วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ


43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ
สุขภาพ+ภาษาอังกฤษ Add comments


[ state.md.us ]
ภาพประกอบ > Thank [ state.md.us ]

ศาสตราจารย์ริ ชาร์ด ไวส์แมน ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ‘Think A Little Change A Lot’ = “คิดเล็กๆ (ที่ทำให้) เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” แนะนำวิธีทำตัวให้อายุยืนอย่างเป็นสุข ตีพิมพ์สรุปย่อใน ‘MailOnline‘ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

(1). Find Happiness = แสวงหาความสุข

(1.1). keep a diary = เขียนไดอารี
• แทน ที่จะบ่นไปเรื่อยๆ จนคนรอบข้างหนีหายไปหมด ให้ลองเขียนไดอารี หรือบันทึกความจำ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทั้งกายและใจ, ถ้ากลัวความลับจะรั่วไหลละก็… เขียนแล้วฉีก แช่น้ำ แล้วเหยียบซ้ำเสียเลยก็ไม่แปลกอะไร
(1.2). smile, sit up and act happy = ยิ้ม นั่งลง แล้วทำตัวให้มีความสุข
• ถึงใจจะทุกข์ แต่ถ้าอยากให้มีความสุขก็ต้องลงมือทำดู เริ่มจากยิ้ม 2-3 วินาที นั่งตัวเกือบตรง ทำตัวให้ร่าเริง,
• อย่าทำตัว “ไหลห่อ-หลังงุ้ม-กุม…-คอตก (โปรดเติมคำในช่องว่าง + ห้ามคิดมาก)” แล้วความสุขมันจะค่อยๆ ซึมซาบเข้ามาเอง
(1.3). buy experiences, not things = ซื้อประสบการณ์, อย่าซื้อของ
• การไปช็อปปิ้งทำลายความเศร้า สร้อย หงอย เหงาดูเหมือนดี แต่ผลการศึกษาพบว่า คนเราจะรู้สึกดีขึ้นกว่านั้นมาก… ถ้าหยุดช็อป
• เก็บสตางค์ไปเที่ยว ศึกษาหาความรู้แบบที่ชอบ ฟังเพลงนอกบ้าน ออกไปเดินกับน้องหมา หรือหาอาหารสุขภาพสักมื้อกับเพื่อนที่รู้ใจ
• การ ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า หรือเครื่องใช้ไม้สอยใหม่ๆ มักจะทำให้คนเรารู้สึกดีขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็เหี่ยวลงไปอีก ไม่เหมือนประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น ไปเที่ยวในที่ที่ปลอดภัย ให้เวลากับเพื่อน หรือน้องๆ (แมว แมว ปลา ฯลฯ) แบบนี้ทำให้มีความสุขนานกว่า

(2). Become Persuasive = ทำตัวให้ถูกชักจูงไปในทางที่ดี (น้อมไปสู่กระแสแห่งความสุข)

