วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิสัยทัศน์กับผู้บริหาร

การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา



ชลาลัย นิมิบุตร[*]



วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นคำที่นักวิชาการได้ให้ความสนใจ และพยายามให้ความหมายแตกต่างกันไปมากมาย จนอาจเกิดความสับสนว่ากำลังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร หรือวิสัยทัศน์ขององค์กรกันแน่ อย่างไรก็ตามความหมาย ของวิสัยทัศน์สามารถสรุปได้ในแนวทางเดียวกันคือ วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรซึ่งได้มาจากปัญญา ความคิดโดยภาพนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง มีความเป็นไปได้ ดึงดูดใจให้ปฏิบัติตาม สอดคล้องกับเป้าหมายและภาระหน้าที่ขององค์กรอันจะทำให้องค์กรมีสภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากความหมาย ของวิสัยทัศน์จะเห็นว่า วิสัยทัศน์มีลักษณะเป็นภาพ สถานศึกษาไม่สามารถที่จะสร้างภาพด้วยตนเองได้ แต่จะมองเห็นอนาคตขององค์กรผ่านผู้บริหารสถานศึกษาว่าจะกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดังนั้นวิสัยทัศน์ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะหมายถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน และผู้เขียนจะขอนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิด ดังนี้



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์


แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของวิสัยทัศน์



วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้บริหารและสมาชิก ขององค์กรร่วมกันวาดฝัน หรือจินตนาการขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่บนความจริง ในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อมั่นเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งพรรณนาให้เห็นทิศทางของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ (รุ่ง, 2539: 129) วิสัยทัศน์จึงเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของสภาพที่ต้องการเพื่อให้ทุกคนทำงานไปสู่ความสำเร็จในอนาคต วิสัยทัศน์ได้มาจากการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ ในปัจจุบัน ร่วมกับการระดมความคิดหาแนวทางแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้มา ซึ่งองค์กรอันพึงประสงค์ในอนาคต (บัณฑิต, 2540: 27) วิสัยทัศน์เป็นเรื่องของทุก ๆ คน แต่วิสัยทัศน์ไม่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ หากไม่ได้รับการปลูกฝัง ไม่ได้รับการเรียนรู้จากสังคม (เกรียงศักดิ์, 2541: 65)



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร หากผู้บริหารปราศจากวิสัยทัศน์ก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและดำรงรักษาความเป็นองค์กรที่ดีไว้ได้ (Sergiovanni, 1987: 73) วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่แท้จริงขององค์กร และสามารถกำหนดภาพในอนาคตขององค์กรได้ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร เพื่อกำหนดกิจกรรม และแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการโดยไม่เสียเวลากระทำการในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และยังเป็นแรงกระตุ้นให้สมาชิกขององค์กรปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจอย่างเป็นพิเศษยิ่งกว่าธรรมดา (Duke, 1987: 51) วิสัยทัศน์จะช่วยสร้างความผูกพันและร้อยรัดพลังของสมาชิกเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์จะสามารถสร้างวิสัยทัศน์ให้กับองค์กร และเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นสภาพที่เป็นจริง มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดคืออะไร จะต้องทำอะไร และทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น วิสัยทัศน์ที่แจ่มแจ้งชัดเจนนั้นมาจากการเข้าใจองค์กรอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง งานวิจัยและวรรณกรรมต่าง ๆ ได้ยืนยันว่า วิสัยทัศน์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้บริหาร (เสริมศักดิ์, 2538: 6)



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี และจะต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นไปสู่คณะครู เพื่อให้สมาชิกกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Davis and Thomas, 1989: 22-23) การมีวิสัยทัศน์อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องกระทำให้ได้คือ การทำให้สมาชิกมีจิตผูกพันกับวิสัยทัศน์ สามารถหล่อหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงสู่นโยบาย แผนงาน และกิจวัตรประจำวันภายในองค์กร ยินดีเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Caldwell and Spinks, 1990: 174)

ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะมีวิสัยทัศน์แล้ว ยังต้องมีความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้สมาชิกเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ให้บรรลุผลด้วย



มิติของวิสัยทัศน์



Braun (1991: 26) ได้กำหนดมิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision)



การสร้างวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่าประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา

Locke et al. (1991: 53-54) ได้เสนอแนวคิดว่า การสร้างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารได้มาจากวิธีการดังต่อไปนี้



1. โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การสนทนาพูดคุย และ ฟังความคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร



2. โดยกระบวนการจัดกระทำข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหารในเรื่อง การมีสายตายาวไกล ความเข้าใจ วัฒนธรรมขององค์กร ความเข้าใจถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและแนวโน้มของโลกในอนาคต ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมขององค์กร ความสามารถในการคาดคะเนแรงต่อต้านที่อาจจะเกิดขึ้น ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ตลอดเวลา



3. โดยการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนออกมาเป็นถ้อยคำได้อย่างชัดเจน มีพลังในการกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ถ้อยคำ ที่แสดงวิสัยทัศน์นั้นควรมีลักษณะย่นย่อ ชัดเจน ท้าทาย มุ่งอนาคต มั่นคง ปรารถนาที่จะบรรลุให้ได้



4. โดยการประเมินผลเป็นระยะ หมายถึง การทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป



เสริมศักดิ์ (2538: 4) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า การสร้างวิสัยทัศน์ เป็นการสร้างความฝันที่เป็นจริง หรือเป็นการสร้างพิมพ์เขียวขององค์กรที่มีความเป็นเลิศในอนาคต การสร้างวิสัยทัศน์จะต้องศึกษาองค์กรอย่างลึกซึ้ง มีข้อมูลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับจุดเด่น จุดด้อยของบุคคล สถานที่ ทรัพยากร และเวลา วิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิธีการที่ดีอย่างหนึ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ก็คือ การสร้างวิสัยทัศน์โดยการให้มีส่วนร่วม (Shared Vision) ในขณะที่สมศักดิ์ (2540: 13) มีความคิดเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ควรกำหนดขึ้นโดยผู้บริหาร (Leader Initiate) มิได้กำหนดโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะต้องรู้จักสนทนาและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกแล้วนำมาพิจารณาว่าโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร นำข้อมูลผนึกเข้าเป็นวิสัยทัศน์ แล้วหาวิธีการที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์นั้น ในการสร้างวิสัยทัศน์จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม เพื่อให้ทิศทางที่จะมุ่งไปมีความถูกต้อง ตัวแปรที่สำคัญในการสร้างวิสัยทัศน์คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) อันเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารโรงเรียน โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative Thinking) ที่พัฒนาให้ผู้บริหารมองกว้าง คิดไกล ทันสมัย และเฉียบแหลม



การเผยแพร่วิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น



Ellis and Joslin (1990: 8) มีความเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ไปยังสมาชิกทุกคนขององค์กรให้มีความคิดเห็นคล้อยตาม และเต็มใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้นซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือ การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปยังวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้ นั่นคือ เปลี่ยนสภาพของวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลเป็นวิสัยทัศน์ของส่วนรวม จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่วิสัยทัศน์คือ การทำให้สมาชิกขององค์กรยอมรับวิสัยทัศน์นั้น เป็นของตน ผู้บริหารจึงต้องมีศิลปะในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมของสมาชิก มีวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลในการอธิบายและโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์กรเข้าใจและยอมรับวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู



