วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายเทศบาล สิ่งก่อสร้าง

มาตรฐานของกฏหมายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
มาตรฐานของกฏหมายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

บทที่ 10

มาตรการทางกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุมที่พักอาศัย



ในการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลอาคารที่พักอาศัยและสถานทำการนั้น นอกจากจะใช้หลักวิชาการในการออกแบบ ดูแล และควบคุมแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทางกฏหมายที่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติด้วย กฏหมายจึงนับเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำให้หลักวิชาการทั้งหลายสามารถเกิดผลได้



10.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมาย

10.1.1 ความหมายของกฏหมาย กฏหมายคือ “ข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม” จะเห็นได้ว่าทุกสังคมต้องมีระเบียบข้อบังคับ ซึ่งระเบียบดังกล่าวก็ต้องมาจากตัวบุคคล หรือคณะบุคคลผู้เป็นหัวหน้าของสังคมนั้นเอง ในบางกรณีผู้เป็นหัวหน้าของสังคมนั้นก็สามารถออกระเบียบได้เอง แต่บางกรณี เช่น ในสังคมประชาธิปไตยก็จะมอบให้หัวหน้าของสังคมซึ่งเป็นบุคคลเดียวกันเป็นผู้ออกระเบียบ โดยความเห็นชอบของคณะบุคคลซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติระเบียบนั้นตามหลักของการแบ่งแยกอำนาจหน้าที่

10.1.2 ลักษณะของกฏหมาย มีดังนี้

- กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ หมายความว่าต้องเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะที่เป็นการบังคับ ให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ

- กฏหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์ หมายความว่า ต้องมาจากผู้มีอำนาจในสังคมนั้น เช่น มาจากรัฐสภาของชาติ

- กฏหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า ต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้ออกมาแล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงว่าสำหรับผู้ใด และไม่มีการยกเว้นสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งทุกสถานที่ในประเทศ นอกจากนี้ กฏหมายเมื่อประเทศมีผลบังคับใช้แล้วก็ใช้ได้ตลอดไป จนกว่าจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโดยกระบวนการที่ถูกต้องตามขั้นตอนภายหลัง ดังนั้น หากไม่มีการยกเลิกไปแล้วจะหยิบขึ้นมาใช้เมื่อใดก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้เสมอ

- กฏหมายต้องมีสภาพบังคับ หมายความว่า กฏหมายนั้นเมื่อประกาศใช้แล้ว ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ นั่นคือ ผู้ใดฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษ เช่น คดีอาญา จะมีบทลงโทษตั้งแต่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แล้วแต่ความหนักเบาของโทษานุโทษ ส่วนคดีแพ่งก็จะมีบทลงโทษตั้งแต่ยึดทรัพย์สิน บังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนต่อกัน เรียกเบี้ยประกัน ริบมัดจำ บังคับให้ชำระหนี้ หรือกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฏหมายนั้นตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ

10.1.3 ประเภทของกฏหมาย มีหลายแบบ ซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1) กฏหมายเอกชน เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันแต่อยู่ภายในกรอบของกฏหมายที่จะช่วยมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันเกินไปจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด

กฏหมายแพ่งซึ่งเป็นกฏหมายที่ว่าด้วยนิติสัมพันธ์ของบุคคลตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนกระทั่งตาย เช่น กฏหมายว่าด้วยสภาพบุคคล ครอบครัว หนี้สิน และมรดก เป็นต้น

2) กฏหมายมหาชน เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐเป็นผู้ปกครองประชาชน เพราะในการบริหารประเทศนั้น รัฐจะต้องมีอำนาจที่จะบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ประชาชนจะต้องอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข เช่น กฏหมายรัฐธรรมนูญ กฏหมายปกครอง กฏหมายอาญา กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พระราชบัญญัติประถมศึกษา และพระราชบัญญัติค้ากำไรเกินควร เป็นต้น ลักษณะกฏหมายมหาชนอาจแบ่งแยกย่อยได้อีกดังต่อไปนี้

- กฏหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายที่กำหนดระเบียบ แบบแผนในการใช้อำนาจอธิปไตยและกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน

- กฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่กำหนดการแบ่งส่วนราชการ เพื่อการบริหารประเทศ บริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน

- กฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม ความผิดทางอาญาที่กฏหมายได้บัญญัติเอาโทษไว้นั้นเป็นความผิดที่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมรัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำความผิด เพื่อให้สังคมโดยส่วนรวมดำรงอยู่ได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ “กฏหมายที่บัญญัติลักษณะความผิด และลักษณะโทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิด เช่น ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินและการประทุษร้ายต่อราชอาณาจักร เป็นต้น

- กฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดวิธีการและขั้นตอนที่จะเอาตัวคนผิดมาลงโทษทางอาญา

3) กฏหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ กฏหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ และการปฏิบัติต่อกันระหว่างประเทศ ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีเมือง

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล

- กฏหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีอาญา

ในการพิจารณาว่ากฏหมายใดเป็นกฏหมายแพ่งหรือกฏหมายอาญานั้น สามารถพิจารณาได้จากสภาพบังคับ หากบทบัญญัติใดมีโทษทางอาญาสถานใดสถานหนึ่ง เช่น โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน บทบัญญัตินั้นก็ย่อมเป็นกฏหมายอาญา หากบทบัญญัติใดมีสภาพบังคับเป็นอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว โดยปกติกฏหมายนั้นย่อมเป็นกฏหมายแพ่ง

นอกจากนี้ ในกฏหมายบางฉบับอาจจะมีสภาพบังคับทั้งทางอาญา และทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น ประมวลกฏหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น

10.1.4 การจัดลำดับความสำคัญของกฏหมาย สามารถจัดลำดับได้ตามที่มา และขอบเขตของอำนาจในการบังคับใช้ ดังต่อไปนี้

1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฏหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบการบริหารประเทศ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองภายในประเทศ รัฐธรรมนูญจึงเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นกฏหมายที่สำคัญกว่ากฏหมายฉบับใดทั้งสิ้น กฏหมายอื่นจะบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้