(2.1). take centre stage = อยู่ตรงกลาง
• การ ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนสำคัญมักจะนั่งอยู่ตรงกลางมากกว่าอยู่ริมๆ, ถ้าอยากจะหาเพื่อน หาคู่ หรือหาคนที่รู้ใจ… ให้นั่งตรงกลางไว้ก่อน, ถ้าอยากอยู่แบบเดิมๆ ให้นั่งที่เดิม ให้ไกลแสนไกลจากผู้คน
(2.2). ask for a favour = ขอความช่วยเหลือ
• การศึกษาพบว่า คนที่กล้าออกปากขออะไรเล็กๆ น้อยๆ ในรูป “ขอความช่วยเหลือ” มักจะเป็นที่ประทับใจของผู้ให้
• ที่ สำคัญคือ ให้ขอความช่วยเหลือ “เล็กๆ”, อย่าไปขออะไรมากเกิน บ่อยเกิน หรือไปขอของที่คนอื่นแสนหวง เพราะนั่นจะทำลายมิตรภาพแทบจะในทันที
(2.3). make mistakes = ทำผิดเล็กๆ
• คนเกือบทั้งหมดไม่ชอบ “คุณสมบูรณ์แบบ (perfection)” เช่น คนสวย หล่อ หรือดูดีไปหมดจากปลายผมจรดส้นเท้า ฯลฯ
• การกล้าทำอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ดูเป็นผู้เป็นคน (make your more human) และดูเป็นคนอบอุ่น (warmer) มากขึ้น
• ถ้าจะให้ดูดีขึ้น… ทำผิดนิดๆ แล้วต้องกล้า “ขอโทษ” ด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ชอบคำ “ขอโทษ”
• และที่สำคัญ คือ อย่าทำผิดเรื่องใหญ่ๆ หรือทำผิดเล็กๆ บ่อยเกิน เช่น ปล่อยให้รังแคร่วงลงบนไหล่เกิน 10 จุด ฯลฯ ในเวลาสำคัญ
(2.4). gossip positively = ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก)
• การ ศึกษาพบว่า ผู้ฟังมีแนวโน้มจะมองคนนินทาว่า “เป็นพวกเดียวกัน(กับคนถูกนินทา)” เลยเช่น มองคนที่ชอบนินทาความล้มเหลวของคนอื่นว่า เป็นพวกที่ล้มเหลวในชีวิตคล้ายๆ กัน ฯลฯ
• ทาง ที่ดีคือ ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก) โดยทำเรื่องการทำดี ความสำเร็จ หรือความคิดสร้างสรรค์ของคนๆ หนึ่งไปบอกต่อคนอื่น… แล้วคนฟังจะเริ่มมองว่า คุณเป็นคนดีแบบนั้นเหมือนกัน
• ที่สำคัญคือ การซุบซิบอย่างสร้างสรรค์มีส่วนทำให้คนเรามีความสุขเดี๋ยวนั้นทันที ไม่เหมือนการนินทาใส่ร้ายที่จะทำลายทุกฝ่ายไปอีกนาน
(2.5). dine out = ออกไปกินข้าวนอกบ้าน
• อาหารดีๆ มักจะทำให้คนที่กินข้าวด้วยกันรู้สึกดีๆ… ถ้าอยากรู้จักเพื่อน หรือคนที่รู้ใจก็ควรกล้าออกไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง
• แม้ แต่คนที่แสนจะพิถีพิถันเรื่องสุขภาพ… ถ้าเตรียมอาหารไปกินนอกบ้านบ้างก็ยังทำให้โอกาสรู้จักใครต่อใครมากขึ้น มากกว่ากินข้าวที่บ้านทุกมื้อ และทุกวัน

(3). Get Motivated = สร้างแรงจูงใจ

(3.1). quit fantisising = หยุดฝันกลางวัน
• การ ศึกษาพบว่า การฝันกลางวันทำให้ฝันนั้นๆ มีโอกาสเป็นจริงน้อยลง ทางที่ดีกว่า คือ หยุดฝันกลางวัน แล้วมองว่า จะทำอย่างไรให้ฝันกลายเป็นจริงให้ได้ทีละน้อย
(3.2). make plans = วางแผน
• ผล การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้แผนการประสบความสำเร็จได้มีอยู่ 6 ปัจจัยได้แก่ (1). เขียนลงไป (เป็นลายลักษณ์อักษร), (2). บอกเพื่อนๆ หรือคนที่ไว้ใจได้ (ว่าจะทำ), (3). ทำตารางเวลาว่า จะทำอะไรก่อน-หลัง, …
• (4). แบ่งงานเป็นขั้นเป็นตอน, ให้รางวัลตัวเองทุกขั้นตอนที่ทำสำเร็จ, และ (5). เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ประโยชน์ที่ได้จากเป้าหมายนี้คืออะไร
(3.3). sieze the day = เริ่มต้นวันนี้
• สำหรับ นักผลัดวันประกันพรุ่ง… ผลการศึกษาพบว่า ถ้าเริ่มต้นทำเสียแต่วันได้ โดยรีบทำเรื่องที่ไม่อยากทำให้ได้ 2-3 นาทีแรก ตรงนั้นจะยากที่สุด
• เมื่อทำ 2-3 นาทีแรกได้… จะรู้สึกราวกับทำสำเร็จไปกว่าครึ่ง และทำส่วนที่เหลือเสร็จได้ภายในเวลาไม่นาน
• เพราะ ฉะนั้นถ้าจับได้ว่า ตัวเราเป็น “นักวิ่งผลัดฯ” ควรรีบทำตัวให้เป็นนักวิ่งผลัดคนแรกในทีม (starter) หยุดฝัน แล้วฝืนทำไปให้ได้ 2-3 นาที หลังจากนั้น… งานจะง่ายขึ้นแยะเลย
(3.4). write your own eulogy = เขียนคำสดุดีตัวเอง (เป็นคำกล่าวสรรเสริญที่ใช้ในงานศพ)
• ลองเขียนคำสดุดีตัวเอง จดลงไปว่า คุณอยากได้ยินคำสดุดี หรือคำกล่าวเกียรติคุณว่า คุณประสบความสำเร็จอะไรบ้างในงานศพ
• การจด ‘jot down (‘jot’ / “จ๊อท - t(ท) = จด)” งานเขียนบทนี้จะทำให้ความปรารถนาของคุณ “ตกผลึก (crystalise)” และจะจูงใจให้ปรารถนาที่ดีงามประสบความสำเร็จ
(4). Lose Weight = ลดน้ำหนัก