Sashkin (1988: 247) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ได้ 2 แนวทาง คือ



1. โดยการหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงในปรัชญาของสถานศึกษา และกำหนดนโยบาย โครงการ เพื่อนำปรัชญาของสถานศึกษาไปปฏิบัติจริง



2. โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกแต่ละคน ซึ่งผู้บริหาร

สถานศึกษาควรมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ มีทักษะการสื่อสารที่ดี แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของตนอย่างเด่นชัด วางตนให้เป็นที่ไว้วางใจได้ มีความมั่นใจในตนเอง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น



การนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติจะบรรลุผลเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้สื่อสารที่ดี และความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคคลที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้ทุกสถานการณ์ (Scheive and Schoenheit, 1987: 102)

สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป้าหมายชัดเจน การตั้งเป้าหมายว่าองค์กรจะไปทางใดนั้นเป็นภารกิจเพียงครึ่งเดียวของผู้บริหารสถานศึกษา ภารกิจอีกครึ่งหนึ่งก็คือ ผู้บริหารจะต้องเผยแพร่หรือสื่อสารให้สมาชิกทราบในวิสัยทัศน์ของตน มีความเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์นั้น และร่วมพลังในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์



เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์



เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถตรวจสอบวิสัยทัศน์ได้ครอบคลุมสาระสำคัญมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่น คือ Leadership Vision Questionnaire-Principal (LVQ-P) ซึ่งสร้างขึ้นโดย Braun (1991) และศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ได้แปลและปรับให้สอดคล้องกับบริบทของไทย ลักษณะเครื่องมือประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ช่วงคะแนน เพื่อตรวจสอบวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ โดยมีวิธีการคิดคะแนน 2 ระดับคือ ระดับที่ 1 คิดคะแนนรวมแยกเป็นแต่ละมิติ และระดับที่ 2 คิดคะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทั้ง 3 มิติ จะได้คะแนนที่เป็นค่าแสดงถึงระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละคน ซึ่งได้กำหนดการแปลค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้



1.00 – 1.80 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับต่ำ

1.81 – 3.20 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับปานกลาง

3.21 – 4.00 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับสูง



การวัดวิสัยทัศน์จะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ว่ามีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับใด วิสัยทัศน์ในมิติใดที่สมควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพัฒนาวิสัยทัศน์ได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้



แนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา



วิสัยทัศน์มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมความรอบรู้และประสบการณ์ที่มากพอ วิสัยทัศน์สามารถสร้างได้ พัฒนาได้



การสร้างวิสัยทัศน์



ในการสร้างวิสัยทัศน์มีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้



1. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจองค์กรอย่างลึกซึ้ง เข้าใจภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดิมขององค์กร เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร เข้าใจความต้องการและค่านิยมของสมาชิก ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องวิเคราะห์องค์กรเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร



2. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม เนื่องจากสถานศึกษาเป็นระบบสังคมซึ่งได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษาสภาพปัจจุบันของสิ่งแวดล้อม และศึกษาแนวโน้มของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรืออุปสรรค



ทั้งนี้การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมนั้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ การแสวงหาข้อมูลจึงต้องหาข้อมูลทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ



ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่อไปนี้ (เสริมศักดิ์, 2538:27)

1. การมองการณ์ไกล

2. การมองย้อนกลับไปข้างหลัง

3. การมองผลกระทบและแนวโน้มต่าง ๆ

4. การมององค์กรในภาพรวม

5. การคาดคะเนแรงต่อต้านต่าง ๆ

6. การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร

7. การมีความมุ่งมั่นหรือความสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง

8. การทดสอบว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายของ

องค์กร และความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่



การเผยแพร่วิสัยทัศน์



เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้แล้วจำเป็นต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นให้สมาชิกได้รับรู้ เข้าใจ และยอมรับ เพื่อเปลี่ยนสภาพวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะสมาชิกจะไม่ทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารสร้างขึ้นหากสมาชิกไม่ยอมรับในวิสัยทัศน์นั้น ดังนั้น จึงควรให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจที่จะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การเผยแพร่วิสัยทัศน์จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจ และการปฏิบัติ



ในการเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้



1. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะในการพูด การฟัง การเขียน และการแสดงภาษาท่าทาง เพื่อให้สมาชิกเข้าใจวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้น



2. ทักษะในการทำตนเป็นแบบอย่าง (Role Model) เนื่องจากวิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจขององค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์นั้นมีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลได้โดยการปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง ซึ่งการทำตนเป็นแบบอย่างนี้ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำ เสมอ



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์



การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นการนำวิสัยทัศน์ที่สร้างไปสู่การปฏิบัติจริงโดยความร่วมมือ ทุ่มเทกำลังกาย ความคิด และความพยายามของสมาชิก เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นเป็นผลสำเร็จ นั่นคือเป็นการรวมพลังเพื่อบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องบูรณาการวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นให้เข้ากับปรัชญา นโยบาย แผนงาน และโครงการของสถานศึกษา และปฏิบัติตามจนกระทั่งบังเกิดผล



ในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้



1. ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ จำเป็นจะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนวิธีดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงต่อต้าน ความวิตกกังวล ความเครียด และความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงควรพัฒนาทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

2. ทักษะในการทำงานกับคน การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์เป็นการรวบรวมพลังทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารจึงควรพัฒนา การสื่อสารแบบ 2 ทางระหว่างผู้บริหารกับสมาชิกใน 3 ประเด็น คือ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และการยอมรับความคิดเห็น



3. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ การทำงานของสมาชิกในองค์กรเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถและแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีทักษะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดแก่สมาชิก



4. ทักษะในการมอบหมายงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีทักษะในการมอบหมายงาน ทั้งนี้เพราะการมอบหมายงานจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้สมาชิกมีอิสระในการทำงาน เกิดความผูกพัน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น



5. ทักษะในการปรับโครงสร้างองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ



การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและแก้ไข



วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถกำหนดภาพในอนาคต ที่ต้องการได้ ขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง เพื่อนำสถานศึกษาไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และมักจะล้มเหลว เนื่องจากธรรมชาติของบุคคลก็ดี ขององค์กรก็ดีย่อมมีการต่อต้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สอดคล้องกับความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารสถานศึกษาก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป ผู้บริหารที่ดีควรมองการสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงและแก้ไขให้มีความเชื่อมโยงกัน



บทสรุป



วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคตของสถานศึกษาที่ต้องการจะให้เป็นไปได้อย่างชัดเจนโดยภาพนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ และสามารถมองเห็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำสถานศึกษาให้บรรลุความต้องการนั้น วิสัยทัศน์เป็นภาพอันชัดเจนที่สะท้อนให้เห็นเป้าหมาย ค่านิยม ปรัชญา และความเชื่อที่สมาชิกของสถานศึกษาร่วมกันยึดถือ วิสัยทัศน์ที่แท้จริงต้องเป็นวิสัยทัศน์ร่วมที่สมาชิกช่วยกันผลักดันสานฝัน อันเป็นผลจากความสามารถคิดอ่านผสานเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของสมาชิก และเป็นผลจากความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานของผู้บริหารสถานศึกษา วิสัยทัศน์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน



วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี เพราะวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษาได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย



เอกสารและสิ่งอ้างอิง



เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2541. มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย

ปี 2560. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.



บัณฑิต แท่นพิทักษ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ อำนาจ ความศรัทธา

และความพึงพอใจ ในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์

ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ประสานมิตร.



