น ปล่อยให้รังแคร่วงลงบนไหล่เกิน 10 จุด ฯลฯ ในเวลาสำคัญ
(2.4). gossip positively = ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก)
• การ ศึกษาพบว่า ผู้ฟังมีแนวโน้มจะมองคนนินทาว่า “เป็นพวกเดียวกัน(กับคนถูกนินทา)” เลยเช่น มองคนที่ชอบนินทาความล้มเหลวของคนอื่นว่า เป็นพวกที่ล้มเหลวในชีวิตคล้ายๆ กัน ฯลฯ
• ทาง ที่ดีคือ ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก) โดยทำเรื่องการทำดี ความสำเร็จ หรือความคิดสร้างสรรค์ของคนๆ หนึ่งไปบอกต่อคนอื่น… แล้วคนฟังจะเริ่มมองว่า คุณเป็นคนดีแบบนั้นเหมือนกัน
• ที่สำคัญคือ การซุบซิบอย่างสร้างสรรค์มีส่วนทำให้คนเรามีความสุขเดี๋ยวนั้นทันที ไม่เหมือนการนินทาใส่ร้ายที่จะทำลายทุกฝ่ายไปอีกนาน
(2.5). dine out = ออกไปกินข้าวนอกบ้าน
• อาหารดีๆ มักจะทำให้คนที่กินข้าวด้วยกันรู้สึกดีๆ… ถ้าอยากรู้จักเพื่อน หรือคนที่รู้ใจก็ควรกล้าออกไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง
• แม้ แต่คนที่แสนจะพิถีพิถันเรื่องสุขภาพ… ถ้าเตรียมอาหารไปกินนอกบ้านบ้างก็ยังทำให้โอกาสรู้จักใครต่อใครมากขึ้น มากกว่ากินข้าวที่บ้านทุกมื้อ และทุกวัน

(3). Get Motivated = สร้างแรงจูงใจ

(3.1). quit fantisising = หยุดฝันกลางวัน
• การ ศึกษาพบว่า การฝันกลางวันทำให้ฝันนั้นๆ มีโอกาสเป็นจริงน้อยลง ทางที่ดีกว่า คือ หยุดฝันกลางวัน แล้วมองว่า จะทำอย่างไรให้ฝันกลายเป็นจริงให้ได้ทีละน้อย
(3.2). make plans = วางแผน
• ผล การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้แผนการประสบความสำเร็จได้มีอยู่ 6 ปัจจัยได้แก่ (1). เขียนลงไป (เป็นลายลักษณ์อักษร), (2). บอกเพื่อนๆ หรือคนที่ไว้ใจได้ (ว่าจะทำ), (3). ทำตารางเวลาว่า จะทำอะไรก่อน-หลัง, …
• (4). แบ่งงานเป็นขั้นเป็นตอน, ให้รางวัลตัวเองทุกขั้นตอนที่ทำสำเร็จ, และ (5). เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ประโยชน์ที่ได้จากเป้าหมายนี้คืออะไร
(3.3). sieze the day = เริ่มต้นวันนี้
• สำหรับ นักผลัดวันประกันพรุ่ง… ผลการศึกษาพบว่า ถ้าเริ่มต้นทำเสียแต่วันได้ โดยรีบทำเรื่องที่ไม่อยากทำให้ได้ 2-3 นาทีแรก ตรงนั้นจะยากที่สุด
• เมื่อทำ 2-3 นาทีแรกได้… จะรู้สึกราวกับทำสำเร็จไปกว่าครึ่ง และทำส่วนที่เหลือเสร็จได้ภายในเวลาไม่นาน
• เพราะ ฉะนั้นถ้าจับได้ว่า ตัวเราเป็น “นักวิ่งผลัดฯ” ควรรีบทำตัวให้เป็นนักวิ่งผลัดคนแรกในทีม (starter) หยุดฝัน แล้วฝืนทำไปให้ได้ 2-3 นาที หลังจากนั้น… งานจะง่ายขึ้นแยะเลย
(3.4). write your own eulogy = เขียนคำสดุดีตัวเอง (เป็นคำกล่าวสรรเสริญที่ใช้ในงานศพ)
• ลองเขียนคำสดุดีตัวเอง จดลงไปว่า คุณอยากได้ยินคำสดุดี หรือคำกล่าวเกียรติคุณว่า คุณประสบความสำเร็จอะไรบ้างในงานศพ
• การจด ‘jot down (‘jot’ / “จ๊อท - t(ท) = จด)” งานเขียนบทนี้จะทำให้ความปรารถนาของคุณ “ตกผลึก (crystalise)” และจะจูงใจให้ปรารถนาที่ดีงามประสบความสำเร็จ
(4). Lose Weight = ลดน้ำหนัก