(4.1). eat fast, then slow down = กินเร็วๆ, แล้วกินให้ช้าลง
• การ ศึกษาพบว่า คนที่กินด้วยความเร็วปกติ (ไม่ใช่กินช้าๆ) ในครึ่งแรก (ของมื้อ) แล้วลดความเร็วลงเหลือ 1/2 ในครึ่งหลัง (ของมื้อ)… ลดความอยากอาหาร และลดน้ำหนักได้ดีกว่าคนที่กินช้าๆ ตั้งแต่แรก
(4.2). throw away the big plates = ทิ้งจานใบใหญ่ๆ ไป
• ทิ้ง จานและอุปกรณ์กินข้าว เช่น ส้อม ช้อน ฯลฯ ขนาดใหญ่ไป หรือจะบริจาคให้ใครก็ได้… การศึกษาพบว่า คนที่กินข้าวจานเล็กกว่า มีเอวเล็กกว่า
(4.3). put a mirror in the kitchen = ติดกระจกไว้ในครัว
• คนที่มองเห็นภาพสะท้อนตัวเองก่อนกิน มักจะกินน้อยลง
• ถ้าวิธีนี้ใช้ได้ผลกับคุณ… อย่าลืมติดกระจกไว้อีกบานที่ห้องกินข้าว และพกติดตัวไว้ดูหน้าก่อนกินอะไรทุกครั้ง
(4.4). say no to TV dinners = ปิด TV กินข้าว
• คนที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน (อาหาร) มัวแต่ดู TV, ฟังโน่นฟังนี่, หรือทำอะไรไปด้วยกินไปด้วย มักจะกินมากขึ้น
(4.5). keep a food diary = จดไดอารีอาหาร
• คน ที่จดไดอารีอาหารทุกอย่างมีแนวโน้มจะลดน้ำหนักได้มากเป็น 2 เท่าของคนที่ไม่จด เนื่องจากข้อมูลนำไปสู่ความรู้ ความรู้นำไปสู่ความเข้าใจ ความเข้าใจนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีขึ้นได้
(5). Get Ahead = ก้าวไปข้างหน้า