รุ่ง แก้วแดง. 2539. รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ภาค 2. กรุงเทพฯ:

สำนักพิมพ์มติชน.



สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. 2540. วิสัยทัศน์ (VISION): พลังแห่งความสำเร็จ.

การศึกษาเอกชน 7(70): 13-14.



เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2538. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา. ในประมวล

สาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตบริหารการศึกษา. เล่มที่ 1.

หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.



Braun, J. B. 1991. An analysis of principal leadership vision and its

relationship to school climate. Dissertation Abstracts International

52 (04): 1139-A.



Caldwell, B. J. and J. M. Spinks. 1990. The Self- Managing School. London:

The Falmer Press.

Davis, G. A. and M. A. Thomas. 1989. Effective Schools and Effective

Teachers. Boston: Allyn and Bacon.



Duke, D. L. 1987. School Leadership and Instructional Improvement.

New York: Random House.



Ellis, N. E. and A. W. Joslin. 1990. Shared Governance and Responsibility:

The Keys to Leadership, Commitment and Vision in School Reform.

U.S. Department of Educational Design and Management School of

Education.



Locke, E. A., et al. 1991. The Essence of Leadership: The Four Keys to

Leading Successfully. New York: Lexington Books.



Sashkin, M. 1988. The visionary principal: School leadership for the next

century. Education and Urban Society 20 (3): 239-249.



Sergiovanni, T. J. 1987. Educational Governance and Administration.

2 nd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.



Sheive, L. T. and M. B. Schoenheit. 1987. Vision and the work life of

educational leaders. Leadership: Examining the Elusive.

Yearbook of the Association for Supervision and Curriculum

Development.



[*] นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

4Q


9Qกับผู้นำ
หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน ได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง
การ ดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งการอยู่ร่วมกันในสังคม คนเราจะหลีกเลี่ยงปัญหาภายนอกไม่ให้เข้ามากระทบชีวิตของเราไม่ได้ ปัญหาสังคมต่างๆนั้นมักเกิดขึ้นจากการอยู่รวมกันในสังคม การแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจะมีการแสดงออกที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าประสบการณ์เดิมของแต่ละคนเป็นอย่างไร มีพื้นฐานครอบครัวอย่างไร มีการเรียนรู้อย่างไร ซึ่งจะแตกต่างกันไป ดัง นั้นกระบวนการคิดและมีวิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ เรารู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะประกอบไปด้วยกัน 3 ประการคือ “คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น” ซึ่งตรงตามปรัชญาทางการศึกษา และความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ใน องค์กรย่อมต้องการผู้นำที่ฉลาดในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ การที่จะคัดเลือกบุคคลใดขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็ต้องดูจากองค์ประกอบหลายๆอย่าง สิ่งที่สำคัญก็คือ คนที่จะเป็นผู้นำได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากคนภายในองค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องยอมรับว่า คนเราไม่สามารถขึ้นเป็นผู้นำได้ หากปราศจากการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน หรือจากผู้บังคับบัญชา ดังภาษิตจีนโบราณที่บอกว่า "นกไร้ขน คนไร้เพื่อน ยากจะขึ้นสู่ที่สูงได้" ด้วย เหตุนี้คนที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำได้ ต้องมีเพื่อนมีหัวหน้าที่ดี คอยให้การสนับสนุนไม่เช่นนั้น ย่อมยากที่จะเจริญก้าวหน้าในการงานได้โดยง่าย อีกทั้ง ต้องเป็นคนเก่ง โดยที่ต้องเก่งทั้งในการบริหารจัดการตนเอง และการบริหารจัดการผู้อื่นให้สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด ซึ่งเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้กับคนเราได้นั้น ก็คือ ความฉลาดของมนุษย์ ซึ่ง ปัจจุบันได้แตกออกไปหลายด้าน แต่ละด้านมีองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการทำงานเช่นกัน เช่น AQ PQ MQ LQ CQ หรือบางแห่งก็แบ่งออกไปตั้งแต่ AQ-ZQ เลยทีเดียวแต่ครั้งนี้จะขอเอ่ยถึงเพียง 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) หากเมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะต้องก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ (Leader) แล้ว เราจะพบว่า 9 ความฉลาด หรือที่เรียกว่า (9Q) จำเป็นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อผู้ที่จะก้าวเข้าสู่ภาวะผู้นำเสมอ ซึ่งมีความสำคัญและอาศัยการฝึกฝนเพื่อสามารถนำไปพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ไม่น้อย และเป็นสิ่งที่องค์กรควรสนับสนุนพัฒนาคนในองค์กรของตนเอง มาทำความรู้จักกับ 9Q ที่ว่า ดังต่อไปนี้
1. IQ : Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางสติปัญญา เชาวน์ไหวพริบ และความสามารถในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนว่า คนเราจะต้องใช้สติปัญญาที่จะคิดสร้างสรรค์งานต่างๆ ออกมา คิดหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน โดยคนเราสามารถเสริมสร้าง IQ ได้โดยการเรียนรู้ การฝึกอบรม การหาความรู้เพิ่มเติมนั้นเอง ซึ่งความฉลาดทางด้านปัญญา ถือเป็น Q แรกในการแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจาก IQ ของคนเราจะเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อต้องเจอกับสถานการณ์อย่างไหนควรจะต้องทำอย่างไร หากถ้าในกรณีของคนที่มี IQ ต่ำ จะเกิดปัญหาในการคิด เพื่อจะตัดสินใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. EQ : Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์มีความสามารถในการระงับอารมณ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีทักษะสร้างสรรค์ มีจิตนาการ มี การดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขทั้งกายและใจ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี เพียงเห็นคุณค่าในตนเอง เชื่อมั่น มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน รู้จักผ่อนคลาย มีความสงบทางจิตใจ อาจทำได้โดยการฝึกสมาธิบ่อยๆ เพราะหากมีสมาธิแล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ไม่ตัดสินใจอะไรด้วยอารมณ์ความรู้สึก ควรใช้เหตุและผลในการตัดสินใจแทน มีการแสดงออกด้านอารมณ์ที่เหมาะสม จะทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การที่แสดงออกด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้มีความเหมาะสมในการขึ้นตำแหน่งด้วย
3. AQ : Adversity Quotient หมายถึง ความ ฉลาดในการเผชิญปัญหา หรือความสามารถที่จะเผชิญกับความยากลำบาก ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตประจำวันของเราต้องเผชิญกับปัญหา ความยุ่งยากสถานการณ์ที่วุ่นวายหรือวิกฤตต่างๆ มากทั้งที่บ้านและที่ทำงาน คนที่มีความสามารถที่จะจัดการปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมอาจจะเรียกว่า เป็นพฤติกรรมที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ไม่ท้อถอยต่อความยากลำบาก ไม่ยอมแพ้กลางคัน ซึ่งสามารถเปรียบได้กับนักไต่เขา ที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งกว่าจะถึงยอดเขา ความฉลาดในการเผชิญปัญหา นั้นสามารถวัดได้โดยใช้แบบทดสอบ Adversity Response Profile (ARP) ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงระดับคะแนน ซึ่งจะแบ่งคุณลักษณะของคนออกเป็น 3 กลุ่มได้ ดังนี้คือ
1) คนขี้แพ้ (Quitters) คือ คนที่รู้สึกกลัว กังวลที่จะเผชิญกับความท้าทายที่ต้องปีนป่ายขึ้นยอดเขา และล้มเลิกเมื่ออยู่บนตำแหน่งที่สูงกว่าหน่อย ไม่สนใจต่อการปีนป่ายไปข้างหน้า เมื่อความยุ่งยากหรือวิกฤติเข้าจู่โจมของระบบการทำงานของคนแบบนี้จะพังไปได้ อย่างง่ายดาย ซึ่งคนกลุ่มนี้คงไม่เป็นที่ต้องการขององค์กร การทำงานใดๆ ก็คงไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
2) คนที่ล้มเลิกกลางทาง (Campers) คน ในกลุ่มนี้นั้นจะมีลักษณะของการปีนเขาที่เมื่อปีนไปถึงตรงกลางของภูเขาแล้ว รู้สึกเหนื่อยล้า จะพยายามหาที่ที่ตนเองรู้สึกสบายเพื่อตั้งแคมป์พักอาศัยโดยไม่พยายามที่จะ ปีนเขาต่อไป แม้ว่าคนเหล่านี้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ แต่คนเหล่านี้จะไม่พยายามหรือเสียสละให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หากระบบการทำงานของเขาเหล่านี้ถูกขัดขวางหรือรู้สึกถึงข้อจำกัดว่าไม่มีความ สามารถที่จะไปต่อได้แล้ว เขาก็จะล้มเลิกไปเอง
3) ผู้เอาชนะ (Climers) คือ นักไต่เขาตัวจริง จะอุทิศตัวสำหรับการไต่เขา ระบบการทำงานของเขาจะทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขา มีความทรหดอดทนและชอบความท้าทาย ซึ่งทำให้สามารถพิชิตยอดเขาได้ การที่องค์กรมีคนที่มี AQ สูง มาก จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยที่องค์กรสามารถสนับสนุนได้โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด
- การ สร้างแรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
- การมอบอำนาจให้ทีมงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร
- การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้า จะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย
- การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้
- และเมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม
- ควรมีการฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
4. BQ : Business Quotient หมายถึง ความ ฉลาดทางธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดขององค์กร การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้นำต้องมีความรู้ความชำนาญและความสามารถในงานที่ทำอยู่ ต้องสามารถคิดเป็นขั้นเป็นตอนได้ สามารถมองเห็นความต้องการของลูกค้าในอนาคต และหาแนวทางในการวางแผน เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น รวมไปถึงการหาโอกาสในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าได้ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างในการทำธุรกิจของตนเอง เพื่อให้ก้าวล้ำคู่แข่งขันรายอื่นๆให้ได้มากที่สุด
.................................................................................................
วันนี้ ขอบันทึกเพียง 4 Q ก่อน และจะมานำเสนอใหม่ในครั้งต่อไป แล้วพบกันใหม่