(4.1). eat fast, then slow down = กินเร็วๆ, แล้วกินให้ช้าลง
• การ ศึกษาพบว่า คนที่กินด้วยความเร็วปกติ (ไม่ใช่กินช้าๆ) ในครึ่งแรก (ของมื้อ) แล้วลดความเร็วลงเหลือ 1/2 ในครึ่งหลัง (ของมื้อ)… ลดความอยากอาหาร และลดน้ำหนักได้ดีกว่าคนที่กินช้าๆ ตั้งแต่แรก
(4.2). throw away the big plates = ทิ้งจานใบใหญ่ๆ ไป
• ทิ้ง จานและอุปกรณ์กินข้าว เช่น ส้อม ช้อน ฯลฯ ขนาดใหญ่ไป หรือจะบริจาคให้ใครก็ได้… การศึกษาพบว่า คนที่กินข้าวจานเล็กกว่า มีเอวเล็กกว่า
(4.3). put a mirror in the kitchen = ติดกระจกไว้ในครัว
• คนที่มองเห็นภาพสะท้อนตัวเองก่อนกิน มักจะกินน้อยลง
• ถ้าวิธีนี้ใช้ได้ผลกับคุณ… อย่าลืมติดกระจกไว้อีกบานที่ห้องกินข้าว และพกติดตัวไว้ดูหน้าก่อนกินอะไรทุกครั้ง
(4.4). say no to TV dinners = ปิด TV กินข้าว
• คนที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน (อาหาร) มัวแต่ดู TV, ฟังโน่นฟังนี่, หรือทำอะไรไปด้วยกินไปด้วย มักจะกินมากขึ้น
(4.5). keep a food diary = จดไดอารีอาหาร
• คน ที่จดไดอารีอาหารทุกอย่างมีแนวโน้มจะลดน้ำหนักได้มากเป็น 2 เท่าของคนที่ไม่จด เนื่องจากข้อมูลนำไปสู่ความรู้ ความรู้นำไปสู่ความเข้าใจ ความเข้าใจนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีขึ้นได้
(5). Get Ahead = ก้าวไปข้างหน้า