(5.1). work alone = ทำงานคนเดียว
• การศึกษาจำนวนมากพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดจากการทำงานเป็นกลุ่ม การพบปะ (meetings) หรือการระดมสมอง (brainstorming) เสมอไป
• ความ คิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เกิดเมื่อคนเราอยู่คนเดียว และอยู่กับ ‘3B’ ได้แก่ ‘bus’ = รถเมล์ (= เดินทางท่องเที่ยว หรือไปในที่แปลกใหม่), ’bath’ = อาบน้ำ (= เวลาอาบน้ำ หรือทำอะไรที่สดชื่น), ‘bed’ = เตียง (= เวลาตื่นนอนใหม่ๆ หรือหลังพักผ่อนเต็มที่)
(5.2). buy a plant = ซื้อต้นไม้
• การศึกษานาน 8 เดือนรายงานหนึ่งพบว่า การเพิ่มจำนวนต้นไม้ในสำนักงาน ทำให้คนทำงานได้ไอเดีย หรือข้อคิดใหม่ๆ มากขึ้น 15%
(5.3). pull = ดึง
• เทคนิค หนึ่งในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ คือ ให้นำเรื่องนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตัว กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนเรามักจะดึงเรื่องที่เราชอบมาไว้ใกล้ตัว ดันเรื่องที่เราไม่ชอบออกไปไกลตัว
• ตัวอย่าง การนำเรื่องนั้นๆ มาไว้ใกล้ตัว เช่น หากระดานเขียนเตือนว่า วันนี้-อาทิตย์เรากำลังจะสร้างสรรค์เรื่องอะไร, หากระดาษ-ดินสอหรือปากกาไว้ใกล้ตัวเสมอ มีไอเดียอะไรดีๆ จะได้รีบจดทันที ฯลฯ
(5.4). a welcome distraction = เว้นวรรคให้เป็น
• ผล การวิจัยพบว่า ถ้าแก้ปัญหาอะไรไม่ได้… ให้เว้นวรรค หรือหยุดพักสักครู่ เช่น ออกไปเดิน 5 นาที + ขึ้นลงบันได 1 ขั้น + ล้างมือก่อน แล้วล้างหน้าล้างตา + เดินตากลมสักพัก ฯลฯ มักจะทำให้หาทางออกได้ดีกว่าลุยไปเรื่อยๆ ทั้งที่แสนเหนื่อยและเพลีย
• บาง คนคิดหาทางแก้ปัญหาไม่ออก… พอได้ไปนอนหรืองีบสักพัก คิดออกก็มีมากไป เพราะฉะนั้นอย่าลืมพกกระดาษ ปากกา ดินสอ หรือเครื่องบันทึกเสียง (พูดแล้วบันทึกไว้) ติดตัวเสมอ ใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงก็ได้นี่
(5.5). lighten up = เครียดไปก็พักเสีย
• สมอง เราแทบจะหยุดความคิดสร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหาเมื่อความเครียดสูงเกิน… ควรหาทางลดความเครียดลง เช่น คุยเรื่องขำๆ กัน ฯลฯ แล้วกลับไปทำงานใหม่
• หน่วย งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้องการปั้นไอเดียออกมามากๆ น่าจะมีห้องอาบน้ำ ห้องนอนช่วงสั้นๆ (งีบ) ห้องออกกำลัง หรือห้องที่มองเห็นสวนสารพัดสี เพราะจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น
(5.6). talk pets = คุยกันเรื่องน้อง (หมา แมว ปลา ฯลฯ)
• ถ้า อยากรู้จักบุคลิกภาพคนอื่นแบบเร็ว ให้ถามว่าชอบเลี้ยงอะไร… คนชอบน้องปลามักจะเป็นคนที่มากไปด้วยความสุข; คนชอบน้องหามักจะเป็นคนสนุกสนานร่าเริง;
• คน ชอบน้องแมวมักจะเป็นคนที่เชื่อถือได้-ไว้ใจได้ แต่อ่อนไหว (ต่อความรู้สึก); คนชอบน้องเลื้อยคลาน (สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ฯลฯ) มักจะรักอิสรภาพ และเป็นตัวของตัวเองแบบสุดๆ ไปเลย