43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ


43 วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ+ทำให้คนดีๆสนใจ
สุขภาพ+ภาษาอังกฤษ Add comments


[ state.md.us ]
ภาพประกอบ > Thank [ state.md.us ]

ศาสตราจารย์ริ ชาร์ด ไวส์แมน ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตวิทยา ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ‘Think A Little Change A Lot’ = “คิดเล็กๆ (ที่ทำให้) เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่” แนะนำวิธีทำตัวให้อายุยืนอย่างเป็นสุข ตีพิมพ์สรุปย่อใน ‘MailOnline‘ ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

(1). Find Happiness = แสวงหาความสุข

(1.1). keep a diary = เขียนไดอารี
• แทน ที่จะบ่นไปเรื่อยๆ จนคนรอบข้างหนีหายไปหมด ให้ลองเขียนไดอารี หรือบันทึกความจำ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทั้งกายและใจ, ถ้ากลัวความลับจะรั่วไหลละก็… เขียนแล้วฉีก แช่น้ำ แล้วเหยียบซ้ำเสียเลยก็ไม่แปลกอะไร
(1.2). smile, sit up and act happy = ยิ้ม นั่งลง แล้วทำตัวให้มีความสุข
• ถึงใจจะทุกข์ แต่ถ้าอยากให้มีความสุขก็ต้องลงมือทำดู เริ่มจากยิ้ม 2-3 วินาที นั่งตัวเกือบตรง ทำตัวให้ร่าเริง,
• อย่าทำตัว “ไหลห่อ-หลังงุ้ม-กุม…-คอตก (โปรดเติมคำในช่องว่าง + ห้ามคิดมาก)” แล้วความสุขมันจะค่อยๆ ซึมซาบเข้ามาเอง
(1.3). buy experiences, not things = ซื้อประสบการณ์, อย่าซื้อของ
• การไปช็อปปิ้งทำลายความเศร้า สร้อย หงอย เหงาดูเหมือนดี แต่ผลการศึกษาพบว่า คนเราจะรู้สึกดีขึ้นกว่านั้นมาก… ถ้าหยุดช็อป
• เก็บสตางค์ไปเที่ยว ศึกษาหาความรู้แบบที่ชอบ ฟังเพลงนอกบ้าน ออกไปเดินกับน้องหมา หรือหาอาหารสุขภาพสักมื้อกับเพื่อนที่รู้ใจ
• การ ซื้อเสื้อผ้า รองเท้า หรือเครื่องใช้ไม้สอยใหม่ๆ มักจะทำให้คนเรารู้สึกดีขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็เหี่ยวลงไปอีก ไม่เหมือนประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น ไปเที่ยวในที่ที่ปลอดภัย ให้เวลากับเพื่อน หรือน้องๆ (แมว แมว ปลา ฯลฯ) แบบนี้ทำให้มีความสุขนานกว่า

(2). Become Persuasive = ทำตัวให้ถูกชักจูงไปในทางที่ดี (น้อมไปสู่กระแสแห่งความสุข)