(5.1). work alone = ทำงานคนเดียว
• การศึกษาจำนวนมากพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดจากการทำงานเป็นกลุ่ม การพบปะ (meetings) หรือการระดมสมอง (brainstorming) เสมอไป
• ความ คิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เกิดเมื่อคนเราอยู่คนเดียว และอยู่กับ ‘3B’ ได้แก่ ‘bus’ = รถเมล์ (= เดินทางท่องเที่ยว หรือไปในที่แปลกใหม่), ’bath’ = อาบน้ำ (= เวลาอาบน้ำ หรือทำอะไรที่สดชื่น), ‘bed’ = เตียง (= เวลาตื่นนอนใหม่ๆ หรือหลังพักผ่อนเต็มที่)
(5.2). buy a plant = ซื้อต้นไม้
• การศึกษานาน 8 เดือนรายงานหนึ่งพบว่า การเพิ่มจำนวนต้นไม้ในสำนักงาน ทำให้คนทำงานได้ไอเดีย หรือข้อคิดใหม่ๆ มากขึ้น 15%
(5.3). pull = ดึง
• เทคนิค หนึ่งในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ คือ ให้นำเรื่องนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตัว กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนเรามักจะดึงเรื่องที่เราชอบมาไว้ใกล้ตัว ดันเรื่องที่เราไม่ชอบออกไปไกลตัว
• ตัวอย่าง การนำเรื่องนั้นๆ มาไว้ใกล้ตัว เช่น หากระดานเขียนเตือนว่า วันนี้-อาทิตย์เรากำลังจะสร้างสรรค์เรื่องอะไร, หากระดาษ-ดินสอหรือปากกาไว้ใกล้ตัวเสมอ มีไอเดียอะไรดีๆ จะได้รีบจดทันที ฯลฯ
(5.4). a welcome distraction = เว้นวรรคให้เป็น
• ผล การวิจัยพบว่า ถ้าแก้ปัญหาอะไรไม่ได้… ให้เว้นวรรค หรือหยุดพักสักครู่ เช่น ออกไปเดิน 5 นาที + ขึ้นลงบันได 1 ขั้น + ล้างมือก่อน แล้วล้างหน้าล้างตา + เดินตากลมสักพัก ฯลฯ มักจะทำให้หาทางออกได้ดีกว่าลุยไปเรื่อยๆ ทั้งที่แสนเหนื่อยและเพลีย
• บาง คนคิดหาทางแก้ปัญหาไม่ออก… พอได้ไปนอนหรืองีบสักพัก คิดออกก็มีมากไป เพราะฉะนั้นอย่าลืมพกกระดาษ ปากกา ดินสอ หรือเครื่องบันทึกเสียง (พูดแล้วบันทึกไว้) ติดตัวเสมอ ใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงก็ได้นี่
(5.5). lighten up = เครียดไปก็พักเสีย
• สมอง เราแทบจะหยุดความคิดสร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหาเมื่อความเครียดสูงเกิน… ควรหาทางลดความเครียดลง เช่น คุยเรื่องขำๆ กัน ฯลฯ แล้วกลับไปทำงานใหม่
• หน่วย งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้องการปั้นไอเดียออกมามากๆ น่าจะมีห้องอาบน้ำ ห้องนอนช่วงสั้นๆ (งีบ) ห้องออกกำลัง หรือห้องที่มองเห็นสวนสารพัดสี เพราะจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น
(5.6). talk pets = คุยกันเรื่องน้อง (หมา แมว ปลา ฯลฯ)
• ถ้า อยากรู้จักบุคลิกภาพคนอื่นแบบเร็ว ให้ถามว่าชอบเลี้ยงอะไร… คนชอบน้องปลามักจะเป็นคนที่มากไปด้วยความสุข; คนชอบน้องหามักจะเป็นคนสนุกสนานร่าเริง;
• คน ชอบน้องแมวมักจะเป็นคนที่เชื่อถือได้-ไว้ใจได้ แต่อ่อนไหว (ต่อความรู้สึก); คนชอบน้องเลื้อยคลาน (สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ฯลฯ) มักจะรักอิสรภาพ และเป็นตัวของตัวเองแบบสุดๆ ไปเลย

