วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4Q


9Qกับผู้นำ
หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง
การ ดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งการอยู่ร่วมกันในสังคม คนเราจะหลีกเลี่ยงปัญหาภายนอกไม่ให้เข้ามากระทบชีวิตของเราไม่ได้ ปัญหาสังคมต่างๆนั้นมักเกิดขึ้นจากการอยู่รวมกันในสังคม การแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีพื้นฐานครอบครัวอย่างไร มีการเรียนรู้อย่างไร ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดัง นั้นกระบวนการคิดและมีวิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ เรารู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วยกัน 3 ประการคือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” ซึ่งตรงตามปรัชญาทางการศึกษา และความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใน องค์กรย่อมต้องการผู้นำที่ฉลาดในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ การที่จะคัดเลือกบุคคลใดขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็ต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่าง สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่จะเป็นผู้นำได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากคนภายในองค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องยอมรับว่า คนเราไม่สามารถขึ้นเป็นผู้นำได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน หรือจากผู้บังคับบัญชา ดังภาษิตจีนโบราณที่บอกว่า "นกไร้ขน คนไร้เพื่อน ยากจะขึ้นสู่ที่สูงได้" ด้วย เหตุนี้คนที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำได้ ต้องมีเพื่อนมีหัวหน้าที่ดี คอยให้การสนับสนุนไม่เช่นนั้น ย่อมยากที่จะเจริญก้าวหน้าในการงานได้โดยง่าย อีกทั้ง ต้องเป็นคนเก่ง โดยที่ต้องเก่งทั้งในการบริหารจัดการตนเอง และการบริหารจัดการผู้อื่นให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด ซึ่งเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้กับคนเราได้นั้น ก็คือ ความฉลาดของมนุษย์ ซึ่ง ปัจจุบันได้แตกออกไปหลายด้าน แต่ละด้านมีองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการทำงานเช่นกัน เช่น AQ PQ MQ LQ CQ หรือบางแห่งก็แบ่งออกไปตั้งแต่ AQ-ZQ เลยทีเดียวแต่ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงเพียง 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง มาทำความรู้จักกับ 9Q ที่ว่า ดังต่อไปนี้
1. IQ : Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา เชาวน์ไหวพริบ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนว่า คนเราจะต้องใช้สติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา คิดหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน โดยคนเราสามารถเสริมสร้าง IQ ได้โดยการเรียนรู้ การฝึกอบรม การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง ซึ่งความฉลาดทางด้านปัญญา ถือเป็น Q แรกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจาก IQ ของคนเราจะเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์อย่างไหนควรจะต้องทำอย่างไร หากถ้าในกรณีของคนที่มี IQ ต่ำ จะเกิดปัญหาในการคิด เพื่อจะตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. EQ : Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสามารถในการระงับอารมณ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีทักษะสร้างสรรค์ มีจิตนาการ มี การดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขทั้งกายและใจ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เพียงเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่น มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ อาจทำได้โดยการฝึกสมาธิบ่อยๆ เพราะหากมีสมาธิแล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ไม่ตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์ความรู้สึก ควรใช้เหตุและผลในการตัดสินใจแทน มีการแสดงออกด้านอารมณ์ที่เหมาะสม จะทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่แสดงออกด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเหมาะสมในการขึ้นตำแหน่งด้วย
3. AQ : Adversity Quotient หมายถึง ความ ฉลาดในการเผชิญปัญหา หรือความสามารถที่จะเผชิญกับความยากลำบาก ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันของเราต้องเผชิญกับปัญหา ความยุ่งยากสถานการณ์ที่วุ่นวายหรือวิกฤตต่างๆ มากทั้งที่บ้านและที่ทำงาน คนที่มีความสามารถที่จะจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมอาจจะเรียกว่า เป็นพฤติกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้กลางคัน ซึ่งสามารถเปรียบได้กับนักไต่เขา ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งกว่าจะถึงยอดเขา ความฉลาดในการเผชิญปัญหา นั้นสามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบ Adversity Response Profile (ARP) ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงระดับคะแนน ซึ่งจะแบ่งคุณลักษณะของคนออกเป็น 3 กลุ่มได้ ดังนี้คือ
1) คนขี้แพ้ (Quitters) คือ คนที่รู้สึกกลัว กังวลที่จะเผชิญกับความท้าทายที่ต้องปีนป่ายขึ้นยอดเขา และล้มเลิกเมื่ออยู่บนตำแหน่งที่สูงกว่าหน่อย ไม่สนใจต่อการปีนป่ายไปข้างหน้า เมื่อความยุ่งยากหรือวิกฤติเข้าจู่โจมของระบบการทำงานของคนแบบนี้จะพังไปได้ อย่างง่ายดาย ซึ่งคนกลุ่มนี้คงไม่เป็นที่ต้องการขององค์กร การทำงานใดๆ ก็คงไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
2) คนที่ล้มเลิกกลางทาง (Campers) คน ในกลุ่มนี้นั้นจะมีลักษณะของการปีนเขาที่เมื่อปีนไปถึงตรงกลางของภูเขาแล้ว รู้สึกเหนื่อยล้า จะพยายามหาที่ที่ตนเองรู้สึกสบายเพื่อตั้งแคมป์พักอาศัยโดยไม่พยายามที่จะ ปีนเขาต่อไป แม้ว่าคนเหล่านี้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ แต่คนเหล่านี้จะไม่พยายามหรือเสียสละให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หากระบบการทำงานของเขาเหล่านี้ถูกขัดขวางหรือรู้สึกถึงข้อจำกัดว่าไม่มีความ สามารถที่จะไปต่อได้แล้ว เขาก็จะล้มเลิกไปเอง
3) ผู้เอาชนะ (Climers) คือ นักไต่เขาตัวจริง จะอุทิศตัวสำหรับการไต่เขา ระบบการทำงานของเขาจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขา มีความทรหดอดทนและชอบความท้าทาย ซึ่งทำให้สามารถพิชิตยอดเขาได้ การที่องค์กรมีคนที่มี AQ สูง มาก จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยที่องค์กรสามารถสนับสนุนได้โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด
- การ สร้างแรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
- การมอบอำนาจให้ทีมงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
- การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้า จะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย
- การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้
- และเมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม
- ควรมีการฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
4. BQ : Business Quotient หมายถึง ความ ฉลาดทางธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดขององค์กร การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้นำต้องมีความรู้ความชำนาญและความสามารถในงานที่ทำอยู่ ต้องสามารถคิดเป็นขั้นเป็นตอนได้ สามารถมองเห็นความต้องการของลูกค้าในอนาคต และหาแนวทางในการวางแผน เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น รวมไปถึงการหาโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าได้ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจของตนเอง เพื่อให้ก้าวล้ำคู่แข่งขันรายอื่นๆให้ได้มากที่สุด
.................................................................................................
วันนี้ ขอบันทึกเพียง 4 Q ก่อน และจะมานำเสนอใหม่ในครั้งต่อไป แล้วพบกันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น