(2.1). take centre stage = อยู่ตรงกลาง
• การ ศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนสำคัญมักจะนั่งอยู่ตรงกลางมากกว่าอยู่ริมๆ, ถ้าอยากจะหาเพื่อน หาคู่ หรือหาคนที่รู้ใจ… ให้นั่งตรงกลางไว้ก่อน, ถ้าอยากอยู่แบบเดิมๆ ให้นั่งที่เดิม ให้ไกลแสนไกลจากผู้คน
(2.2). ask for a favour = ขอความช่วยเหลือ
• การศึกษาพบว่า คนที่กล้าออกปากขออะไรเล็กๆ น้อยๆ ในรูป “ขอความช่วยเหลือ” มักจะเป็นที่ประทับใจของผู้ให้
• ที่ สำคัญคือ ให้ขอความช่วยเหลือ “เล็กๆ”, อย่าไปขออะไรมากเกิน บ่อยเกิน หรือไปขอของที่คนอื่นแสนหวง เพราะนั่นจะทำลายมิตรภาพแทบจะในทันที
(2.3). make mistakes = ทำผิดเล็กๆ
• คนเกือบทั้งหมดไม่ชอบ “คุณสมบูรณ์แบบ (perfection)” เช่น คนสวย หล่อ หรือดูดีไปหมดจากปลายผมจรดส้นเท้า ฯลฯ
• การกล้าทำอะไรผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ดูเป็นผู้เป็นคน (make your more human) และดูเป็นคนอบอุ่น (warmer) มากขึ้น
• ถ้าจะให้ดูดีขึ้น… ทำผิดนิดๆ แล้วต้องกล้า “ขอโทษ” ด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ชอบคำ “ขอโทษ”
• และที่สำคัญ คือ อย่าทำผิดเรื่องใหญ่ๆ หรือทำผิดเล็กๆ บ่อยเกิน เช่น ปล่อยให้รังแคร่วงลงบนไหล่เกิน 10 จุด ฯลฯ ในเวลาสำคัญ
(2.4). gossip positively = ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก)
• การ ศึกษาพบว่า ผู้ฟังมีแนวโน้มจะมองคนนินทาว่า “เป็นพวกเดียวกัน(กับคนถูกนินทา)” เลยเช่น มองคนที่ชอบนินทาความล้มเหลวของคนอื่นว่า เป็นพวกที่ล้มเหลวในชีวิตคล้ายๆ กัน ฯลฯ
• ทาง ที่ดีคือ ซุบซิบอย่างสร้างสรรค์ (เชิงบวก) โดยทำเรื่องการทำดี ความสำเร็จ หรือความคิดสร้างสรรค์ของคนๆ หนึ่งไปบอกต่อคนอื่น… แล้วคนฟังจะเริ่มมองว่า คุณเป็นคนดีแบบนั้นเหมือนกัน
• ที่สำคัญคือ การซุบซิบอย่างสร้างสรรค์มีส่วนทำให้คนเรามีความสุขเดี๋ยวนั้นทันที ไม่เหมือนการนินทาใส่ร้ายที่จะทำลายทุกฝ่ายไปอีกนาน
(2.5). dine out = ออกไปกินข้าวนอกบ้าน
• อาหารดีๆ มักจะทำให้คนที่กินข้าวด้วยกันรู้สึกดีๆ… ถ้าอยากรู้จักเพื่อน หรือคนที่รู้ใจก็ควรกล้าออกไปกินข้าวนอกบ้านบ้าง
• แม้ แต่คนที่แสนจะพิถีพิถันเรื่องสุขภาพ… ถ้าเตรียมอาหารไปกินนอกบ้านบ้างก็ยังทำให้โอกาสรู้จักใครต่อใครมากขึ้น มากกว่ากินข้าวที่บ้านทุกมื้อ และทุกวัน

(3). Get Motivated = สร้างแรงจูงใจ

(3.1). quit fantisising = หยุดฝันกลางวัน
• การ ศึกษาพบว่า การฝันกลางวันทำให้ฝันนั้นๆ มีโอกาสเป็นจริงน้อยลง ทางที่ดีกว่า คือ หยุดฝันกลางวัน แล้วมองว่า จะทำอย่างไรให้ฝันกลายเป็นจริงให้ได้ทีละน้อย
(3.2). make plans = วางแผน
• ผล การศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้แผนการประสบความสำเร็จได้มีอยู่ 6 ปัจจัยได้แก่ (1). เขียนลงไป (เป็นลายลักษณ์อักษร), (2). บอกเพื่อนๆ หรือคนที่ไว้ใจได้ (ว่าจะทำ), (3). ทำตารางเวลาว่า จะทำอะไรก่อน-หลัง, …
• (4). แบ่งงานเป็นขั้นเป็นตอน, ให้รางวัลตัวเองทุกขั้นตอนที่ทำสำเร็จ, และ (5). เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ประโยชน์ที่ได้จากเป้าหมายนี้คืออะไร
(3.3). sieze the day = เริ่มต้นวันนี้
• สำหรับ นักผลัดวันประกันพรุ่ง… ผลการศึกษาพบว่า ถ้าเริ่มต้นทำเสียแต่วันได้ โดยรีบทำเรื่องที่ไม่อยากทำให้ได้ 2-3 นาทีแรก ตรงนั้นจะยากที่สุด
• เมื่อทำ 2-3 นาทีแรกได้… จะรู้สึกราวกับทำสำเร็จไปกว่าครึ่ง และทำส่วนที่เหลือเสร็จได้ภายในเวลาไม่นาน
• เพราะ ฉะนั้นถ้าจับได้ว่า ตัวเราเป็น “นักวิ่งผลัดฯ” ควรรีบทำตัวให้เป็นนักวิ่งผลัดคนแรกในทีม (starter) หยุดฝัน แล้วฝืนทำไปให้ได้ 2-3 นาที หลังจากนั้น… งานจะง่ายขึ้นแยะเลย
(3.4). write your own eulogy = เขียนคำสดุดีตัวเอง (เป็นคำกล่าวสรรเสริญที่ใช้ในงานศพ)
• ลองเขียนคำสดุดีตัวเอง จดลงไปว่า คุณอยากได้ยินคำสดุดี หรือคำกล่าวเกียรติคุณว่า คุณประสบความสำเร็จอะไรบ้างในงานศพ
• การจด ‘jot down (‘jot’ / “จ๊อท - t(ท) = จด)” งานเขียนบทนี้จะทำให้ความปรารถนาของคุณ “ตกผลึก (crystalise)” และจะจูงใจให้ปรารถนาที่ดีงามประสบความสำเร็จ
(4). Lose Weight = ลดน้ำหนัก

(4.1). eat fast, then slow down = กินเร็วๆ, แล้วกินให้ช้าลง
• การ ศึกษาพบว่า คนที่กินด้วยความเร็วปกติ (ไม่ใช่กินช้าๆ) ในครึ่งแรก (ของมื้อ) แล้วลดความเร็วลงเหลือ 1/2 ในครึ่งหลัง (ของมื้อ)… ลดความอยากอาหาร และลดน้ำหนักได้ดีกว่าคนที่กินช้าๆ ตั้งแต่แรก
(4.2). throw away the big plates = ทิ้งจานใบใหญ่ๆ ไป
• ทิ้ง จานและอุปกรณ์กินข้าว เช่น ส้อม ช้อน ฯลฯ ขนาดใหญ่ไป หรือจะบริจาคให้ใครก็ได้… การศึกษาพบว่า คนที่กินข้าวจานเล็กกว่า มีเอวเล็กกว่า
(4.3). put a mirror in the kitchen = ติดกระจกไว้ในครัว
• คนที่มองเห็นภาพสะท้อนตัวเองก่อนกิน มักจะกินน้อยลง
• ถ้าวิธีนี้ใช้ได้ผลกับคุณ… อย่าลืมติดกระจกไว้อีกบานที่ห้องกินข้าว และพกติดตัวไว้ดูหน้าก่อนกินอะไรทุกครั้ง
(4.4). say no to TV dinners = ปิด TV กินข้าว
• คนที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน (อาหาร) มัวแต่ดู TV, ฟังโน่นฟังนี่, หรือทำอะไรไปด้วยกินไปด้วย มักจะกินมากขึ้น
(4.5). keep a food diary = จดไดอารีอาหาร
• คน ที่จดไดอารีอาหารทุกอย่างมีแนวโน้มจะลดน้ำหนักได้มากเป็น 2 เท่าของคนที่ไม่จด เนื่องจากข้อมูลนำไปสู่ความรู้ ความรู้นำไปสู่ความเข้าใจ ความเข้าใจนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีขึ้นได้
(5). Get Ahead = ก้าวไปข้างหน้า