(6). Deal With stress = จัดการกับความเครียด

(6.1). Don’t punch a pillow = อย่าทุบหมอน
• การทุบตี ด่าว่าสิ่งไม่มีชีวิต เช่น หมอน ฯลฯ ไม่ได้ทำให้อะไรๆ ดีขึ้น แถมความเครียดมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นด้วย
(6.2). listen to Beethoven = ฟังบีโธเฟน
• ไม่ ว่าจะเครียดหรือรู้สึกเหมือนจะคลั่ง อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ให้ฟังเพลงคลาสสิค (เพลงบรรเลง) มีการศึกษาพบว่า เพลงคลาสสิคทำให้ความดันเลือดลดลงได้
(6.3). stand in the sun = ยืนอาบแดด
• การออกไปรับแดดอ่อนๆ ตอนเช้า (ก่อน 8.30 นาฬิกา) หรือตอนเย็น (หลัง 16.30 นาฬิกา) 10-15 นาที/วัน ช่วยให้อารมณ์และความจำดีขึ้น
• และ จะดีขึ้นมากถ้าหาเรื่องออกกำลังไปเลย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันได เดินถือตุ้มน้ำหนักหรือถังรดน้ำต้นไม้ (เลือกแบบที่จับใหญ่ จับแล้วไม่เจ็บมือ ใส่น้ำตามความแข็งแรง) หรือเดินไปบีบคลายลูกบอลหรือที่บีบมือ (hand grips) ไป
• หรือจะฝึกไทเกก-ไทชิ รำกระบองชีวจิต มวยจีน โยคะ พร้อมรับพลังจากสุริยเทพ (พระอาทิตย์) เลยยิ่งเท่
(6.4). laugh = หัวเราะ
• คน ที่มีอารมณ์ขันมักจะมีระบบภูมิต้านทานดีกว่า เช่น เป็นหวัดน้อยกว่า ฯลฯ แถมยังมีโอกาสเป็นโรคหัวใจกำเริบ สโตรค (กลุ่มหลอดเลือดแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ลดลง 40%
• คนที่มีอารมณ์ขันทนความเจ็บปวดได้มากกว่า โดยเฉพาะทนการทำฟันได้ดี และมีชีวิตยืนยาวขึ้นถึง 4.5 ปี
(6.5). get a dog = เลี้ยงน้องหมา
• น้องหมาทำให้เจ้าของทนความเครียดได้มากขึ้น รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ซึมเศร้าน้อยลง
(6.6). pray = สวดมนต์
• การศึกษาพบว่า การสวดมนต์ให้คนอื่น (ส่งความปรารถนาดี เช่น เมตตา ฯลฯ ออกไป) ให้ผลดีมากกว่าการสวดมนต์ให้ตัวเอง
• การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบว่า คนที่สวดมนต์ให้คนอื่นเป็นประจำ มีความวิตกกังวล (เครียด) เรื่องเงินๆ ทองๆ น้อยลง
(6.7). road rage = อย่าขับรถแบบเดือดดาล
• คนที่ขับรถใจร้อน เดือดดาล (โมโห) ในเรื่องขับรถง่าย เพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และอัมพาตจากความดันเลือดสูง
• วิธี หนึ่งที่จะช่วยให้ใจเย็นลงเวลาขับรถ คือ อย่าฟังข่าวเครียดๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ พาเพลงประเภทเบาๆ สบายๆ ขับไปร้องคลอไป แล้วจะพบว่า เสียงร้องเพลงบนรถก้องกังวล (echo / เอคโค) น้องๆ การร้องเพลงในห้องน้ำเลย
• หรือถ้าต้องการความสงบ สันติ และเมตตายิ่งกว่านั้น… ให้หาแผ่นสวดมนต์มาไว้ประจำรถ แล้วสวดมนต์ไปเรื่อยๆ