(6). Deal With stress = จัดการกับความเครียด

(6.1). Don’t punch a pillow = อย่าทุบหมอน
• การทุบตี ด่าว่าสิ่งไม่มีชีวิต เช่น หมอน ฯลฯ ไม่ได้ทำให้อะไรๆ ดีขึ้น แถมความเครียดมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นด้วย
(6.2). listen to Beethoven = ฟังบีโธเฟน
• ไม่ ว่าจะเครียดหรือรู้สึกเหมือนจะคลั่ง อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ให้ฟังเพลงคลาสสิค (เพลงบรรเลง) มีการศึกษาพบว่า เพลงคลาสสิคทำให้ความดันเลือดลดลงได้
(6.3). stand in the sun = ยืนอาบแดด
• การออกไปรับแดดอ่อนๆ ตอนเช้า (ก่อน 8.30 นาฬิกา) หรือตอนเย็น (หลัง 16.30 นาฬิกา) 10-15 นาที/วัน ช่วยให้อารมณ์และความจำดีขึ้น
• และ จะดีขึ้นมากถ้าหาเรื่องออกกำลังไปเลย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันได เดินถือตุ้มน้ำหนักหรือถังรดน้ำต้นไม้ (เลือกแบบที่จับใหญ่ จับแล้วไม่เจ็บมือ ใส่น้ำตามความแข็งแรง) หรือเดินไปบีบคลายลูกบอลหรือที่บีบมือ (hand grips) ไป
• หรือจะฝึกไทเกก-ไทชิ รำกระบองชีวจิต มวยจีน โยคะ พร้อมรับพลังจากสุริยเทพ (พระอาทิตย์) เลยยิ่งเท่
(6.4). laugh = หัวเราะ
• คน ที่มีอารมณ์ขันมักจะมีระบบภูมิต้านทานดีกว่า เช่น เป็นหวัดน้อยกว่า ฯลฯ แถมยังมีโอกาสเป็นโรคหัวใจกำเริบ สโตรค (กลุ่มหลอดเลือดแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ลดลง 40%
• คนที่มีอารมณ์ขันทนความเจ็บปวดได้มากกว่า โดยเฉพาะทนการทำฟันได้ดี และมีชีวิตยืนยาวขึ้นถึง 4.5 ปี
(6.5). get a dog = เลี้ยงน้องหมา
• น้องหมาทำให้เจ้าของทนความเครียดได้มากขึ้น รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ซึมเศร้าน้อยลง
(6.6). pray = สวดมนต์
• การศึกษาพบว่า การสวดมนต์ให้คนอื่น (ส่งความปรารถนาดี เช่น เมตตา ฯลฯ ออกไป) ให้ผลดีมากกว่าการสวดมนต์ให้ตัวเอง
• การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบว่า คนที่สวดมนต์ให้คนอื่นเป็นประจำ มีความวิตกกังวล (เครียด) เรื่องเงินๆ ทองๆ น้อยลง
(6.7). road rage = อย่าขับรถแบบเดือดดาล
• คนที่ขับรถใจร้อน เดือดดาล (โมโห) ในเรื่องขับรถง่าย เพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และอัมพาตจากความดันเลือดสูง
• วิธี หนึ่งที่จะช่วยให้ใจเย็นลงเวลาขับรถ คือ อย่าฟังข่าวเครียดๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ พาเพลงประเภทเบาๆ สบายๆ ขับไปร้องคลอไป แล้วจะพบว่า เสียงร้องเพลงบนรถก้องกังวล (echo / เอคโค) น้องๆ การร้องเพลงในห้องน้ำเลย
• หรือถ้าต้องการความสงบ สันติ และเมตตายิ่งกว่านั้น… ให้หาแผ่นสวดมนต์มาไว้ประจำรถ แล้วสวดมนต์ไปเรื่อยๆ

(7). find a partner = หาคู่

(7.1). the power of touch = อานุภาพแห่งการสัมผัส
• ถ้าคุณหาคู่ดีๆ ได้… การกอดนานๆ หน่อย แล้วหาพูดแบบกระซิบ หรือเล่าเรื่องโจ๊กกันเบาๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ
• ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ… กอดหมอน หรือกอดน้อง (หมา แมว ฯลฯ) ไปพลางก่อนได้
(7.2). be a mirror = เป็นกระจกให้กันและกัน
• การ ทำอะไรให้คล้าย “คนพิเศษ” ช่วยสร้างความประทับใจได้ เช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งโน้มตัวเข้าหา อีกฝ่ายหนึ่งก็ควรทำคล้ายๆ กัน ฯลฯ การขยับแขนหรือขาก็ควรทำตามๆ กันบ้าง เช่น ฝ่ายหนึ่งไขว้ขาก็ไขว้ตามกันบ้าง
(7.3). do something scary = ทำให้ตกใจกันบ้าง
• การ ศึกษาพบว่า เวลาคนอยู่ใกล้กัน… หัวใจใครเต้นเร็วกว่ามักจะหาคู่ได้ก่อน คู่ที่คบกันได้เร็ว (การศึกษาในฝรั่ง) มักจะทำอะไรที่กระตุ้นหัวใจกันมากหน่อย เช่น ชวนกันไปดูหนังผี ไปนั่งรถไฟเหาะ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ชวนกันไปเดินขึ้นเขา (เผื่อจะมีอะไรให้อีกฝ่ายตกใจ) ฯลฯ
• แบบนี้เรียกว่า “ตื่นเต้นไว้ก่อน พ่อสอนไว้”