2) พระราชบัญญัติและประมวลกฏหมาย เป็นกฏหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นชอบของรัฐสภา แล้วจึงนำทูลเกล้าฯ ถวายเพื่ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฏหมาย แต่ถ้าหากกฏหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็อาจจะออกในรูปประมวลกฏหมายได้ เช่น ประมวลกฏหมายอาญา ประมวลกฏหมายรัษฎากร เป็นต้น แต่เมื่อประมวลกฏหมายเหล่านี้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฏหมายนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

ตัวอย่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายการก่อสร้าง เช่น

พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505

พระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508

พระราชบัญญัติประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2528

3)พระราชกำหนด เป็นกฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของฝ่ายบริหารในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น

- ในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และปัดป้องภัยพิบัติสาธารณะ

- ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฏหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและเป็นความลับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ

พระราชกำหนดดังกล่าวเมื่อตราขึ้นแล้ว จะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาโดยไม่ชักช้า และเมื่อรัฐสภาอนุมัติก็ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ต่อไป แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็ตกไป หรือสิ้นผลบังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้ทำไปแล้วระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น

3) พระราชกฤษฎีกา คือ กฏหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้บังคับตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร และต้องไม่ขัดต่อกฏหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับฐานะสูงกว่า โดยปกติพระมหากษัตริย์มักจะทรงตราพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีพระราชบัญญัติถวายพระราชอำนาจไว้เช่นนั้น

นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกาจะไม่มีบทลงโทษ ไม่ต้องขอความยินยอมและความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ประการใด เช่น

- พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎร

- พระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร

- พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

4) กฏกระทรวง คือ กฏหมายที่รัฐมนตรีของแต่ละกระทรวงเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจในบทบัญญัติในกฏหมายฉบับใด ฉบับหนึ่ง เพื่อวางระเบียบให้เป็นไปตามกฏหมาย แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายในอำนาจที่พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้ ตัวอย่างกฏกระทรวงที่เกี่ยวกับกฏหมายก่อสร้าง เช่น กฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฏกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522 เป็นต้น

5) เทศบัญญัติ คือกฏหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฏหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร

6) ประกาศกระทรวง หรือทบวง หรือประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประกาศที่ปลัดกระทรวงหรือปลัดทบวง หรือปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติฉบับใด ฉบับหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนั้น ๆ เช่น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง

จากความสำคัญและระดับชั้นของกฏหมายที่กล่าวมาทั้งหมด สามารถสรุปเป็นแผนผังได้ดังภาพที่ 10.1









รัฐธรรมนูญ



พระบรมราชโองการบังคับใช้เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ

ประมวล

กฏหมาย

พระราชบัญญัติ

พระราชกำหนด
















พระราชกฤษฎีกา

กฏกระทรวง




ภาพที่ 10.1 แผนผังแสดงความสำคัญและระดับชั้นของกฏหมาย



10.2 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการก่อสร้างและการสุขาภิบาลอาคาร

10.2.1 กฏหมายที่ใช้ในการกำหนดบทบาทหน้าที่และสถานภาพของบุคคล นิติบุคคล ทั้งของทางราชการและเอกชนที่เกี่ยวกับการออกแบบ และการควบคุมการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ในปัจจุบัน ได้ใช้ระเบียบว่าด้วยการจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2521 ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการควบคุมการก่อสร้างอาคารของหน่วยงานราชการ โดยจะขอนำมาเฉพาะข้อความในหมวดที่ 1 ข้อความทั่วไป ข้อ 4 ซึ่งกล่าวถึงคำจำกัดความของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร ดังต่อไปนี้

1) ส่วนราชการ หมายถึง ส่วนราชการตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนกลาง ในภูมิภาค หรือในต่างประเทศ

2) ผู้ให้บริการ หมายถึง นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจบริการด้านงานออกแบบ และควบคุมงานก่อสร้าง

3) ผู้ว่าจ้าง หมายถึง ส่วนราชการซึ่งได้รับงบประมาณรายจ่ายตามกฏหมาย หรือตามระเบียบข้อบังคับ หรือเงินอื่นใดเพื่อดำเนินการก่อสร้าง หรือว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร

4) อาคาร หมายถึง สิ่งปลูกสร้างถาวรที่บุคคลอาจเข้าอยู่ หรือใช้สอยได้ เช่น อาคารทำการ โรงพยาบาล หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอาคารนั้น ๆ

5) หลักทรัพย์ หมายความถึง เงิน เช็คธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลไทย หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ผู้ว่าจ้างเชื่อถือ

10.2.2 กฏหมาย ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการปลูกสร้างอาคารให้ยึดถือตามเทศบัญญัติท้องถิ่นที่ได้กำหนดไว้ ในปัจจุบันได้ใช้ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2479 โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหลักในการกำหนดเทศบัญญัติท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง ซึ่งท้องถิ่นใดที่ยังไม่มีเทศบัญญัติในการก่อสร้างเป็นของตนเองก็ให้ปฏิบัติตามข้อความในข้อบัญญัตินี้เป็นหลัก แต่ท้องถิ่นใดที่สามารถออกเทศบัญญัติเองได้ก็ให้ปฏิบัติตามเทศบัญญัตินั้น สำหรับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ที่จะขอนำมาเป็นตัวอย่างเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขาภิบาลอาคารในหมวดที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, และ 8 โดยจะขอสรุปดังเนื้อความต่อไปนี้

หมวด 1 วิเคราะห์ศัพท์ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความหมาย ลักษณะ รูปแบบ รายละเอียดตลอดจนประเภทการใช้งานอาคารในด้านต่าง ๆ ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงชื่อของส่วนต่างๆที่สำคัญของอาคารด้วย

หมวด 2 การอนุญาตปลูกสร้าง มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำเนินการเพื่อการขออนุญาตต่อหน่วยงานของทางราชการในการปลูกสร้างอาคารใดๆ ให้เกิดความถูกต้องตามหลักวิชาการและหลักนิติศาสตร์

หมวด 3 แผนผังแบบต่าง ๆ และรายการคำนวณ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับลักษณะของแผนผังก่อสร้างอาคารที่ถูกต้อง เช่น ขนาด มาตราส่วน และรายการคำนวณ

หมวด 4 ลักษณะอาคารต่าง ๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของอาคารชนิดต่าง ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร

หมวด 5 ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการกำหนดขนาด ลักษณะของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของตัวอาคาร เช่น ประตู หน้าต่าง ฯลฯ ที่เหมาะสม

หมวด 7 แนวอาคารและระยะต่าง ๆ มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับข้อบังคับในการกำหนดขนาดพื้นที่ การใช้ประโยชน์ ส่วนประกอบอื่นๆ นอกเหนือจากอาคาร รวมถึงลักษณะที่ตั้งเฉพาะของอาคารประกอบบางชนิด

หมวด 8 การสุขาภิบาล มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการจัดการห้องน้ำ ห้องส้วม น้ำเสีย จากตัวอาคารให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาล

สำหรับเนื้อหาโดยละเอียดจะขอนำเอาข้อความในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 มานำเสนอไว้ดังต่อไปนี้











ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช 2479 โดยอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกรุงเทพฯมหานคร พ.ศ. 2518 กรุงเทพฯมหานครโดยได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพฯมหานคร จึงตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522

ข้อ 2 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกรุงเทพกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิก

(1) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2483

(2) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2488

(3) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2491

(4) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2504

(5) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2505

(7) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2508

(8) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2509

(9) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2510

(10) เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 10) พุทธศักราช 2511

(11) เทศบัญญัติของเทศบาลนครธนบุรี เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2489

(12) เทศบัญญัติของเทศบาลนครธนบุรี เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2503

บรรดาเทศบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอื่น ๆ ในส่วนที่ได้บัญญัติไว้แล้วในข้อบัญญัติหรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน

หมวด 1

วิเคราะห์ศัพท์

ข้อ 4 ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

(1) “อาคารที่พักอาศัย” หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง แพ ซึ่งโดยปกติบุคคลอาศัยอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน

(2) “ห้องแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดต่อกันเป็นแถวยาวตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและ ประกอบด้วยวัสดุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่

(3) “ตึกแถว” หมายความว่า อาคารที่ก่อสร้างติดกันเป็นแถวยาวตั้งแต่ 2 คูหาขึ้นไป มีผนังร่วมแบ่งอาคารเป็นคูหาและประกอบด้วยวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

(4) “อาคารพาณิชย์” หมายความว่า อาคารที่ใช้ประโยชน์แห่งการค้าหรือโรงงานที่ใช้เครื่องจักรซึ่งเทียบได้ไม่เกิน 5 แรงม้า หรืออาคารที่ก่อสร้างห่างแนวทางสาธารณะหรือทางซึ่งมีสภาพเป็นสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นอาคารเพื่อประโยชน์แห่งการค้าได้

(5) “โรงงานอุตสาหกรรม” หมายความว่า โรงงานสำหรับประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยใช้เครื่องจักรซึ่งเทียบได้เกิน 5 แรงม้าเป็นปัจจัย

(6) “อาคารสาธารณะ” หมายความว่า สถานที่ซึ่งกำหนดให้เป็นที่ชุมชนได้ทั่วไป เช่น โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม โรงเรียน ภัตตาคาร หรือ โรงพยาบาล เป็นต้น

(7) “อาคารเลี้ยงสัตว์” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างเพื่อให้สัตว์พาหนะพักอาศัย เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น

(8) “อาคารชั่วคราว” หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีกำหนดเวลาที่จะรื้อถอน

(9) “อาคารพิเศษ” หมายความถึงอาคารดังต่อไปนี้

(ก) โรงมหรสพ อัฒจันทร์ หรือหอประชุม

(ข) อู่เรือ คานเรือ หรือท่าเรือสำหรับเรือขนาดใหญ่เกิน 100 ตัน และโป๊ะจอดเรือ

(ค) อาคารสูงเกิน 15 เมตร หรือสะพานช่วงหนึ่งยาวเกิน 10 เมตร

(10) “อาคารแผงลอย” หมายความว่า โต๊ะ แท่น แคร่ มีหลังคาตั้งอยู่บนพื้นดิน สามารถเคลื่อนที่ได้ ขนาดไม่เกิน 4 เมตร ไม่มีฝาหรือผนังซึ่งใช้ประโยชน์แห่งการค้าย่อย โดยมีกำหนดเวลาเข้าใช้สอยและเลิกเป็นประจำวัน และไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัย

(11) “ผู้ออกแบบ” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการคำนวณเขียนแบบ และกำหนดรายการเพื่อใช้ในงานก่อสร้าง

(12) “ผู้ควบคุมงาน” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างให้ผู้ได้รับอนุญาต

(13) “แผนผัง” หมายความว่า แผนที่แสดงลักษณะที่ดินบริเวณปลูกสร้างอาคารและที่ดินติดต่อ

(14) “แบบก่อสร้าง” หมายความว่า แบบของตัวอาคารเพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกสร้าง

(15) “รายการก่อสร้าง” หมายความว่า ข้อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวแก่การก่อสร้างตามแบบก่อสร้าง

(16) “รายการคำนวณ” หมายความว่า รายละเอียดแสดงวิธีการคิดกำลังต้านทานของส่วนอาคารตามที่ปรากฏในแบบก่อสร้าง

(17) “แบบสังเขป” หมายความว่า แบบชนิดที่เขียนไว้พอเป็นประมาณ

(18) “แผนอาคาร” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนราบของอาคาร

(19) “รูปด้าน” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนตั้งภายนอกของอาคาร

(20) “รูปตัด” หมายความว่า แบบแสดงลักษณะส่วนตั้งภายในของอาคาร

(21) “พื้นอาคาร” หมายความว่า เนื้อที่ส่วนราบของอาคารซึ่งอยู่ภายในขอบเขตของคานหรือรอดที่รับพื้นหรือภายในพื้นนั้น หรือภายในขอบเขตของเสาอาคาร

(22) “ฝา” หมายความว่า ส่วนก่อสร้างในด้านตั้งซึ่งกั้นแบ่งพื้นอาคารให้เป็นห้อง ๆ

(23) “ผนัง” หมายความว่า ส่วนก่อสร้างในด้านตั้งซึ่งกั้นด้านนอกของอาคารให้เป็นหลังหรือหน่วยจากกัน