(7). find a partner = หาคู่

(7.1). the power of touch = อานุภาพแห่งการสัมผัส
• ถ้าคุณหาคู่ดีๆ ได้… การกอดนานๆ หน่อย แล้วหาพูดแบบกระซิบ หรือเล่าเรื่องโจ๊กกันเบาๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ
• ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ… กอดหมอน หรือกอดน้อง (หมา แมว ฯลฯ) ไปพลางก่อนได้
(7.2). be a mirror = เป็นกระจกให้กันและกัน
• การ ทำอะไรให้คล้าย “คนพิเศษ” ช่วยสร้างความประทับใจได้ เช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งโน้มตัวเข้าหา อีกฝ่ายหนึ่งก็ควรทำคล้ายๆ กัน ฯลฯ การขยับแขนหรือขาก็ควรทำตามๆ กันบ้าง เช่น ฝ่ายหนึ่งไขว้ขาก็ไขว้ตามกันบ้าง
(7.3). do something scary = ทำให้ตกใจกันบ้าง
• การ ศึกษาพบว่า เวลาคนอยู่ใกล้กัน… หัวใจใครเต้นเร็วกว่ามักจะหาคู่ได้ก่อน คู่ที่คบกันได้เร็ว (การศึกษาในฝรั่ง) มักจะทำอะไรที่กระตุ้นหัวใจกันมากหน่อย เช่น ชวนกันไปดูหนังผี ไปนั่งรถไฟเหาะ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ชวนกันไปเดินขึ้นเขา (เผื่อจะมีอะไรให้อีกฝ่ายตกใจ) ฯลฯ
• แบบนี้เรียกว่า “ตื่นเต้นไว้ก่อน พ่อสอนไว้”

(8). Stay passionate = เติมเชื้อไว้ อย่าให้ไฟมอด

(8.1). try new things = ลองอะไรใหม่ๆ
• หาอะไรที่แปลกใหม่ทำด้วยกัน เช่น ไปเที่ยวที่ใหม่ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ฯลฯ
(8.2). stay positive = มองโลกในแง่ดี
• ความ สัมพันธ์ในระยะยาวมักจะมาจากการมองโลกในแง่ดี เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งชวนคุย ไม่ควรจะตอบห้วนๆ คำเดียว เช่น ถาม… ตอบ “อือม์” คำเดียวจบ แล้วเงียบ
• ทาง ที่ดีคือ ใช้สูตร ‘5W1H’ (what,where,when,why,who + how = อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม ใคร + อย่างไร) ช่วยตอบให้ยาวขึ้น เช่น ถาม… ตอบ “เรื่องนี้เป็นอย่างไร (what) หรือ… เล่าให้ฟังหน่อยสิ” แล้วรับฟัง
• มิตรภาพ ที่ดีมักจะเกิดจากคำชมที่มาจากใจจริง เช่น ชอบจังที่คุณกอดนานๆ แบบนี้ ฯลฯ หรือชมการกระทำ เช่น กับข้าวจานนี้เยี่ยมไปเลย (ไม่ต้องบอกว่า อร่อยเพราะผงปรุงรส หรือผงซุปยี่ห้อไหนอะไรทำนองนี้ให้เสียความรู้สึก) ฯลฯ [ hubpages ]

(8.3). but = แต่
• ถ้าจะชม… ไม่ต้องมี “แต่” เช่น โอ้โห… กับข้าวจานนี้อร่อยจึง แต่คุณอีกจานกินไม่ได้เลย” ฯลฯ แบบนี้ไม่พูดดีกว่า
• ถ้า จะติ… แบบนี้ควรมี “แต่” เช่น กับข้าวจานนี้ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่ที่เหลืออีก 4 จานอร่อยมากๆ เลย ไม่ใช่คุณทำไม่เก่งนะ นี่อาจเป็นเพราะคนเราชอบไม่เหมือนกัน”
• ถ้าจะคบกันให้นาน… ควรชมกันให้ได้ทุกวัน ตินั้นนานๆ ครั้งก็เกินพอแล้ว
(8.4). keep your partner in mind = ถนอมเนื้อคู่ไว้เสมอ
• เก็บ ความทรงจำดีๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นแหวน ภาพถ่าย หรืออะไรที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ วางไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาความรู้สึกดีๆ กันไว้ให้นาน