(8). Stay passionate = เติมเชื้อไว้ อย่าให้ไฟมอด

(8.1). try new things = ลองอะไรใหม่ๆ
• หาอะไรที่แปลกใหม่ทำด้วยกัน เช่น ไปเที่ยวที่ใหม่ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ฯลฯ
(8.2). stay positive = มองโลกในแง่ดี
• ความ สัมพันธ์ในระยะยาวมักจะมาจากการมองโลกในแง่ดี เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งชวนคุย ไม่ควรจะตอบห้วนๆ คำเดียว เช่น ถาม… ตอบ “อือม์” คำเดียวจบ แล้วเงียบ
• ทาง ที่ดีคือ ใช้สูตร ‘5W1H’ (what,where,when,why,who + how = อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม ใคร + อย่างไร) ช่วยตอบให้ยาวขึ้น เช่น ถาม… ตอบ “เรื่องนี้เป็นอย่างไร (what) หรือ… เล่าให้ฟังหน่อยสิ” แล้วรับฟัง
• มิตรภาพ ที่ดีมักจะเกิดจากคำชมที่มาจากใจจริง เช่น ชอบจังที่คุณกอดนานๆ แบบนี้ ฯลฯ หรือชมการกระทำ เช่น กับข้าวจานนี้เยี่ยมไปเลย (ไม่ต้องบอกว่า อร่อยเพราะผงปรุงรส หรือผงซุปยี่ห้อไหนอะไรทำนองนี้ให้เสียความรู้สึก) ฯลฯ [ hubpages ]

(8.3). but = แต่
• ถ้าจะชม… ไม่ต้องมี “แต่” เช่น โอ้โห… กับข้าวจานนี้อร่อยจึง แต่คุณอีกจานกินไม่ได้เลย” ฯลฯ แบบนี้ไม่พูดดีกว่า
• ถ้า จะติ… แบบนี้ควรมี “แต่” เช่น กับข้าวจานนี้ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่ที่เหลืออีก 4 จานอร่อยมากๆ เลย ไม่ใช่คุณทำไม่เก่งนะ นี่อาจเป็นเพราะคนเราชอบไม่เหมือนกัน”
• ถ้าจะคบกันให้นาน… ควรชมกันให้ได้ทุกวัน ตินั้นนานๆ ครั้งก็เกินพอแล้ว
(8.4). keep your partner in mind = ถนอมเนื้อคู่ไว้เสมอ
• เก็บ ความทรงจำดีๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นแหวน ภาพถ่าย หรืออะไรที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ วางไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาความรู้สึกดีๆ กันไว้ให้นาน

(9). Be Decisive = เด็ดเดี่ยว ไม่โลเล

(9.1). trust your instincts = เชื่อสัญชาตญาณ
• เมื่อ จะต้องตัดสินใจปัญหาที่ซับซ้อน ให้หาข้อมูล ปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่ดี และหาเวลาเงียบๆ ถามสัญชาตญาณของเราก่อนตัดสินใจดูบ้าง
• การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ นั้น… ไม่ควรตัดสินใจก่อน 7 วัน หรือดีกว่านั้นก่อน 14 วัน
• เวลา ตัดสินใจเรื่องใหญ่ อย่าตัดสินใจจากรายละเอียดยิบย่อยเป็นร้อยๆ ปัจจัย, ให้ตัดสินใจจากประเด็นสำคัญใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมี 2-3 ประเด็นหลัก
• เรื่อง ที่ไม่ควรลืมเลย คือ อย่าเล่นการพนัน ไม่จำเป็น-อย่าก่อหนี้ ถ้าจำเป็น… อย่าก่อหนี้เกินตัว อย่าก่อหนี้นอกระบบ และอย่าไปค้ำประกันหนี้คนอื่น