(24) “ผนังกันไฟ” หมายความว่า ผนังซึ่งทำด้วยวัสดุทนไฟและไม่มีช่องให้ไฟผ่านได้

(25) “หลังคา” หมายความว่า สิ่งปกคลุมส่วนบนของอาคารสำหรับบังแดดและฝนรวมทั้งสิ่งใดซึ่งประกอบขึ้นเพื่อยึดเหนี่ยวสิ่งปกคลุมนี้ให้มั่นคงแข็งแรง

(26) “ฐานราก” หมายความว่า ส่วนรับน้ำหนักของอาคารนับจากใต้พื่นชั้นล่างลงไปจนถึงที่ฝังอยู่ในดิน

(27) “เสาเข็ม” หมายความว่า เสาที่ตอกฝังลงไปในดิน เพื่อช่วยรับน้ำหนักบรรทุกของอาคาร

(28) “ช่วงบันได” หมายความว่า ระยะตั้งบันไดซึ่งมีขั้นต่อกันโดยตลอด

(29) “ลูกตั้ง” หมายความว่า ระยะตั้งของขั้นบันได

(30) “ลูกนอน” หมายความว่า ระยะราบของขั้นบันได

(31) “บ่อตรวจระบายน้ำ” หมายความว่า ส่วนที่เปิดได้ของท่อระบายน้ำ ซึ่งกำหนดไว้ใช้ในการชำระล้างท่อ

(32) “บ่อพักขยะ” หมายความว่า ส่วนที่เปิดได้ของทางระบายน้ำที่กำหนดไว้เพื่อกั้นขยะไม่ให้ระบายไปกันน้ำ

(33) “เครื่องสุขภัณฑ์” หมายความว่า เครื่องประกอบอันใช้ประโยชน์ในการสุขาภิบาลอาคาร

(34) “บ่ออาจม” หมายความว่า บ่อพักอุจจาระหรือสิ่งโสโครกอันไม่มีวิธีการระบายออกไปตามสภาพปกติ

(35) “ลิฟท์” หมายความว่า เครื่องใช้สำหรับบรรทุกบุคคล หรือของขึ้นลงระหว่างชั้นต่าง ๆ ของอาคาร

(36) “วัตถุทนไฟ” หมายความว่า วัตถุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง

(37) “วัตถุถาวร” หมายความว่า วัตถุทนไฟซึ่งตามปกติไม่แปลงสภาพได้ง่ายโดยน้ำ ไฟ หรือดินฟ้าอากาศ

(38) “เหล็กหล่อ” หมายความว่า เหล็กที่ถลุงจากแร่เหล็กอันจะใช้เชื่อมหรือชุบไม่ได้ผล

(39) “เหล็กล้วน” หมายความว่า เหล็กที่มีธาตุอื่นเจือปนน้อยที่สุด และจะใช้ชุบไม่ได้ผล

(40) “เหล็กถ่าน” หมายความว่า เหล็กที่มีธาตุถ่านผสมทำให้เหนียวกว่าปกติอันจะใช้ชุบได้ผล

(41) “เหล็กเสริม” หมายความว่า เหล็กถ่านที่ใช้สำหรับฝังในเนื้อคอนกรีตเพื่อเสริมกำลังขึ้น

(42) “แรงประลัย” หมายความว่า แรงขนาดที่จะทำให้วัตถุนั้นแตกแยกออกจากกันเป็นส่วน

(43) “แรงดึง” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุแยกออกห่างจากกัน

(44) “แรงอัด” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุทลายเข้าหากัน

(45) “แรงเฉือน” หมายความว่า แรงที่จะทำให้วัตถุขาดออกจากกันดุจกรรไกรตัด

(46) “ส่วนปลอดภัย” หมายความว่า อัตราส่วนที่ใช้ทอนแรงประลัยลงให้ถึงขนาดที่จะใช้ได้ปลอดภัย

(47) “น้ำหนักบรรทุก” หมายความว่า น้ำหนักที่กำหนดว่าจะเพิ่มขึ้นบนอาคารนอกจากน้ำหนักของตัวอาคารนั้นเอง

(48) “ส่วนลาด” หมายความว่า ส่วนระยะตั้งเทียบกับส่วนระยะยาวของฐานตามแนวราบ

(49) “ทางสาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินที่ประชาชนมีสิทธิใช้เป็นทางคมนาคมได้

(50) “ถนนสาธารณะ” หมายความว่า ทางสาธารณะที่ยวดยานผ่านได้

(51) “ระดับถนนสาธารณะ” หมายความว่า ความสูงของยอดถนนสาธารณะใกล้ชิดกับที่ดินที่ปลูกสร้างเทียบกับระดับน้ำทะเล

(52) “ทางระบายน้ำสาธารณะ” หมายความว่า ช่องน้ำไหลตามทางสาธารณะและถนนสาธารณะ ซึ่งกำหนดไว้ให้ระบายออกจากอาคารได้

(53) “แนวถนน” หมายความว่า เขตถนนและทางเดินที่กำหนดไว้ให้เป็นทางสาธารณะ

(54) “ทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ” หมายความว่า ที่ดินที่เจ้าของยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางคมนาคมได้

(55) “ทางน้ำสาธารณะ” หมายความว่า ทางน้ำที่ประชาชนมีสิทธิใช้เป็นทางคมนาคมได้

(56) “แนวทางสาธารณะ” หมายความว่า แนวเขตที่กำหนดให้เป็นทางสาธารณะทั้งทางบกและทางน้ำ

(57) “แนวทางที่มีสภาพเป็นสาธารณะ” หมายความว่า แนวเขตที่เจ้าของที่ดินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางคมนาคมได้

หมวดที่ 2
การอนุญาตปลูกสร้าง

ข้อ 5 บุคคลใดจะปลูกสร้างอาคารให้ยื่อคำร้องขอรับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ผู้ขอรับอนุญาตต้องเป็นเจ้าของอาคารที่จะปลูกสร้าง หรือเป็นตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย

ข้อ 6 คำขอรับอนุญาตให้ทำตามแบบ “อ.1” ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมด้วยแผนผังแบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้างอย่างละสี่ชุด

ข้อ 7 การขอรับอนุญาตชั่วคราวนอกจากจะแสดงความประสงค์ในคำขอให้ผู้ขอกำหนดขั้นของงานและระยะเวลาแล้วเสร็จในแผนผังแบบก่อสร่ง และรายการก่อสร้างไว้ให้ชัดเจน