(9). Be Decisive = เด็ดเดี่ยว ไม่โลเล

(9.1). trust your instincts = เชื่อสัญชาตญาณ
• เมื่อ จะต้องตัดสินใจปัญหาที่ซับซ้อน ให้หาข้อมูล ปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่ดี และหาเวลาเงียบๆ ถามสัญชาตญาณของเราก่อนตัดสินใจดูบ้าง
• การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ นั้น… ไม่ควรตัดสินใจก่อน 7 วัน หรือดีกว่านั้นก่อน 14 วัน
• เวลา ตัดสินใจเรื่องใหญ่ อย่าตัดสินใจจากรายละเอียดยิบย่อยเป็นร้อยๆ ปัจจัย, ให้ตัดสินใจจากประเด็นสำคัญใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมี 2-3 ประเด็นหลัก
• เรื่อง ที่ไม่ควรลืมเลย คือ อย่าเล่นการพนัน ไม่จำเป็น-อย่าก่อหนี้ ถ้าจำเป็น… อย่าก่อหนี้เกินตัว อย่าก่อหนี้นอกระบบ และอย่าไปค้ำประกันหนี้คนอื่น

(9.2). say yes = ตอบได้ ใช่เลย
• คน เรามักจะเสียใจกับเรื่องที่ไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นให้ฝึกเป็นฝ่าย ‘will do’ = “จะทำ” เสมอ เพื่อให้โอกาสดีๆ มีทางเข้ามาสู่ชีวิตของเรา
• ถ้า มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ที่ปลอดภัย… ควรไป ก่อนไปศึกษาหาข้อมูลให้พร้อม เตรียมกล้องดิจิตอลไว้ เผื่อจะมีโอกาสเขียนเรื่องเล่า เช่น เขียนบล็อก นำวิดีโอขึ้น Youtube ฯลฯ
• ไม่ ว่าจะไปไหน… อย่าลืมของฝากคนที่บ้าน โดยเฉพาะไม่ว่าจะได้ดีอะไร ให้คิดถึงแม่ถึงพ่อไว้ หาของฝากคุณแม่คุณพ่อเสมอ แล้วชีวิตจะไม่ตกต่ำ

(10). Be a great parent = เป็นคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) ที่ยิ่งใหญ่

(10.1). Choose the right name = เลือกชื่อลูกให้ถูกต้อง
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำว่า การตั้งชื่อลูกให้ดีมีความสำคัญต่ออนาคตมาก ชื่อที่ฝรั่งนิยม เช่น ถ้าต้องการความสำเร็จและสติปัญหา… ควรเป็นชื่อ ‘James, Elizabeth’;
• ชื่อ ผู้หญิงที่นุ่มนวล ควรลงท้ายด้วยเสียง ‘ee’ เช่น Sophie, Lucy ฯลฯ; ชื่อผู้ชายที่เซ็กซี่ ควรเป็นชื่อสั้นๆ และเสียงแข็งๆ หน่อย เช่น Jack, Ryan ฯลฯ
• ชื่อที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในทัศนะของอาจารย์ไวส์แมน คือ Lisa, Brian