(9.2). say yes = ตอบได้ ใช่เลย
• คน เรามักจะเสียใจกับเรื่องที่ไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นให้ฝึกเป็นฝ่าย ‘will do’ = “จะทำ” เสมอ เพื่อให้โอกาสดีๆ มีทางเข้ามาสู่ชีวิตของเรา
• ถ้า มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ที่ปลอดภัย… ควรไป ก่อนไปศึกษาหาข้อมูลให้พร้อม เตรียมกล้องดิจิตอลไว้ เผื่อจะมีโอกาสเขียนเรื่องเล่า เช่น เขียนบล็อก นำวิดีโอขึ้น Youtube ฯลฯ
• ไม่ ว่าจะไปไหน… อย่าลืมของฝากคนที่บ้าน โดยเฉพาะไม่ว่าจะได้ดีอะไร ให้คิดถึงแม่ถึงพ่อไว้ หาของฝากคุณแม่คุณพ่อเสมอ แล้วชีวิตจะไม่ตกต่ำ

(10). Be a great parent = เป็นคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) ที่ยิ่งใหญ่

(10.1). Choose the right name = เลือกชื่อลูกให้ถูกต้อง
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำว่า การตั้งชื่อลูกให้ดีมีความสำคัญต่ออนาคตมาก ชื่อที่ฝรั่งนิยม เช่น ถ้าต้องการความสำเร็จและสติปัญหา… ควรเป็นชื่อ ‘James, Elizabeth’;
• ชื่อ ผู้หญิงที่นุ่มนวล ควรลงท้ายด้วยเสียง ‘ee’ เช่น Sophie, Lucy ฯลฯ; ชื่อผู้ชายที่เซ็กซี่ ควรเป็นชื่อสั้นๆ และเสียงแข็งๆ หน่อย เช่น Jack, Ryan ฯลฯ
• ชื่อที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในทัศนะของอาจารย์ไวส์แมน คือ Lisa, Brian

(10.2). praise effort, not ability = ยกย่องความพยายาม ไม่ใช่ความสามารถ
• การ ศึกษาพบว่า การกล่าวชมความสามารถ หรือความสำเร็จของเด็กบ่อยๆ เช่น “เก่งจังที่สอบได้ที่ 1″ ฯลฯ มักจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยจะทำให้เด็กไม่ทนต่อชีวิตที่ผิดหวัง หรือพลาดพลั้ง และมีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
• เด็ก ที่ถูกชมเรื่องความสามารถแบบนี้บ่อยๆ อาจจะเครียดง่าย เป็นคนจมไม่ลง และผิดหวังรุนแรงเมื่อพลาดจากความสำเร็จครั้งต่อๆ ไป เนื่องจากเด็กมักจะรู้สึกว่า พ่อแม่รักเขาหรือเธอที่ “ความสำเร็จ” ไม่ใช่ “ความรักที่จริงใจ”
• ตัวอย่างเด็กที่ได้รับคำชมความสำเร็จพบได้บ่อยในเด็กที่ฆ่าตัวตาย เช่น สอบได้เกรดไม่ดี ฯลฯ นี่เพราะทนต่อความผิดหวังไม่ได้
• การชมเด็กควรชมที่ความพยายาม เช่น “เทอมนี้ขยันมากๆ เลย จะสอบได้เท่าไรก็สบายใจได้ เพราะได้พยายามเต็มที่แล้ว” ฯลฯ
• การ ฝึกให้เด็กๆ เรียนรู้ทั้งจากความพ่ายแพ้และชัยชนะเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ให้โอกาสเด็กได้เข้าร่วมการแข่งกีฬากันทั้งครอบครัว และฝึกมองเรื่องพ่ายแพ้เป็นเรื่องตลก หรือธรรมดาของชีวิต ฯลฯ ซึ่งจะเป็นวัคซีนขนานสำคัญต่อไปตลอดชีวิต
• พ่อ แม่ที่ดีควรกล้าเล่าเรื่องผิดพลาดของตัวเองให้เด็กๆ ฟังบ้าง ไม่ใช่เล่าแต่เรื่องความสำเร็จ เช่น ไม่ควรเล่าว่า “พ่อสอบเข้าอนุบาลได้ที่ 1, ประถมฯ ได้ที่ 1, มัธยมฯ ได้ที่ 1, สอบแพทย์ได้ที่ 1, สอบทุนไปนอกได้ที่ 1, ไปเมืองนอกสอบได้ที่ 1, ฯลฯ”
• ควร เล่าทั้งเรื่องประสบความสำเร็จ และเรื่องล้มเหลวให้เด็กๆ ฟัง เช่น “แม่สอบได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เล่นบาสเกตบอลก็ไม่เก่ง เป็นตัวสำรอง แต่ถ้าวิ่งจะเก่งหน่อย แม่ถือหลักว่า พยายามให้เต็มที่ ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น”