ข้อ 8 การอนุญาตให้ปลูกสร้างให้ใช้หนังสือตามแบบ “อ. 2” ท้ายข้อบัญญัตินี้

ข้อ 9 คำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนผังแบบก่อสร้างหรือรายการก่อสร้าง ให้ใช้หนังสือตามแบบ “อ. 3” ท้ายข้อบัญญัตินี้ และจัดส่งให้ผู้ขอรับอนุญาตโดยให้ลงนามรับเป็นหลักฐาน ถ้าส่งไม่ได้ด้วยประการใดๆ ให้ปิดประกาศไว้ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หรือ ณ ที่ทำการเขตท้องที่ที่ยื่นขอรับอนุญาต

ข้อ 10 การก่อสร้างอาคารตามมาตร 14 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ให้หน่วยงานเจ้าของอาคารหรือเจ้าอาวาส แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทราบก่อนทำการก่อสร้างไม่น้อยกว่าสามสิบวัน พร้อมด้วยแผนผังและแบบก่อสร้างสองชุด

ถ้าผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีข้อแก้ไข ให้มีหนังสือแจ้งเหตุผลให้หน่วยงานเจ้าของอาคารหรือเจ้าอาวาสทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง







หมวด 3

แผนผังแบบต่าง ๆ รายการก่อสร้าง และรายการคำนวณ
ข้อ 11 แผนผังให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 500 แสดงขอบเขตที่ดินบริเวณติดต่อและขอบนอกของอาคารที่มีอยู่แล้วกับอาคารที่ขอรับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ด้วยลักษณะเครื่องหมายต่างกันให้ชัดเจนพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศอันถูกต้อง

ข้อ 12 ในแผนผังให้แสดงทางสาธารณะที่ติดต่อกับที่ดินปลูกสร้างและทางระบายน้ำออกจากอาคารที่จะปลูกสร้างจนถึงทางระบายน้ำสาธารณะและตามแนวทางระบายน้ำนั้นให้แสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลพร้อมด้วยส่วนลาด

ข้อ 13 ในแผนผังให้แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับถนนสาธารณะหรือระดับพื้นดินที่ปลูกสร้าง

ข้อ 14 แบบก่อสร้างให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 แสดงแผนฐานรากอาคาร แผนพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคาร รูปด้าน รูปตัดขวาง และรูปตัดทางยาวไม่ต่ำกว่าสองด้าน รูปรายละเอียดส่วนสำคัญ ขนาด และเครื่องหมายแสดงวัตถุก่อสร้างอาคารชัดเจนพอที่จะติดรายการและสอบรายการคำนวณได้

แบบก่อสร้างแสดงรูปด้านและแผนพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคารโรงงานอุตสาหกรรม จะใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 200 ก็ได้

ข้อ 15 แบบก่อสร้างอาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ให้แนบรายการคำนวณกำลังของส่วนสำคัญต่าง ๆ ของอาคารไว้โดยครบถ้วน

แบบก่อสร้างอาคารพิเศษนอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีข้อกำหนดควบคุมโดยเฉพาะแล้วให้แสดงรายการคำนวณโดยละเอียด

ข้อ 16 แบบก่อสร้างสำหรับต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้ว ให้แสดงแบบของส่วนเก่าและส่วนที่จะต่อเติมหรือดัดแปลงให้เห็นชัดเจนต่างกัน

ข้อ 17 อาคารชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารถาวรหรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นจะเสนอแบบก่อสร้างเป็นแบบสังเขปก็ได้ อาคารประเภทนี้ผู้ได้รับอนุญาตต้องรื้อถอนไปให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดอายุหนังสืออนุญาตนั้น ถ้ายังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ต่อไป ให้ต่ออายุได้เป็นคราว ๆ ไม่เกิดคราวละหกเดือน

ข้อ 18 รายการก่อสร้างให้แสดงลักษณะของวัตถุก่อสร้างอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารโดยละเอียดชัดเจน

ข้อ 19 มาตราส่วน ขนาด ระยะ น้ำหนักและหน่วยการคำนวณต่าง ๆ ของแผนผังแบบก่อสร้าง รายการก่อสร้าง หรือรายการคำนวณนั้นให้ใช้มาตราเมตริก

ข้อ 20 แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้าง ให้ลงลายมือชื่อและแจ้งสำนักงานหรือที่อยู่ของผู้กำหนดแผนผัง ออกแบบก่อสร้าง ทำรายการก่อสร้าง และคิดรายการคำนวณไว้ด้วย พร้อมคุณวุฒิและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

หมวด 4

ลักษณะอาคารต่าง ๆ

ข้อ 21 อาคารที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร หรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ครัวไฟต้องอยู่นอกอาคารเป็นสัดส่วนต่างหาก ถ้าจะรวมครัวไฟไว้ในอาคารด้วยก็ได้ แต่ต้องลาดพื้น บุผนังฝา เพดานครัวไฟด้วยวัตถุถาวรหรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

ข้อ 22 อาคารที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวร หรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรือก่อด้วยอิฐไม่เสริมเหล็กให้ปลูกสร้างได้ไม่เกินสองชั้น

ข้อ 23 อาคารสองชั้นที่มิได้ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรหรือวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ พื้นชั้นล่างของอาคารนั้นจะสูงกว่าระดับพื้นดินเกิน 1.00 เมตรไม่ได้

ข้อ 24 โรงมหรสพ หอประชุม หรืออาคารที่ปลูกสร้างเกินสองชั้น ให้ทำด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่

โรงมหรสพหรือหอประชุมที่ปลูกสร้างเกินหนึ่งชั้น หรืออาคารที่ปลูกสร้างเกินสามชั้นนอกจากจะมีบันไดตามปกติแล้ว ต้องมีทางลงหนีไฟโดยเฉพาะอย่างน้อยอีกหนึ่งทางตามลักษณะแบบของอาคารที่จะกำหนดให้