(10.2). praise effort, not ability = ยกย่องความพยายาม ไม่ใช่ความสามารถ
• การ ศึกษาพบว่า การกล่าวชมความสามารถ หรือความสำเร็จของเด็กบ่อยๆ เช่น “เก่งจังที่สอบได้ที่ 1″ ฯลฯ มักจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยจะทำให้เด็กไม่ทนต่อชีวิตที่ผิดหวัง หรือพลาดพลั้ง และมีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
• เด็ก ที่ถูกชมเรื่องความสามารถแบบนี้บ่อยๆ อาจจะเครียดง่าย เป็นคนจมไม่ลง และผิดหวังรุนแรงเมื่อพลาดจากความสำเร็จครั้งต่อๆ ไป เนื่องจากเด็กมักจะรู้สึกว่า พ่อแม่รักเขาหรือเธอที่ “ความสำเร็จ” ไม่ใช่ “ความรักที่จริงใจ”
• ตัวอย่างเด็กที่ได้รับคำชมความสำเร็จพบได้บ่อยในเด็กที่ฆ่าตัวตาย เช่น สอบได้เกรดไม่ดี ฯลฯ นี่เพราะทนต่อความผิดหวังไม่ได้
• การชมเด็กควรชมที่ความพยายาม เช่น “เทอมนี้ขยันมากๆ เลย จะสอบได้เท่าไรก็สบายใจได้ เพราะได้พยายามเต็มที่แล้ว” ฯลฯ
• การ ฝึกให้เด็กๆ เรียนรู้ทั้งจากความพ่ายแพ้และชัยชนะเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ให้โอกาสเด็กได้เข้าร่วมการแข่งกีฬากันทั้งครอบครัว และฝึกมองเรื่องพ่ายแพ้เป็นเรื่องตลก หรือธรรมดาของชีวิต ฯลฯ ซึ่งจะเป็นวัคซีนขนานสำคัญต่อไปตลอดชีวิต
• พ่อ แม่ที่ดีควรกล้าเล่าเรื่องผิดพลาดของตัวเองให้เด็กๆ ฟังบ้าง ไม่ใช่เล่าแต่เรื่องความสำเร็จ เช่น ไม่ควรเล่าว่า “พ่อสอบเข้าอนุบาลได้ที่ 1, ประถมฯ ได้ที่ 1, มัธยมฯ ได้ที่ 1, สอบแพทย์ได้ที่ 1, สอบทุนไปนอกได้ที่ 1, ไปเมืองนอกสอบได้ที่ 1, ฯลฯ”
• ควร เล่าทั้งเรื่องประสบความสำเร็จ และเรื่องล้มเหลวให้เด็กๆ ฟัง เช่น “แม่สอบได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เล่นบาสเกตบอลก็ไม่เก่ง เป็นตัวสำรอง แต่ถ้าวิ่งจะเก่งหน่อย แม่ถือหลักว่า พยายามให้เต็มที่ ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น”

(10.3). avoid threats = หลีกเลี่ยงการข่มขู่
• มี คำกล่าวว่า “ความรุนแรงมักจะต่อด้วยความรุนแรง” เปรียบคล้ายแรงดันที่เก็บกดไว้ รอวันระเบิดหรือรอวันแตกออกมาคล้ายแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด
• การลงโทษอาจได้ผลดีหน่อยในสมัยหิน หรือสังคมเกษตร ซึ่งชีวิตมักจะเป็นแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปได้คราวละหลายสิบปี
• ยุค นี้เป็นยุคที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว งานสมัยใหม่ต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม ดีไซน์ หรือการค้นคว้าวิจัย ทำให้การใช้แรงจูงใจด้านบวกได้ผลดีกว่า

(11). Know Yourself = รู้จักตัวเอง

(11.1). all thumbs = เป็นหัวแม่มือกันทุกคน
• คน แต่ละคนมีสมอง 2 ซีกเด่นไม่เท่ากัน… สมองซีกขวาเด่นทางสร้างสรรค์ ศิลปะ การออกแบบ ดีไซน์ ไอเดีย ศิลปิน ดารา นักกีฬา ช่างศิลป์, สมองซีกซ้ายเด่นทางด้านคิดคำนวณ ตรรกะ คอมพิวเตอร์ วิชาการ
• ขั้น แรกคือ ควรหาทางเรียนรู้ให้ได้ว่า เราเด่นทางไหน ด้อยทางใด เพื่อเลือกการศึกษาเล่าเรียน การงาน และแบบแผนการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเรา
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำให้ลองนำมือ 2 ข้างมาไว้ใกล้กัน ประสานกัน (interlock) ให้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งอยู่เหนืออีกหัวแม่มืออีกข้างหนึ่ง ทำแบบที่คุณถนัด
• คนที่วางหัวแม่มือข้างขวาเหนือข้างซ้ายมักจะเป็นพวกสมองซีกซ้ายเด่น พวกนี้ชอบทำงานวิเคราะห์เจาะลึก วิจัย ค้นคว้า วิชาการ
• ตรง กันข้ามคนที่วางหัวแม่มือข้างซ้ายเหนือข้างขวามักจะเป็นพวกสมองซีกขวาเด่น เก่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียใหม่ๆ ออกแบบหรือดีไซน์ ช่างศิลป์