(10.3). avoid threats = หลีกเลี่ยงการข่มขู่
• มี คำกล่าวว่า “ความรุนแรงมักจะต่อด้วยความรุนแรง” เปรียบคล้ายแรงดันที่เก็บกดไว้ รอวันระเบิดหรือรอวันแตกออกมาคล้ายแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด
• การลงโทษอาจได้ผลดีหน่อยในสมัยหิน หรือสังคมเกษตร ซึ่งชีวิตมักจะเป็นแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปได้คราวละหลายสิบปี
• ยุค นี้เป็นยุคที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว งานสมัยใหม่ต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม ดีไซน์ หรือการค้นคว้าวิจัย ทำให้การใช้แรงจูงใจด้านบวกได้ผลดีกว่า

(11). Know Yourself = รู้จักตัวเอง

(11.1). all thumbs = เป็นหัวแม่มือกันทุกคน
• คน แต่ละคนมีสมอง 2 ซีกเด่นไม่เท่ากัน… สมองซีกขวาเด่นทางสร้างสรรค์ ศิลปะ การออกแบบ ดีไซน์ ไอเดีย ศิลปิน ดารา นักกีฬา ช่างศิลป์, สมองซีกซ้ายเด่นทางด้านคิดคำนวณ ตรรกะ คอมพิวเตอร์ วิชาการ
• ขั้น แรกคือ ควรหาทางเรียนรู้ให้ได้ว่า เราเด่นทางไหน ด้อยทางใด เพื่อเลือกการศึกษาเล่าเรียน การงาน และแบบแผนการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเรา
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำให้ลองนำมือ 2 ข้างมาไว้ใกล้กัน ประสานกัน (interlock) ให้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งอยู่เหนืออีกหัวแม่มืออีกข้างหนึ่ง ทำแบบที่คุณถนัด
• คนที่วางหัวแม่มือข้างขวาเหนือข้างซ้ายมักจะเป็นพวกสมองซีกซ้ายเด่น พวกนี้ชอบทำงานวิเคราะห์เจาะลึก วิจัย ค้นคว้า วิชาการ
• ตรง กันข้ามคนที่วางหัวแม่มือข้างซ้ายเหนือข้างขวามักจะเป็นพวกสมองซีกขวาเด่น เก่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียใหม่ๆ ออกแบบหรือดีไซน์ ช่างศิลป์


ไม่ว่าเรา จะเป็นใคร เก่งหรือไม่เก่งแค่ไหน… ถ้าอยากมีความสุข ให้ถือหลัก ‘Be good, Be you, Be yourself.’ = “เป็นคนดีพอสมควร (เช่น ไม่คด ไม่โกงใคร ฯลฯ), เป็นแบบที่เราเป็น (เช่น หัดพอใจในความดีบ้างร้ายบ้างของเรา แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนแก้ไขไปทีละน้อย ฯลฯ), …
และเป็นตัวของเราเอง อย่าพยายามเป็นแบบที่คนอื่นเป็น เพราะนั่นไม่ใช่เรา

ถ้าอยากให้ตัวเรามีบุคลิกดี และมีความสุข… อย่านำตัวเราไปเปรียบเทียบ แล้วชิงดีชิงเด่นกับคนอื่น
ถ้าอยากให้เด็กๆ มีความสุข… อย่าเปรียบเทียบพี่กับน้อง หรือเทียบเด็กคนหนึ่งกับอีกคน


ถ้าอยากให้คนดีสนใจเรา … เราต้องมีดีก่อน เพราะคนดีๆ มักจะเลือกคบคนดีด้วยกัน การก้าวเข้าสู่กระแสแห่งมิตรภาพกับคนดีๆ เริ่มต้นที่ตัวเรามีดี แล้วคนดีๆ จึงจะสนใจเรา
ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น