(5.1). work alone = ทำงานคนเดียว
• การศึกษาจำนวนมากพบว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดจากการทำงานเป็นกลุ่ม การพบปะ (meetings) หรือการระดมสมอง (brainstorming) เสมอไป
• ความ คิดสร้างสรรค์ส่วนใหญ่เกิดเมื่อคนเราอยู่คนเดียว และอยู่กับ ‘3B’ ได้แก่ ‘bus’ = รถเมล์ (= เดินทางท่องเที่ยว หรือไปในที่แปลกใหม่), ’bath’ = อาบน้ำ (= เวลาอาบน้ำ หรือทำอะไรที่สดชื่น), ‘bed’ = เตียง (= เวลาตื่นนอนใหม่ๆ หรือหลังพักผ่อนเต็มที่)
(5.2). buy a plant = ซื้อต้นไม้
• การศึกษานาน 8 เดือนรายงานหนึ่งพบว่า การเพิ่มจำนวนต้นไม้ในสำนักงาน ทำให้คนทำงานได้ไอเดีย หรือข้อคิดใหม่ๆ มากขึ้น 15%
(5.3). pull = ดึง
• เทคนิค หนึ่งในการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ คือ ให้นำเรื่องนั้นมาไว้ใกล้ๆ ตัว กลไกที่เป็นไปได้ คือ คนเรามักจะดึงเรื่องที่เราชอบมาไว้ใกล้ตัว ดันเรื่องที่เราไม่ชอบออกไปไกลตัว
• ตัวอย่าง การนำเรื่องนั้นๆ มาไว้ใกล้ตัว เช่น หากระดานเขียนเตือนว่า วันนี้-อาทิตย์เรากำลังจะสร้างสรรค์เรื่องอะไร, หากระดาษ-ดินสอหรือปากกาไว้ใกล้ตัวเสมอ มีไอเดียอะไรดีๆ จะได้รีบจดทันที ฯลฯ
(5.4). a welcome distraction = เว้นวรรคให้เป็น
• ผล การวิจัยพบว่า ถ้าแก้ปัญหาอะไรไม่ได้… ให้เว้นวรรค หรือหยุดพักสักครู่ เช่น ออกไปเดิน 5 นาที + ขึ้นลงบันได 1 ขั้น + ล้างมือก่อน แล้วล้างหน้าล้างตา + เดินตากลมสักพัก ฯลฯ มักจะทำให้หาทางออกได้ดีกว่าลุยไปเรื่อยๆ ทั้งที่แสนเหนื่อยและเพลีย
• บาง คนคิดหาทางแก้ปัญหาไม่ออก… พอได้ไปนอนหรืองีบสักพัก คิดออกก็มีมากไป เพราะฉะนั้นอย่าลืมพกกระดาษ ปากกา ดินสอ หรือเครื่องบันทึกเสียง (พูดแล้วบันทึกไว้) ติดตัวเสมอ ใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกเสียงก็ได้นี่
(5.5). lighten up = เครียดไปก็พักเสีย
• สมอง เราแทบจะหยุดความคิดสร้างสรรค์ หรือแก้ปัญหาเมื่อความเครียดสูงเกิน… ควรหาทางลดความเครียดลง เช่น คุยเรื่องขำๆ กัน ฯลฯ แล้วกลับไปทำงานใหม่
• หน่วย งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้องการปั้นไอเดียออกมามากๆ น่าจะมีห้องอาบน้ำ ห้องนอนช่วงสั้นๆ (งีบ) ห้องออกกำลัง หรือห้องที่มองเห็นสวนสารพัดสี เพราะจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น
(5.6). talk pets = คุยกันเรื่องน้อง (หมา แมว ปลา ฯลฯ)
• ถ้า อยากรู้จักบุคลิกภาพคนอื่นแบบเร็ว ให้ถามว่าชอบเลี้ยงอะไร… คนชอบน้องปลามักจะเป็นคนที่มากไปด้วยความสุข; คนชอบน้องหามักจะเป็นคนสนุกสนานร่าเริง;
• คน ชอบน้องแมวมักจะเป็นคนที่เชื่อถือได้-ไว้ใจได้ แต่อ่อนไหว (ต่อความรู้สึก); คนชอบน้องเลื้อยคลาน (สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ฯลฯ) มักจะรักอิสรภาพ และเป็นตัวของตัวเองแบบสุดๆ ไปเลย

(6). Deal With stress = จัดการกับความเครียด

(6.1). Don’t punch a pillow = อย่าทุบหมอน
• การทุบตี ด่าว่าสิ่งไม่มีชีวิต เช่น หมอน ฯลฯ ไม่ได้ทำให้อะไรๆ ดีขึ้น แถมความเครียดมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นด้วย
(6.2). listen to Beethoven = ฟังบีโธเฟน
• ไม่ ว่าจะเครียดหรือรู้สึกเหมือนจะคลั่ง อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ให้ฟังเพลงคลาสสิค (เพลงบรรเลง) มีการศึกษาพบว่า เพลงคลาสสิคทำให้ความดันเลือดลดลงได้
(6.3). stand in the sun = ยืนอาบแดด
• การออกไปรับแดดอ่อนๆ ตอนเช้า (ก่อน 8.30 นาฬิกา) หรือตอนเย็น (หลัง 16.30 นาฬิกา) 10-15 นาที/วัน ช่วยให้อารมณ์และความจำดีขึ้น
• และ จะดีขึ้นมากถ้าหาเรื่องออกกำลังไปเลย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน เดินเร็ว เดินขึ้นลงบันได เดินถือตุ้มน้ำหนักหรือถังรดน้ำต้นไม้ (เลือกแบบที่จับใหญ่ จับแล้วไม่เจ็บมือ ใส่น้ำตามความแข็งแรง) หรือเดินไปบีบคลายลูกบอลหรือที่บีบมือ (hand grips) ไป
• หรือจะฝึกไทเกก-ไทชิ รำกระบองชีวจิต มวยจีน โยคะ พร้อมรับพลังจากสุริยเทพ (พระอาทิตย์) เลยยิ่งเท่
(6.4). laugh = หัวเราะ
• คน ที่มีอารมณ์ขันมักจะมีระบบภูมิต้านทานดีกว่า เช่น เป็นหวัดน้อยกว่า ฯลฯ แถมยังมีโอกาสเป็นโรคหัวใจกำเริบ สโตรค (กลุ่มหลอดเลือดแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต) ลดลง 40%
• คนที่มีอารมณ์ขันทนความเจ็บปวดได้มากกว่า โดยเฉพาะทนการทำฟันได้ดี และมีชีวิตยืนยาวขึ้นถึง 4.5 ปี
(6.5). get a dog = เลี้ยงน้องหมา
• น้องหมาทำให้เจ้าของทนความเครียดได้มากขึ้น รู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น ซึมเศร้าน้อยลง
(6.6). pray = สวดมนต์
• การศึกษาพบว่า การสวดมนต์ให้คนอื่น (ส่งความปรารถนาดี เช่น เมตตา ฯลฯ ออกไป) ให้ผลดีมากกว่าการสวดมนต์ให้ตัวเอง
• การศึกษาอีกรายงานหนึ่งพบว่า คนที่สวดมนต์ให้คนอื่นเป็นประจำ มีความวิตกกังวล (เครียด) เรื่องเงินๆ ทองๆ น้อยลง
(6.7). road rage = อย่าขับรถแบบเดือดดาล
• คนที่ขับรถใจร้อน เดือดดาล (โมโห) ในเรื่องขับรถง่าย เพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท และอัมพาตจากความดันเลือดสูง
• วิธี หนึ่งที่จะช่วยให้ใจเย็นลงเวลาขับรถ คือ อย่าฟังข่าวเครียดๆ เช่น ข่าวการเมือง ข่าว 3 จังหวัดภาคใต้ ฯลฯ พาเพลงประเภทเบาๆ สบายๆ ขับไปร้องคลอไป แล้วจะพบว่า เสียงร้องเพลงบนรถก้องกังวล (echo / เอคโค) น้องๆ การร้องเพลงในห้องน้ำเลย
• หรือถ้าต้องการความสงบ สันติ และเมตตายิ่งกว่านั้น… ให้หาแผ่นสวดมนต์มาไว้ประจำรถ แล้วสวดมนต์ไปเรื่อยๆ