ข้อ 25 ห้องแถวและตึกแถว ต้องมีความกว้างจากเส้นกึ่งกลางของผนังด้านหนึ่ง ไปยังเส้นกึ่งกลางของผนังอีกด้านหนึ่งไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ความลึกของห้องต้องไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร และต้อมีประตูหรือทางให้คนเข้าออกได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในกรณีที่เป็นตึกแถวผนังต้องทำด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟ ถ้าก่อด้วยอิฐหรือคอนกรีตไม่เสริมเหล็กหรือวัตถุทนไฟอย่างอื่น ผนังนี้ต้องหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

ห้องแถวและตึกแถวซึ่งปลูกสร้างติดต่อกันเป็นแนวยาว ให้มีผนังกันไฟหนาไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร ตั้งแต่ระดับพื้นดินขึ้นไปสูงเหนือหลังคาอาคารไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ทุกระยะไม่เกินห้าห้อง และในกรณีที่ห้องแถวหรือตึกแถวดังกล่าวปลูกสร้างในแนวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างเดียวกันหรือต่างโครงสร้างกัน และไม่ว่าจะเป็นของเจ้าของเดียวกันหรือไม่ ให้เว้นระยะห่างระหว่างห้องไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร โดยไม่มีสิ่งกีดขวางและปกคลุมทุกระยะยี่สิบห้องที่ติดกัน

ตึกแถวที่สูงสามชั้นต้องมีพื้นชั้นสองหรือชั้นสามสร้างด้วยวัตถุทนไฟชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นอย่างน้อย ถ้าสูงเกินสามชั้นต้องสร้างพื้นด้วยวัตถุทนไฟทุกชั้น

ข้อ 26 อาคารทุกชนิดจะปลูกสร้างบนที่ดินซึ่งถมด้วยขยะมูลฝอยมิได้ เว้นแต่ขยะมูลฝอยนั้นจะได้กลายสภาพเป็นดินแล้ว หรือได้ทับด้วยดินกระทุ้งแน่นไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร และมีลักษณะไม่เป็นอันตรายแก่อนามัยและมั่นคงแข็งแรง

ข้อ 27 รั้วหรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงเหนือระดับถนนสาธารณะไม่เกิน 3.00 เมตร และต้องให้คงสภาพได้ดิ่งอยู่เสมอไป ประตูรั้วหรือกำแพงซึ่งเป็นทางรถเข้าออก ถ้ามีคานบนไห้วางคานนั้นสูงจากระดับถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

ข้อ 28 ป้ายโฆษณาที่เป็นอาคารต้องติดตั้งโดยไม่บังช่องลมหน้าต่างหรือประตู และต้องติดตั้งด้วยวัตถุอันถาวรและมั่นคงแข็งแรง

ข้อ 29 สะพานสำหรับรถข้ามได้ต้องมีช่องกว้างเป็นทางจราจรไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร และลาดขึ้นลงไม่ชันกว่าร้อยละแปด ถ้ามีหลังคาคลุมต้องวางคานบนสูงไม่ต่ำกว่า 3.00 เมตรจากระดับพื้นสะพาน

ข้อ 30 การปลูกสร้างโดยต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารดังต่อไปนี้จะต้องได้รับอนุญาตก่อน คือ

(1) เพิ่มชั้นหรือขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดรวมตั้งแต่หกตารางเมตรขึ้นไป

(2) เปลี่ยนหลังคาหรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่หลังคาเดิมเกินร้อยละสิบ

(3) เพิ่มหรือลดจำนวนเสาหรือคาน

(4) เปลี่ยนเสา คาน บันได ผนัง หรือเพิ่มผนังหรือส่วนประกอบอื่น อันเป็นการเพิ่มน้ำหนักแก่อาคารเดิมเกินร้อยละสิบ

หมวด 5

ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร
ข้อ 31 ห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัยในอาคารให้มีส่วนกว้างหรือยาวไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร กับรวมเนื้อที่พื้นทั้งหมดไม่น้อยกว่าเก้าตารางเมตร

ข้อ 32 ห้องนอนหรือห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัยในอาคาร ให้มีช่องประตูและหน้าต่างเป็นเนื้อที่รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ของห้องนั้น โดยไม่รวมนับส่วนประตูหรือหน้าต่างอันติดต่อกับห้องอื่น

ข้อ 33 ช่องทางเดินภายในอาคารสำหรับบุคคลใช้สอยหรือพักอาศัย ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร กันมิให้มีเสากีดกั้นส่วนหนึ่งส่วนใดแคบกว่ากำหนดนั้น ทั้งให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัด

ข้อ 34 ยอดหน้าต่างและประตูในอาคาร ให้ทำสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร และบุคคลซึ่งอยู่ในห้องต้องสามารถเปิดประตูหน้าต่างและออกจากห้องนั้นได้โดยสะดวก

ข้อ 35 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงเพดาน ยอดฝา หรือยอดผนังของอาคารตอนต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตารางต่อไปนี้

ประเภทการใช้อาคาร
มีระบบปรับอากาศ
ไม่มีระบบปรับอากาศ

1. พักอาศัย ห้องเรียนนักเรียนอนุบาล
2.40 เมตร
2.40 เมตร

2. สำนักงาน ห้องพักในโรงแรม

ห้องคนไข้พิเศษ
2.40 เมตร
3.00 เมตร

3. ห้อเรียน ห้องอาหาร ห้องโถง ภัตตาคาร
2.70 เมตร
3.00 เมตร

4. ห้องขายสินค้า เก็บสินค้า โรงงาน

ห้องประชุม ห้องคนไข้รวม โรงครัว

และอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
3.00 เมตร
3.50 เมตร

5. ห้องแถว ตึกแถว



5.1 ชั้นล่าง
3.50 เมตร
3.50 เมตร

5.2 ตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไป



5.2.1 ห้องเก็บสินค้า หรือประกอบสินค้า
3.00 เมตร
3.50 เมตร

5.2.2 ห้องพักอาศัย
2.40 เมตร
3.00 เมตร

6. ครัวไฟสำหรับอาคารพักอาศัย
2.40 เมตร
2.40 เมตร

7. อาคารเลี้ยงสัตว์ คอกสัตว์

ซึ่งมีคนพักอาศัยอยู่ข้างบน
3.50 เมตร
3.50 เมตร

8. ห้องน้ำ ห้องส้วม ระเบียง

ช่องทางเดินในอาคาร
2.00 เมตร
2.00 เมตร



ความสูงสุทธิของอาคารส่วนที่ใช้จอดรถยนต์ หมายถึง ความสูงจากพื้นถึงใต้คานหรือท่อหรือสิ่งคล้ายคลึงกันต้องไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร

สำหรับห้องที่มีการสร้างพื้นระหว่างชั้นของอาคารต้องมีความสูงจากระดับบนของพื้นห้องถึงระดับต่ำสุดของเพดานไม่ต่ำกว่า 5.00 เมตร โดยพื้นระหว่างชั้นของอาคารดังกล่าวต้องมีความสูงจากจากระดับของพื้นห้องไม่ต่ำกว่า 2.25 เมตร และต้องมีเนื้อที่ไม่เกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้น ๆ ห้ามกั้นริมของพื้นระหว่างชั้นสูงเกิน 90 เซนติเมตร เว้นแต่กรณีที่มีการจัดระบบการปรับอากาศ

ข้อ 36 พื้นชั้นล้างของอาคารที่พักอาศัยต้องมีระดับอยู่เหนือพื้นดินปลูกสร้างไม่ต่ำกว่า 75 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นพื้นซีเมนต์ อิฐ หิน หรือวัตถุแข็งอย่างอื่นที่สร้างตัน ต้องมีระดับอยู่เหนือพื้นดินปลูกสร้างอาคารไม่ต่ำกว่า 10 เซนติเมตร และถ้าเป็นอาคารตั้งอยู่ริมถนนสาธารณะ ความสูงจะต้องวัดจากระดับทางสาธารณะนั้น

ข้อ 37 ห้ามมิให้มีประตูหน้าต่างหรือช่องลมจากครัวไฟเปิดเข้าสู่ห้องส้วมหรือห้องนอนของอาคารได้โดยตรง

ข้อ 38 เตาไฟสำหรับการอุตสาหกรรมหรือการพาณิชย์ ต้องมีผนังเตาก่อด้วยอิฐดินเผาหรืออิฐทนไฟกำบังความร้อนมิให้เกิดอันตรายไฟไหม้ส่วนอาคารที่ต่อเนื่องกับเตา และต้องตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบด้วยวัตถุทนไฟ ทั้งนี้เตาต้องตั้งห่างจากผนังอาคาร หรือสิ่งที่เป็นเชื้อไฟรอบรัศมีไม่ต่ำกว่า 4.00 เมตร โครงหลังคา วัตถุมุงหลังคา ปล่องระบายควันไฟ และเพดาน ส่วนประกอบเพดาน ถ้ามีต้องเป็นวัตถุทนไฟ และต้องทำปล่อยระบายควันไฟมิให้ฝาผนังหรือหลังคารับความร้อนจัด โดยความสูงของปล่องต้องสูงกว่าหลังคาอาคารข้างเคียงภายในระยะโดยรอบ 25.00 เมตร ไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างของปล่องโดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร

ข้อ 39 ประตูสำหรับอาคารสาธารณะ โรงงานอุตสาหกรรมหรืออาคารพาณิชย์ ถ้ามีธรณีประตูต้องเรียบเสมอกับพื้น

ข้อ 40 บันไดสำหรับอาคารที่พักอาศัยต้องทำขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร ช่องหนึ่งสูงไม่เกิน 3.00 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร

ข้อ 41 บันไดสำหรับอาคารสาธารณะ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารพาณิชย์ ต้องทำขนาดไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 4.00 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 19 เซนติเมตร และลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 24 เซนติเมตร

ข้อ 42 บันได้ซึ่งมีช่วงระยะสูงกว่าที่กำหนดไว้ ให้ทำที่พักมีขนาดกว้างยาวไม่น้อยกว่าส่วนกว้างของบันไดนั้น ถ้าตอนใดต้องทำเลี้ยวมีบันไดเวียนส่วนแคบที่สุดของลูกนอนต้องกว้างไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร

อาคารที่มีบันไดติดต่อกันตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไป พื้น ประตู หน้าต่าง วงกบ ของห้องบันได บันได และสิ่งก่อสร้างโดยรอบบันได ต้องก่อสร้างด้วยวัตถุทนไฟ

หน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ หรือช่องแสงสว่างสว่างซึ่งทำติดต่อกันสูงเกิน 10.00 เมตร ต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟ

ข้อ 43 ลิฟท์สำหรับบุคคลใช้สอย ให้ทำได้แต่ในอาคารซึ่งประกอบด้วยวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ และโดยเฉพาะส่วนต่อเนื่องกับลิฟท์นั้นต้องเป็นวัตถุทนไฟทั้งสิ้น ส่วนปลอดภัยของลิฟท์ต้องมีอยู่ไม่น้อยกว่าสี่เท่าของน้ำหนักที่กำหนดให้

ข้อ 44 วัตถุมุงหลังคาให้ทำด้วยวัตถุทนไฟ เว้นแต่อาคารซึ่งตั้งอยู่ห่างอาคารอื่น ซึ่งมุงด้วยวัตถุทนไฟ หรือห่างเขตที่ดินหรือทางสาธารณะเกิน 40.00 เมตร จะใช้วัตถุอื่นก็ได้

ข้อ 45 ส่วนฐานรากของอาคารต้องทำเป็นลักษณะถาวรมั่นคงพอที่จะรับน้ำหนักของอาคารและน้ำหนักที่จะใช้บรรทุกได้โดยปลอดภัย ในกรณีที่เห็นว่าการกำหนดฐานรากยังไม่มั่นคงเพียงพอให้เรียกรายการคำนวณจากเจ้าของอาคารเพื่อประกอบการพิจารณาได้

ข้อ 46 อาคารที่ปลูกสร้างสูงเกินเจ็ดชั้น ให้มีพื้นที่ดาดฟ้าเพื่อใช้เป็นทางหนีไฟทางอากาศตามสภาพที่เหมาะสม

หมวด 7

แนวอาคารและระยะต่าง ๆ

ข้อ 69 ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างอาคารหรือส่วนของอาคารยื่นออกมาในหรือเหนือทางหรือที่ดินสาธารณะ