ไม่ว่าเรา จะเป็นใคร เก่งหรือไม่เก่งแค่ไหน… ถ้าอยากมีความสุข ให้ถือหลัก ‘Be good, Be you, Be yourself.’ = “เป็นคนดีพอสมควร (เช่น ไม่คด ไม่โกงใคร ฯลฯ), เป็นแบบที่เราเป็น (เช่น หัดพอใจในความดีบ้างร้ายบ้างของเรา แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนแก้ไขไปทีละน้อย ฯลฯ), …
และเป็นตัวของเราเอง อย่าพยายามเป็นแบบที่คนอื่นเป็น เพราะนั่นไม่ใช่เรา

ถ้าอยากให้ตัวเรามีบุคลิกดี และมีความสุข… อย่านำตัวเราไปเปรียบเทียบ แล้วชิงดีชิงเด่นกับคนอื่น
ถ้าอยากให้เด็กๆ มีความสุข… อย่าเปรียบเทียบพี่กับน้อง หรือเทียบเด็กคนหนึ่งกับอีกคน


ถ้าอยากให้คนดีสนใจเรา … เราต้องมีดีก่อน เพราะคนดีๆ มักจะเลือกคบคนดีด้วยกัน การก้าวเข้าสู่กระแสแห่งมิตรภาพกับคนดีๆ เริ่มต้นที่ตัวเรามีดี แล้วคนดีๆ จึงจะสนใจเรา
ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ภาวะผู้นำ (Leadership) โดย สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

ภาวะผู้นำ (Leadership) โดย สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553

แบ่งปันความสำเร็จจากรุ่นพี่

>จาก kbeautiful มีความสำเร็จจากรุ่นพี่มาแบ่งปันกันค่ะ

ทุนวิจัย

หาทุนวิจัยไ่ม่ยาก จากสกว.

ทุนเรียนต่อโท ในและนอก กสิกร

ใครอยากได้ทุนเรียนต่อในและต่างประเทศ จากธ.กสิกรไทย คลิกได้เลยนะคะ
จริงๆแล้วไม่ได้ว่าง แต่สมองมันชอบแล่นตอนที่ยุ่งๆ มาต่อตอนเก่งอังกฤษ
11. อับเดทตัวเองด้วยการเข้าเวบ อับเดท ข่าวบันเทิง กีฬา เพลง ทุนการศึกษาที่เป็นของต่างประเทศ
12. chat ออนไลน์หาเพื่อน ย้ำว่า เพื่อน ต่างประเทศ msn , skype ,yahoo
13. ไปสมัครการสอบอังกฤษระดับ advance เผือ่ได้ไปนอก เช่น โทเฟล โทอิก สอบภาษาอังกฤษตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น TU-GET , CU-TEP , TEGS
14. ทำข้อสอบอังกฤษระดับ advance ขึ้นไป แล้วดูว่าตัวเองได้กี่เปอร์เซ็นใครเกิน 70% คุณเยี่ยมมาก
15. ลอง เข้าคอร์สพัฒนาตนเอง เช่น conversation กับครูฝรั่ง อย่างน้อย 1 คอร์ส พูดสนทนาธรรมดาแต่ คุณจะมีทักษะดีขึ้นเยอะ
16. ลองรวบรวมข้อมูลภาษาอังกฤษแล้วมาทำหนังสือ เป็นเล่มๆๆ ภูมิใจนิดๆ แถมประมวลความรู้ได้ดี เยี่ยม