(7). find a partner = หาคู่

(7.1). the power of touch = อานุภาพแห่งการสัมผัส
• ถ้าคุณหาคู่ดีๆ ได้… การกอดนานๆ หน่อย แล้วหาพูดแบบกระซิบ หรือเล่าเรื่องโจ๊กกันเบาๆ จะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ
• ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ… กอดหมอน หรือกอดน้อง (หมา แมว ฯลฯ) ไปพลางก่อนได้
(7.2). be a mirror = เป็นกระจกให้กันและกัน
• การ ทำอะไรให้คล้าย “คนพิเศษ” ช่วยสร้างความประทับใจได้ เช่น เมื่อฝ่ายหนึ่งโน้มตัวเข้าหา อีกฝ่ายหนึ่งก็ควรทำคล้ายๆ กัน ฯลฯ การขยับแขนหรือขาก็ควรทำตามๆ กันบ้าง เช่น ฝ่ายหนึ่งไขว้ขาก็ไขว้ตามกันบ้าง
(7.3). do something scary = ทำให้ตกใจกันบ้าง
• การ ศึกษาพบว่า เวลาคนอยู่ใกล้กัน… หัวใจใครเต้นเร็วกว่ามักจะหาคู่ได้ก่อน คู่ที่คบกันได้เร็ว (การศึกษาในฝรั่ง) มักจะทำอะไรที่กระตุ้นหัวใจกันมากหน่อย เช่น ชวนกันไปดูหนังผี ไปนั่งรถไฟเหาะ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ชวนกันไปเดินขึ้นเขา (เผื่อจะมีอะไรให้อีกฝ่ายตกใจ) ฯลฯ
• แบบนี้เรียกว่า “ตื่นเต้นไว้ก่อน พ่อสอนไว้”

(8). Stay passionate = เติมเชื้อไว้ อย่าให้ไฟมอด

(8.1). try new things = ลองอะไรใหม่ๆ
• หาอะไรที่แปลกใหม่ทำด้วยกัน เช่น ไปเที่ยวที่ใหม่ (ควรระวังความปลอดภัยด้วย) ฯลฯ
(8.2). stay positive = มองโลกในแง่ดี
• ความ สัมพันธ์ในระยะยาวมักจะมาจากการมองโลกในแง่ดี เช่น ถ้าฝ่ายหนึ่งชวนคุย ไม่ควรจะตอบห้วนๆ คำเดียว เช่น ถาม… ตอบ “อือม์” คำเดียวจบ แล้วเงียบ
• ทาง ที่ดีคือ ใช้สูตร ‘5W1H’ (what,where,when,why,who + how = อะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม ใคร + อย่างไร) ช่วยตอบให้ยาวขึ้น เช่น ถาม… ตอบ “เรื่องนี้เป็นอย่างไร (what) หรือ… เล่าให้ฟังหน่อยสิ” แล้วรับฟัง
• มิตรภาพ ที่ดีมักจะเกิดจากคำชมที่มาจากใจจริง เช่น ชอบจังที่คุณกอดนานๆ แบบนี้ ฯลฯ หรือชมการกระทำ เช่น กับข้าวจานนี้เยี่ยมไปเลย (ไม่ต้องบอกว่า อร่อยเพราะผงปรุงรส หรือผงซุปยี่ห้อไหนอะไรทำนองนี้ให้เสียความรู้สึก) ฯลฯ [ hubpages ]

(8.3). but = แต่
• ถ้าจะชม… ไม่ต้องมี “แต่” เช่น โอ้โห… กับข้าวจานนี้อร่อยจึง แต่คุณอีกจานกินไม่ได้เลย” ฯลฯ แบบนี้ไม่พูดดีกว่า
• ถ้า จะติ… แบบนี้ควรมี “แต่” เช่น กับข้าวจานนี้ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ แต่ที่เหลืออีก 4 จานอร่อยมากๆ เลย ไม่ใช่คุณทำไม่เก่งนะ นี่อาจเป็นเพราะคนเราชอบไม่เหมือนกัน”
• ถ้าจะคบกันให้นาน… ควรชมกันให้ได้ทุกวัน ตินั้นนานๆ ครั้งก็เกินพอแล้ว
(8.4). keep your partner in mind = ถนอมเนื้อคู่ไว้เสมอ
• เก็บ ความทรงจำดีๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นแหวน ภาพถ่าย หรืออะไรที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ วางไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อรักษาความรู้สึกดีๆ กันไว้ให้นาน

(9). Be Decisive = เด็ดเดี่ยว ไม่โลเล

(9.1). trust your instincts = เชื่อสัญชาตญาณ
• เมื่อ จะต้องตัดสินใจปัญหาที่ซับซ้อน ให้หาข้อมูล ปรึกษาผู้หลักผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่ดี และหาเวลาเงียบๆ ถามสัญชาตญาณของเราก่อนตัดสินใจดูบ้าง
• การตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ นั้น… ไม่ควรตัดสินใจก่อน 7 วัน หรือดีกว่านั้นก่อน 14 วัน
• เวลา ตัดสินใจเรื่องใหญ่ อย่าตัดสินใจจากรายละเอียดยิบย่อยเป็นร้อยๆ ปัจจัย, ให้ตัดสินใจจากประเด็นสำคัญใหญ่ๆ ซึ่งมักจะมี 2-3 ประเด็นหลัก
• เรื่อง ที่ไม่ควรลืมเลย คือ อย่าเล่นการพนัน ไม่จำเป็น-อย่าก่อหนี้ ถ้าจำเป็น… อย่าก่อหนี้เกินตัว อย่าก่อหนี้นอกระบบ และอย่าไปค้ำประกันหนี้คนอื่น

(9.2). say yes = ตอบได้ ใช่เลย
• คน เรามักจะเสียใจกับเรื่องที่ไม่ได้ทำ เพราะฉะนั้นให้ฝึกเป็นฝ่าย ‘will do’ = “จะทำ” เสมอ เพื่อให้โอกาสดีๆ มีทางเข้ามาสู่ชีวิตของเรา
• ถ้า มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ที่ปลอดภัย… ควรไป ก่อนไปศึกษาหาข้อมูลให้พร้อม เตรียมกล้องดิจิตอลไว้ เผื่อจะมีโอกาสเขียนเรื่องเล่า เช่น เขียนบล็อก นำวิดีโอขึ้น Youtube ฯลฯ
• ไม่ ว่าจะไปไหน… อย่าลืมของฝากคนที่บ้าน โดยเฉพาะไม่ว่าจะได้ดีอะไร ให้คิดถึงแม่ถึงพ่อไว้ หาของฝากคุณแม่คุณพ่อเสมอ แล้วชีวิตจะไม่ตกต่ำ

(10). Be a great parent = เป็นคุณแม่ (หรือคุณพ่อ) ที่ยิ่งใหญ่

(10.1). Choose the right name = เลือกชื่อลูกให้ถูกต้อง
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำว่า การตั้งชื่อลูกให้ดีมีความสำคัญต่ออนาคตมาก ชื่อที่ฝรั่งนิยม เช่น ถ้าต้องการความสำเร็จและสติปัญหา… ควรเป็นชื่อ ‘James, Elizabeth’;
• ชื่อ ผู้หญิงที่นุ่มนวล ควรลงท้ายด้วยเสียง ‘ee’ เช่น Sophie, Lucy ฯลฯ; ชื่อผู้ชายที่เซ็กซี่ ควรเป็นชื่อสั้นๆ และเสียงแข็งๆ หน่อย เช่น Jack, Ryan ฯลฯ
• ชื่อที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในทัศนะของอาจารย์ไวส์แมน คือ Lisa, Brian