ข้อ 70 ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ได้ร่นแนวห่างจากเขตทางสาธารณะไม่เกิน 2.00 เมตร ห้องกันสาดของพื้นชั้นแรกต้องสูงจากระดับทางเท้าที่กำหนด 3.25 ระเบียงด้านหน้าอาคารมีได้ตั้งแต่ระดับพื้นชั้นที่สามขึ้นไป และยื่นได้ไม่เกินส่วนที่ยื่นสถาปัตยกรรม

ห้ามระบายน้ำจากกันสาดด้านหน้าอาคารและจากหลังคา ลงในที่สาธารณะหรือในที่ดินที่ได้ร่นแนวอาคารจากเขตทางสาธารณะโดยตรง แต่ให้มีรางระบายหรือท่อระบายรับน้ำจากกันสาดหรือหลังคาให้เพียงพอลงไปถึงพื้นดินแล้วระบายลงสู่ท่อสาธารณะหรือบ่อพัก

อาคารตามวรรคที่หนึ่งได้ร่นแนวห่างจากเขตทางสาธารณะเกิน 2.00 เมตร หากมีกันสาดระเบียง หรือส่วนยื่นสถาปัตยกรรมใดยื่นออกมาในระยะ 2.00 เมตร จากเขตทางสาธารณะต้องปฏิบัติตามสองวรรคแรกด้วย

ข้อ 71 ห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารสูงกว่าระดับพื้นดินเกินสองเท่าของระยะจากผนังด้านหน้าของอาคารจดแนวถนนฟากตรงข้าม

ข้อ 72 อาคารปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างไม่ถึง 6.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 3.00 เมตร

ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6.00 เมตร

ตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่ 10.00 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของแนวถนน สำหรับริมทางสาธารณะที่กว้างกว่า 20.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากแนวถนนอย่างน้อย 2.00 เมตร

ข้อ 73 สำหรับอาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสองสายขนาบอยู่ และถนนสองสายนั้นขนาดไม่เท่ากัน เมื่อส่วนกว้างของอาคารนั้นไม่เกิน 15 เมตร อนุญาตให้ปลูกสร้างสูงได้สองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่าได้ทั้งหลัง

สำหรับอาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสองสายขนาดไม่เท่ากัน อนุญาตให้ปลูกสร้างได้สูงสองเท่าของแนวถนนที่กว้างกว่า ลึกไปตามถนนที่แคบกว่าไม่เกิน 15.00 เมตร อาคารส่วนที่ลึกเกินนั้นให้ถือเกณฑ์ตามข้อ 71

ข้อ 74 อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชนให้ผนังด้านที่มีหน้าต่าง ประตู หรือช่องระบายอากาศอยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร สำหรับชั้นสามขึ้นไประยะไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

สำหรับอาคารที่มีระเบียงด้านชิดที่ดินเอกชน ริมระเบียงต้องห่างจากเขตที่ดินตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 75 อาคารที่ปลูกสร้างชิดเขตที่ดินต่างผู้ครอบครอง อนุญาตให้เฉพาะฝาหรือผนังทึบ ไม่มีประตูหน้าต่างและช่องระบายอากาศอยู่ชิดเขตได้พอดี แต่มิให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารรุกล้ำเขตที่ดินข้างเคียง ตึกแถวที่มีดาดฟ้าสร้างชิดเขต ให้สร้างผนังทึบด้านชิดเขตสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร

ในกรณีชายคาอยู่ชิดเขตที่ดินข้างเคียงต้องมีการป้องกันน้ำจากชายคาไม่ให้ไหลตกลงในที่ดินนั้นด้วย

ข้อ 76 อาคารประเภทต่าง ๆ จะต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าส่วนที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

(1) อาคารที่พักอาศัยแต่ละหลังให้มีที่ว่างอยู่ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่

(2) อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัย ให้มีที่ว่างอยู่ใน 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ แต่ถ้าใช้เป็นที่พักอาศัยด้วยให้มีที่ว่างอยู่ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่

(3) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะสูงไม่เกินสามชั้น และไม่อยู่ริมทางสาธารณะต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร ถ้าสูงเกินสามชั้นต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร

ในกรณีที่อาคารหันหน้าเข้าหากันให้มีที่ว่างร่วมกันได้

ในกรณีที่หันหน้าตามกัน ให้มีที่ว่างด้านหน้าของอาคารแถวหลังเป็นทางเดิน หลังอาคารของอาคารแถวหน้าด้วย

(4) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะจะต้องมีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร โดยให้แสดงเขตดังกล่าวให้ปรากฏด้วย

ในกรณีที่อาคารหันหลังเข้าหากัน จะต้องเว้นทางเดินด้านหลังไม่น้อยกว่า 4.00 เมตร

(5) ห้องแถว ตึกแถว และอาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่มุมถนนสองสายตัดกัน และมีทางออกสู่ด้านหน้าทั้งสองสายในระยะไม่เกิน 15 เมตร จากมุมถนนสองสาย หรือตั้งอยู่ริมทางสาธารณะสองสายขนาบอยู่ ทางสายใดสายหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ทางขนาบกั้นนั้นห่างจากกันไม่เกิน 15.00 เมตร และได้ร่นแนวอาคารตามข้อ 72 จะไม่มีที่ว่างหรือทางเดินหลังอาคารก็ได้

ข้อ 77 ห้องแถว ตึกแถว และอาคารพาณิชย์ ต้องมีช่องหน้าต่างหรือประตูเปิดสู่ภายนอกได้ไม่น้อยกว่า 20 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่อาคารทุกชั้น

ช่องหน้าต่างหรือประตูเปิดสู่ภายนอก หมายถึง ช่องเปิดขอผนังด้านทางสาธารณะหรือด้านที่ห่างที่ดินเอกชนสำหรับอาคารชั้นสองลงมาไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร สำหรับชั้นสามขึ้นไปไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร

ข้อ 78 อาคารซึ่งใช้เป็นสถานที่บริการอัดฉีดน้ำมันยานยนต์ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบ ข้อบังคับนั้น ๆ แล้ว ต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร และมีการป้องกันมิให้ละอองน้ำมันเข้าไปในเขตที่ดินข้างเคียงได้ด้วย

อาคารแผงลอย ต้องมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

ข้อ 79 อาคารที่ก่อสร้างเพื่อกระทำการหรือใช้ประโยชน์เพื่อกิจการดังกล่าว ในข้อนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น