(10.2). praise effort, not ability = ยกย่องความพยายาม ไม่ใช่ความสามารถ
• การ ศึกษาพบว่า การกล่าวชมความสามารถ หรือความสำเร็จของเด็กบ่อยๆ เช่น “เก่งจังที่สอบได้ที่ 1″ ฯลฯ มักจะส่งผลเสียในระยะยาว โดยจะทำให้เด็กไม่ทนต่อชีวิตที่ผิดหวัง หรือพลาดพลั้ง และมีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ
• เด็ก ที่ถูกชมเรื่องความสามารถแบบนี้บ่อยๆ อาจจะเครียดง่าย เป็นคนจมไม่ลง และผิดหวังรุนแรงเมื่อพลาดจากความสำเร็จครั้งต่อๆ ไป เนื่องจากเด็กมักจะรู้สึกว่า พ่อแม่รักเขาหรือเธอที่ “ความสำเร็จ” ไม่ใช่ “ความรักที่จริงใจ”
• ตัวอย่างเด็กที่ได้รับคำชมความสำเร็จพบได้บ่อยในเด็กที่ฆ่าตัวตาย เช่น สอบได้เกรดไม่ดี ฯลฯ นี่เพราะทนต่อความผิดหวังไม่ได้
• การชมเด็กควรชมที่ความพยายาม เช่น “เทอมนี้ขยันมากๆ เลย จะสอบได้เท่าไรก็สบายใจได้ เพราะได้พยายามเต็มที่แล้ว” ฯลฯ
• การ ฝึกให้เด็กๆ เรียนรู้ทั้งจากความพ่ายแพ้และชัยชนะเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่น ให้โอกาสเด็กได้เข้าร่วมการแข่งกีฬากันทั้งครอบครัว และฝึกมองเรื่องพ่ายแพ้เป็นเรื่องตลก หรือธรรมดาของชีวิต ฯลฯ ซึ่งจะเป็นวัคซีนขนานสำคัญต่อไปตลอดชีวิต
• พ่อ แม่ที่ดีควรกล้าเล่าเรื่องผิดพลาดของตัวเองให้เด็กๆ ฟังบ้าง ไม่ใช่เล่าแต่เรื่องความสำเร็จ เช่น ไม่ควรเล่าว่า “พ่อสอบเข้าอนุบาลได้ที่ 1, ประถมฯ ได้ที่ 1, มัธยมฯ ได้ที่ 1, สอบแพทย์ได้ที่ 1, สอบทุนไปนอกได้ที่ 1, ไปเมืองนอกสอบได้ที่ 1, ฯลฯ”
• ควร เล่าทั้งเรื่องประสบความสำเร็จ และเรื่องล้มเหลวให้เด็กๆ ฟัง เช่น “แม่สอบได้ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เล่นบาสเกตบอลก็ไม่เก่ง เป็นตัวสำรอง แต่ถ้าวิ่งจะเก่งหน่อย แม่ถือหลักว่า พยายามให้เต็มที่ ได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น”

(10.3). avoid threats = หลีกเลี่ยงการข่มขู่
• มี คำกล่าวว่า “ความรุนแรงมักจะต่อด้วยความรุนแรง” เปรียบคล้ายแรงดันที่เก็บกดไว้ รอวันระเบิดหรือรอวันแตกออกมาคล้ายแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟระเบิด
• การลงโทษอาจได้ผลดีหน่อยในสมัยหิน หรือสังคมเกษตร ซึ่งชีวิตมักจะเป็นแบบเดิมๆ ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ไปได้คราวละหลายสิบปี
• ยุค นี้เป็นยุคที่อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงเร็ว งานสมัยใหม่ต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ หรือประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม ดีไซน์ หรือการค้นคว้าวิจัย ทำให้การใช้แรงจูงใจด้านบวกได้ผลดีกว่า

(11). Know Yourself = รู้จักตัวเอง

(11.1). all thumbs = เป็นหัวแม่มือกันทุกคน
• คน แต่ละคนมีสมอง 2 ซีกเด่นไม่เท่ากัน… สมองซีกขวาเด่นทางสร้างสรรค์ ศิลปะ การออกแบบ ดีไซน์ ไอเดีย ศิลปิน ดารา นักกีฬา ช่างศิลป์, สมองซีกซ้ายเด่นทางด้านคิดคำนวณ ตรรกะ คอมพิวเตอร์ วิชาการ
• ขั้น แรกคือ ควรหาทางเรียนรู้ให้ได้ว่า เราเด่นทางไหน ด้อยทางใด เพื่อเลือกการศึกษาเล่าเรียน การงาน และแบบแผนการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเรา
• อาจารย์ ไวส์แมนแนะนำให้ลองนำมือ 2 ข้างมาไว้ใกล้กัน ประสานกัน (interlock) ให้นิ้วหัวแม่มือข้างหนึ่งอยู่เหนืออีกหัวแม่มืออีกข้างหนึ่ง ทำแบบที่คุณถนัด
• คนที่วางหัวแม่มือข้างขวาเหนือข้างซ้ายมักจะเป็นพวกสมองซีกซ้ายเด่น พวกนี้ชอบทำงานวิเคราะห์เจาะลึก วิจัย ค้นคว้า วิชาการ
• ตรง กันข้ามคนที่วางหัวแม่มือข้างซ้ายเหนือข้างขวามักจะเป็นพวกสมองซีกขวาเด่น เก่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ หาไอเดียใหม่ๆ ออกแบบหรือดีไซน์ ช่างศิลป์


ไม่ว่าเรา จะเป็นใคร เก่งหรือไม่เก่งแค่ไหน… ถ้าอยากมีความสุข ให้ถือหลัก ‘Be good, Be you, Be yourself.’ = “เป็นคนดีพอสมควร (เช่น ไม่คด ไม่โกงใคร ฯลฯ), เป็นแบบที่เราเป็น (เช่น หัดพอใจในความดีบ้างร้ายบ้างของเรา แล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนแก้ไขไปทีละน้อย ฯลฯ), …
และเป็นตัวของเราเอง อย่าพยายามเป็นแบบที่คนอื่นเป็น เพราะนั่นไม่ใช่เรา

ถ้าอยากให้ตัวเรามีบุคลิกดี และมีความสุข… อย่านำตัวเราไปเปรียบเทียบ แล้วชิงดีชิงเด่นกับคนอื่น
ถ้าอยากให้เด็กๆ มีความสุข… อย่าเปรียบเทียบพี่กับน้อง หรือเทียบเด็กคนหนึ่งกับอีกคน


ถ้าอยากให้คนดีสนใจเรา … เราต้องมีดีก่อน เพราะคนดีๆ มักจะเลือกคบคนดีด้วยกัน การก้าวเข้าสู่กระแสแห่งมิตรภาพกับคนดีๆ เริ่มต้นที่ตัวเรามีดี แล้วคนดีๆ จึงจะสนใจเรา
ถึงตรงนี้… ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

ภาวะผู้นำ (Leadership) โดย สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

ภาวะผู้นำ (Leadership) โดย สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์